วันที่ | เรื่อง |
---|---|
09/09/2564 |
โครงการคืนชีวิตหอยโข่งไทย |
09/09/2564 |
การผลิตแก๊ซไฮโดรเจนจากน้ำเสียด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาเชิงแสงไทเทเนียมไดออกไซด์เจออโลหะ |
09/09/2564 |
มลพิษในสิ่งแวดล้อมเพิ่มความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน |
09/09/2564 |
ศูนย์ไพรเมทแห่งชาติ พื้นฐานที่สำคัญในการวิจัยด้านสุขภาพและการแพทย์ |
08/09/2564 |
การป้องกันอันตรายจากรังสียูวี |
08/09/2564 |
โควิด 19 วัคซีน ประสบการณ์และการศึกษาในประเทศไทย |
18/08/2564 |
|
11/08/2564 |
การประชุมวิชาการเนื่องในวันสหวิทยาการ ครั้งที่ ๑๑
|
23/04/2564 |
ความสุขของมนุษย์ในการดำรงชีวิตตามวิถีชีวิตใหม่
ประเภทวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาสังคม |
23/04/2564 |
การพัฒนาสุขภาพจิตที่ดีในวิถีชีวิตใหม่ ขวัญเนตร สุขใจ คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
23/04/2564 |
ความสุขของผู้ใหญ่สูงวัยในยุคนิวนอร์มัล รศ. ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ประเภทวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาพัฒนาการ |
23/04/2564 |
คุณธรรมนำชีวิตให้เกิดสุข
คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
23/04/2564 |
ความสุขยุควิถีชีวิตใหม่ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง
คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
23/04/2564 |
เด็กและเยาวชนในวิถีชีวิตใหม่ที่มีคุณภาพ
คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
23/04/2564 |
รอบรู้สุขภาพเพื่อชีวิตที่เป็นสุข
คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
23/04/2564 |
สูงวัยอย่างมีคุณภาพชีวิตและเป็นสุข
คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
23/04/2564 |
อยู่อย่างมีคุณภาพเพื่อชีวิตที่เป็นสุข ยุค New Normal
ประเภทวิชาจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยาบุคลิกภาพและการให้บริการปรึกษา |
20/12/2562 |
เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยสวัสดิการ และกรณีศึกษาผู้สูงอายุในประเทศไทย
|
20/12/2562 |
จิตวิทยาของความไม่สอดคล้องด้านการรู้คิด รศ. ดร.ธีระพร อุวรรณโณ |
07/11/2562 |
ครอบครัวสดใสไร้ความรุนแรง ผศ. ดร.อาภาศิริ สุวรรณานนท์ |
07/11/2562 |
การปรับพฤติกรรมเพือความอยู่ดีมีสุขในครอบครัว |
06/11/2562 |
“อยู่ดีมีสุข” ความหวังของครอบครัวในสังคมไทย |
15/08/2562 |
ยุทธศาสตร์ชาติ และการนำไปสู่การปฏิบัติ ศาสตราจารย์ ดร.วรเดช จันทรศร เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก |
13/06/2562 |
การศึกษาแบบเรียนรวมเพื่อความเป็นธรรมในสังคม Inclusive Education for Social Justice รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา |
10/06/2562 |
บทความทางวิชาการ แม่เดี่ยว : กับการพัฒนาลูกยุค ๔.๐ โดย รศ. ดร.ดวงเดือน ศาสตรภัทร คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
13/05/2562 |
บทความทางวิชาการ แม่เดี่ยว : กับการพัฒนาลูกยุค ๔.๐ โดย รศ. ดร.ดวงเดือน ศาสตรภัทร คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
13/05/2562 |
บทความทางวิชาการ ครอบครัวเลี้ยงเดี่ยว : ความท้าทายที่ต้องก้าวผ่านให้ได้ในสังคมไทยปัจจุบัน โดย ขวัญเนตร สุขใจ คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
13/05/2562 |
|
13/05/2562 |
บทความทางวิชาการ บทบาทครอบครัวในการพัฒนาคนสู่สังคม โดย รศ. ดร.พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์ คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
13/05/2562 |
บทความทางวิชาการ ครอบครัวอบอุ่น : เสาหลักที่มั่นคงของสังคม โดย ดร.โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม |
11/04/2562 |
อย่ามัวแต่โต้แย้งไทยเป็นอันดับหนึ่งหรือเปล่า? โดยศาสตราจารย์ ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก |
11/04/2562 |
ศาสตร์พระราชาสู่การลดความเหลื่อมล้ำ โดยศาสตราจารย์ ดร.ปราณี ทินกร เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก |
11/04/2562 |
หัวข้อคัดสรรของพฤติกรรมการช่วยเหลือและพฤติกรรมเอื้อต่อสังคม โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ธีระพร อุวรรณโณ เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก |
15/03/2562 |
การให้บริการขนส่งคนโดยสาร โดยรถยนต์ส่วนบุคคลผ่านแอปพลิเคชัน ศ. ดร.ไผทชิต เอกจริยกร ราชบัณฑิต ประเภทวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ |
14/11/2561 |
หนังสือเนื่องในการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร ประจำปี ๒๕๖๑ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เรื่อง “การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม” เมื่อวันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ห้องราชา ๒ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร
|
21/09/2561 |
การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว |
07/08/2561 |
การสร้างบรรยากาศทางจริยธรรมในองค์กร : ทรรศนะทางจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติ |
07/06/2561 |
ความรับผิดทางแพ่งของผู้นำเข้าเครื่องปรับจังหวะการเต้นของหัวใจและเครื่องกระตุกหัวใจ ตามกฎหมายความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร. ศักดา ธนิตกุล ภาคีสมาชิก ประเภทวิชานิติศาสตร์ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง วันพุธที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ |
23/05/2561 |
สรุปการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สุโขทัยศึกษาและล้านนาศึกษา เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส หลานหลวง กรุงเทพฯ มีผู้เข้าร่วมการสัมมนาประมาณ ๑๓๐ คน ประกอบด้วยราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก กรรมการวิชาการ ข้าราชการ นักวิชาการ และสื่อมวลชน สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้จัดสัมมนาครั้งนี้เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสุโขทัยศึกษาและล้านนาศึกษา และศึกษาความก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา อีกประการหนึ่งเพื่อแสดงมุทิตาจิตแด่ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาโบราณคดี ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญในวงวิชาการประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณกรรม ในคราวที่มีอายุครบ ๙๙ ปี ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ |
20/04/2561 |
สรุปการประชุมวิชาการราชบัณฑิตสัญจร ประจำปี ๒๖๕๑ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา เรื่อง การสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม วันพุธที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ห้องราชา ๒ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ |
22/03/2561 |
ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ ณ นคร กับความก้าวหน้าการศึกษาประวัติศาสตร์สุโขทัย รศ.วุฒิชัย มูลศิลป์ ราชบัณฑิต สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง |
22/02/2561 |
วันพุธที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุมรพีพัฒน์ สำนักงานอธิการบดี ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) มีการประชุมสำนักวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ ในการประชุมฯ มีการบรรยายผลงานวิชาการ ๓ เรื่อง คือ ๑. เรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสินใจ” โดย ศ. ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ภาคีสมาชิก ๒. เรื่อง “งานวิจัยด้าน AI และ NLP” โดย ศ. ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง ภาคีสมาชิก และ ๓. เรื่อง “ความสำเร็จของประเทศไทยในการปรับปรุงพันธุ์เพื่อเร่งการปลูกเลี้ยงสบู่ดำ A Thailand’ s Success Case in Breeding to Accelerate Domestication of Jatropha” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ภาคีสมาชิก |
22/02/2561 |
เมื่อวันพุธที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑ ณ ห้องประชุมรพีพัฒน์ สำนักงานอธิการบดี ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (ศูนย์เทเวศร์) มีการประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งที่ ๔/๒๕๖๑ ทั้งนี้ ศ.กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต บรรยายผลงานทางวิชาการ เรื่อง ปรัชญาพระราชา (King’s Philosophy) |
07/02/2561 |
วันนี้ (๗ ก.พ. ๖๑) ณ ห้องประชุม ๔๐๑-๔๐๓ มีการประชุมสำนักวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ โดยมี ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.สุรพล อิสรไกรศีล ประธานสำนักสำนักวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่ประธานการประชุมฯ ในการประชุมมีการสนทนาพาที สำนักวิทยาศาสตร์ เรื่อง “นักวิทยาศาสตร์จะช่วยรัฐปฏิรูปการศึกษาไทยได้อย่างไร” และการบรรยายผลงานวิชาการและวิจัยต่อที่ประชุมของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต เรื่อง “ศิลปะวิทยาศาสตร์ซ พื้นฐานของอุดมศึกษา” โดยสรุปการบรรยายจะเผยแพร่ในโอกาสต่อไป |
07/02/2561 |
วันนี้ (๗ ก.พ. ๖๑) ณ ห้องประชุม ๕๐๑-๕๐๓ มีการประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งที่ ๓/๒๕๖๑ โดยมี ศ. ดร.สมบูรณ์ สุขสำราญ ประธานสำนักสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ทำหน้าที่ประธานการประชุมฯ ในการประชุมมีการสรุปข้อเสนอเบื้องต้นจากการประชุมย่อยคณะทำงานรวบรวมองค์ความรู้ที่ใช้ในการปฏิรูปประเทศของสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เมื่อวันพุธที่ ๓ และ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๑ และนอกจากนี้ได้มีการพิจารณาระเบียบราชบัณฑิตยสภาว่าด้วยเงินอุปการะราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก พ.ศ. ๒๕๖๑ และการบรรยายผลงานวิชาการและวิจัยต่อที่ประชุมของ ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ราชบัณฑิต เรื่อง “ปรัชญาธรรมาภิบาล” ทั้งนี้ สรุปการบรรยายจะเผยแพร่ในโอกาสต่อไป |
16/01/2561 |
วิถีแห่งพลเมืองเน็ต ศาสตราจารย์ สุกัญญา สุดบรรทัด ภาคีสมาชิก |
16/01/2561 |
รศ.วนิดา ขำเขียว ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาปรัชญา สาขาวิชาอภิปรัชญาและญาณวิทยา เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ญาณวิทยาบนรากฐานปฏิบัตินิยมของวิลเลียม เจมส์ (Epistemology Founded on William James’ Pragmatism)
บทนำ วิลเลียม เจมส์ (William James)หรือ เจมส์(James)เป็นนักปรัชญาคนสำคัญในกลุ่ม 3 ผู้ยิ่งใหญ่แห่งปฏิบัตินิยม (Pragmatism)ซึ่งมี ชาลส์ แซนเดอร์ส เพิร์ส (Charles Sanders Peirce) วิลเลียม เจมส์ และจอห์น ดิวอี้ (John Dewey) เจมส์จึงเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้บุกเบิกแนวคิดปฏิบัตินิยม ซึ่งมีอิทธิพลต่อปรัชญาและจิตวิทยาในศตวรรษที่ 20 นอกจากนี้เจมส์ยังเป็นบุคคลที่อาจเรียกได้ว่าเป็นบิดาแห่งจิตวิทยาเชิงประสบการณ์ของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยความที่เจมส์เป็นทั้งนักปรัชญาและนักจิตวิทยาที่เห็นคุณค่าของการทดลองและการปฏิบัติในการค้นหาความเป็นจริงด้วยตนเองนี้ ท่านจึงเชื่อว่าท่านพบแล้วซึ่งความรู้หรือญาณวิทยาที่จะช่วยให้มนุษย์พบกับความเป็นจริงและสามารถนำพามนุษย์ไปสู่การแก้ปัญหาได้อย่างมากมาย
ภูมิหลัง วิลเลียม เจมส์ เกิดที่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 1842 บิดาชื่อ เฮนรี่ เจมส์ (Henry James) และมารดาชื่อ แมรี วอล์ช เจมส์ (Mary Walsh James) บิดาเป็นสาธุคุณในคริสตศาสนาที่มีชื่อเสียงในด้านวรรณกรรมและมีความสนิทสนมกับคนดังทางด้านวรรณกรรมของอเมริกาคือ ราฟ วอลโด อีเมอร์สัน (Ralph Waldo Emerson) เจมส์เป็นลูกคนโตของตระกูล น้องชายของท่านคือ เฮนรี่ เจมส์ ซึ่งมีชื่อเหมือนกับบิดา เป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงของอเมริกาและโด่งดังเท่ากับเจมส์ ในวัยเด็กเจมส์นั้นได้รับการสนับสนุนจากบิดาให้ได้รับการศึกษาอย่างกว้างขวางด้วยการเรียนรู้จากประสบการณ์ ท่านจึงไม่มีโอกาสศึกษาเหมือนกับเด็กอื่น ๆ ที่ต้องเรียนในโรงเรียน เพราะต้องท่องเที่ยวไปกับบิดาตามประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกาเป็นเวลา 2 ปี 5 เดือน แต่กระนั้นบิดาก็ยังหาโอกาสให้ท่านได้รับการศึกษาเป็นส่วนตัวกับบิดาบ้างและศึกษากับอาจารย์ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีทั้งอังกฤษ ฝรั่งเศส สวิส และเยอรมัน จากนั้นเจมส์ได้ไปศึกษาที่ Lawrence Scientific School ที่ฮาร์วาร์ด (Harvard) และต่อมาได้ศึกษาทางด้านการแพทย์ที่ |
16/01/2561 |
ศาสตราจารย์สัญชัย สุวังบุตร ภาคีสมาชิก ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ยุโรป เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑๐๐ ปี การปฏิวัติรัสเซีย (๑๙๑๗–๒๐๑๗) ปีนี้ (๒๐๑๗) ครบรอบ ๑๐๐ ปีของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ยุโรปและโลก การปฏิวัติเริ่มจากการชุมนุมเคลื่อนไหวของประชาชนเพื่อต่อต้านสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกร้องรัฐบาลให้แก้ไขปัญหาความอดหยากขาดแคลนอาหารซึ่งนำไปสู่การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๑๗ เป็นการปฏิวัติที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันโดยไม่มีใครคาดการณ์มาก่อน และสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะทางการเมืองของประชาชนและการอวสานของราชวงศ์โรมานอฟที่ปกครองจักรวรรดิรัสเซียมากว่า ๓๐๐ ปี รัสเซียก้าวสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในสมัยทวิอำนาจระหว่างสภาโซเวียตกับรัฐบาลเฉพาะกาล ท้ายที่สุดสภาโซเวียตแย่งชิงอำนาจทางการเมืองได้และนำไปสู่การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ ในเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า “๑๐ วัน เขย่าโลก” พรรคบอลเชวิคที่มีวลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) กับเลออน ตรอตสกี (Leon Trotsky) เป็นผู้นำยึดอำนาจทางการเมืองได้สถาปนารัฐสังคมนิยมของชนชั้นแรงงานขึ้นได้เป็นครั้งแรก การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ ๑๙๑๗ จึงนำไปสู่การเริ่มต้นการก่อตัวของสหภาพโซเวียตซึ่งส่งอิทธิพลต่อการเมือง ในคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งฝากรอยจารึกไว้ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ เป็นการยึดอำนาจทางการเมืองของพรรคบอลเชวิคในรัสเซีย รัฐบาลเฉพาะกาลซึ่งปกครองประเทศภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๙๑๗ ถูกโค่นอำนาจ และ การปฏิวัติเดือนตุลาคมเป็นผลสืบเนื่องจากปัญหาทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจที่สะสมมายาวนานในสมัยซาร์ และนำไปสู่การก่อตัวของขบวนการปฏิวัติในทศวรรษ ๑๙๐๐ เพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและสังคม ความอื้อฉาวในราชสำนักจากพฤติกรรมของนักบวชรัสปูตินที่ซาร์และ อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของรัฐบาลเฉพาะกาลในการปราบปรามกบฏคอร์นีลอฟ หรือเหตุการณ์เรื่องคอร์นีลอฟ (Kornilov Affair) ในเดือนกันยายน ค.ศ. ๑๙๑๗ ได้เปิดโอกาสให้พรรคบอลเชวิคและสภาโซเวียตมีบทบาทสำคัญในการปลุกระดมมวลชนและทหารให้จับอาวุธต่อต้านกองกำลังของนายพล คอร์นีลอฟที่เคลื่อนกำลังบุกเข้ายึดครองกรุงเปโตรกราด ตลอดจนจัดตั้งแนวรบปิดกั้นเส้นทางคมนาคมและการติดต่อสื่อสารต่าง ๆ ที่พวกกบฎจะใช้ นักปลุกระดมบอลเชวิคจำนวนหนึ่งยังเกลี้ยกล่อมให้กองกำลังต่าง ๆ ของคอร์นีลอฟวางอาวุธและเข้าร่วมสนับสนุนประชาชนจนท้ายที่สุดฝ่ายกบฏยอมจำนนโดยปราศจากการสูญเสียเลือดเนื้อ หลังเหตุการณ์เรื่องคอร์นีลอฟ พรรคบอลเชวิคมีบทบาทและอิทธิพลมากขึ้นในสภาโซเวียตตามเมืองต่าง ๆ และเริ่มเคลื่อนไหวโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาล และเรียกร้องการคืนอำนาจรัฐทั้งหมดให้แก่สภาโซเวียต แม้รัฐบาลเฉพาะกาลจะปรับคณะรัฐมนตรีและยังคงรักษาอำนาจทางการเมืองไว้ได้ แต่ปัญหาหนี้สินจากการดำเนินนโยบายสงคราม ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงและสภาพการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจที่ย่ำแย่ลงทุกขณะ ก็ทำให้การต่อต้านรัฐบาลเริ่มเกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วไปทั่วประเทศ ในช่วงที่กระแสการต่อต้านรัฐบาลเฉพาะกาลกำลังก่อตัวขึ้นและขยายตัวในวงกว้าง สภาโซเวียตก็เริ่มเคลื่อนไหวเตรียมยึดอำนาจ ตรอตสกีซึ่งดำรงตำแหน่งประธานสภาโซเวียตเปโตรกราดดำเนินนโยบายให้สภาโซเวียตเป็นองค์การนำในการเข้าควบคุมสภาโซเวียตท้องถิ่นทั่วประเทศให้กลายเป็นองค์การพรรคและเรียกร้องให้โอนอำนาจของรัฐบาลแก่สภาโซเวียต ในขณะเดียวกันเลนินซึ่งลี้ภัยที่ฟินแลนด์ก็ส่งสารถึงคณะกรรมาธิการกลางบอลเชวิคในหัวข้อ “The Bolsheviks Must Take Power” และ “The Crisis Has Ripened” เรียกร้องให้โค่นอำนาจรัฐบาลเฉพาะกาล แต่คณะกรรมาธิการกลางพรรคไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของเลนิน และขอให้เลนินเดินทางกลับมากรุงเปโตรกราดเพื่อหาข้อสรุปเรื่องการยึดอำนาจ รัฐบาลเฉพาะกาลพยายามสร้างความเชื่อมั่นทางการเมืองด้วยการจัดประชุมประชาธิปไตย (Democratic Conference) ขึ้นที่กรุงเปโตรกราดในกลางเดือนกันยายนเพื่อผนึกกำลังกลุ่มเสรีนิยมให้สนับสนุนรัฐบาล ผลสำคัญของการประชุมครั้งนี้คือการที่จะต้องเตรียมจัดตั้งรัฐสภา (Pre-Parliament) ไว้ก่อนเพื่อจะได้เตรียมการเลือกตั้งได้ซึ่งกำหนดเป็นวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน และการเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ศูนย์กลางบอลเชวิคมีมติให้คว่ำบาตรรัฐสภาที่เตรียมไว้และให้สมาชิกที่สนับสนุนรัฐสภาถอนตัวออกด้วยเหตุผลว่ารัฐบาลมีเป้าหมายจะใช้รัฐสภาเป็นเครื่องมือขัดขวางการปฏิวัติโดยโน้มน้าวให้ฝ่ายต่าง ๆ สนับสนุนระบอบรัฐสภาของชนชั้นนายทุน บอลเชวิคยังเคลื่อนไหวด้วยการให้เปิดประชุมใหญ่สภาโซเวียตทั่วรัสเซียสมัยที่ ๒ (Second All-Russian Congress of Soviets) ขึ้น แม้พรรคสังคมนิยมอื่น ๆ รวมทั้งสภาโซเวียตท้องถิ่นและหน่วยทหารของสภาโซเวียตจะไม่เห็นด้วยกับการเปิดประชุมใหญ่ดังกล่าวเพราะเห็นว่าเงื่อนไขเวลายังไม่เหมาะสมและจะเป็นการทอนอำนาจของสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่สภาโซเวียตเปโตรกราดและสภาโซเวียตมอสโกซึ่งบอลเชวิคกุมเสียงส่วนใหญ่ไว้ได้ก็สามารถกดดันให้มีการจัดประชุมสภาโซเวียตทั่วรัสเซียสมัยที่ ๒ ขึ้นได้สำเร็จโดยกำหนดเปิดประชุมในวันที่ ๒๐ ตุลาคม และกำหนดวัตถุประสงค์ไว้คือ การจะร่างกฎหมายการเลือกตั้งเพื่อเสนอให้สภาร่างรัฐธรรมนูญพิจารณาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาก็มีมติให้เลื่อนกำหนดวันประชุมใหญ่ออกไปอีก ๕ วัน เป็นวันที่ ๒๕ ตุลาคมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนสภาโซเวียตจากหัวเมืองมีเวลาเตรียมตัวและเดินทางมากรุงเปรโตรกราดได้ทันเวลา ในต้นเดือนตุลาคม รัสเซียถอนกำลังออกจากเมืองเรเวล (Revel) ซึ่งเป็นหน้าด่านอันแข็งแกร่งสุดท้ายที่กั้นขวางระหว่างกรุงเปโตรกราดกับกองกำลังของเยอรมนี การถอนกำลังดังกล่าวสร้างความหวาดวิตกขึ้นทั่วไป เพราะหากเยอรมนีรุกคืบหน้า กรุงเปโตรกราดจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสมรภูมิ เคเรนสกีจึงตัดสินใจจะย้ายรัฐบาลไปที่นครมอสโก ตรอตสกีโจมตีรัฐบาลเฉพาะกาลอย่างรุนแรงที่จะสละนครแห่งการปฏิวัติให้แก่เยอรมนี เขาปลุกระดมและโน้มน้าวกองกำลังทหารในเปโตรกราดให้ต่อสู้ป้องกันกรุงเปโตรกราด และให้จัดตั้งคณะกรรมาธิการปฏิวัติทหาร (Military Revolutionary Committee) ขึ้น เพื่อประสานงานกับกองกำลังทหารหน่วยต่าง ๆ ในการป้องกันกรุงเปโตรกราดจากการโจมตีทั้งของเยอรมนีและฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ ขณะเดียวกันเขาให้ติดอาวุธแก่กองทหารเรดการ์ดของสภาโซเวียตด้วย กองทหารดังกล่าวในช่วงกบฏ ระหว่างวันที่ ๓–๑๐ ตุลาคมซึ่งไม่ทราบวันที่ชัดเจนนั้น เลนินได้แอบกลับจากฟินแลนด์มาถึงกรุง ที่ประชุมยังมีความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับเรื่องกำหนดวันที่จะยึดอำนาจด้วย เลฟ คาเมเนฟ (Lev Kamenev) และกรีกอรี ชีโนเวียฟ (Grigori Zinoviev) คัดค้านเรื่องการยึดอำนาจอย่างมากเพราะเห็นว่าช่วงเวลายังไม่เหมาะสมและบอลเชวิคยังไม่เข็มแข็งและมีความพร้อมพอ อย่างไรก็ตาม การประชุมในท้ายที่สุดก็มีมติให้ยึดอำนาจรัฐด้วยคะแนน ๑๐ : ๒ ส่วนวันยึดอำนาจยังไม่กำหนดแน่ชัด โดยอาจยึดอำนาจหนึ่งวันก่อนการเปิดประชุมใหญ่สภาโซเวียตสมัยที่ ๒ ซึ่งเป็นวันที่ ๒๕ ตุลาคมหรืออาจดำเนินการก่อน ที่ประชุมเห็นชอบให้ถ่ายทอดมติเรื่องการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธแก่องค์การพรรคในมอสโก และในท้องถิ่นทุกระดับทั่วประเทศเพื่อให้ตระเตรียมการและเพื่อประสานงานการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่จะเกิดขึ้นให้เป็นเอกภาพ นอกจากนี้ มีการจัดตั้งฝ่ายการเมือง (political bureau) ขึ้นด้วยซึ่งประกอบด้วยสมาชิก ๗ คนที่รวมทั้งเลนิน ตรอตสกี และโจเซฟ ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม คณะกรรมการกลางพรรคบอลเชวิคจัดประชุมร่วมกับผู้แทนสภาโซเวียต คาเมเนฟต่อต้านแผนการยึดอำนาจด้วยการลาออกจากการเป็นสมาชิกคณะกรรมการกลางพรรค และในวันรุ่งขึ้นทั้งเขาและซีโนเวียฟทำจดหมายเปิดผนึกเปิดเผยแผนการยึดอำนาจเผยแพร่ในหน้าหนังสือพิมพ์ของแมกซิม กอร์กี (Maxim Gorky) นักเขียนเรืองนาม เลนินไม่พอใจอย่างมากและเรียกร้องให้ขับคนทั้งสองออกจากพรรค แต่คณะกรรมการกลางพรรคไม่ยอมปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของเลนิน อย่างไรก็ตาม การแพร่งพรายเรื่องการเตรียมยึดอำนาจก็ทำให้เกิดความตื่นตัวกันทั่วไปในขบวนการปฏิวัติ และทุกคนมักถามกันเองว่าจะสนับสนุนหรือต่อต้านการยึดอำนาจที่จะมีขึ้น ข่าวที่ว่าบอลเชวิคจะยึดอำนาจสร้างบรรยากาศความตึงเครียดทั่วไปในสังคมและทำให้รัฐบาลเฉพาะกาลเริ่มวางมาตรการป้องกันขึ้น ในวันที่ ๑๙ ตุลาคม เคเรนสกีมีคำสั่งให้ถอนกำลังจากแนวหน้ามาป้องกันกรุงเปโตรกราด และเริ่มควบคุมตรวจตราตามท้องถนนอย่างเข้มงวดตลอดจนจัดตั้งศูนย์บัญชาการหน่วยจู่โจมขึ้นตามเขตชุมชน เคเรนสกีคิดว่าเขาจะสามารถควบคุมสถานการณ์ได้และเชื่อมั่นว่าการยึดอำนาจของบอลเชวิคจะเปิดโอกาสให้เขากวาดล้างฝ่ายบอลเชวิคจนสิ้นซาก ฝ่ายตรงข้ามบอลเชวิคก็มีความคิดเช่นเดียวกับเคเรนสกีและเห็นว่าหากพวกบอลเชวิคถูกกวาดล้างลง บอลเชวิคก็จะหมดบทบาทและอิทธิพลในสภาร่างรัฐธรรมนูญ หลังวันที่ ๒๐ ตุลาคมเป็นต้นมา บรรยากาศความตึงเครียดครอบคลุมกรุงเปโตรกราดและทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ หัวข้อหลักของการสนทนาคือเรื่องการลุกฮือที่กำลังจะก่อตัวขึ้น หนังสือพิมพ์ฉบับต่าง ๆ ก็พยายามคาดการณ์ว่าการปฏิวัติจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด ในขณะที่สภาโซเวียตเปโตรกราดออกแถลงการณ์ปฏิเสธข่าวเรื่องการยึดอำนาจ และกองทหารคอสแซค (Cossaks) ก็ประกาศจะใช้กำลังปราบปรามฝ่ายกบฏ ตรอตสกีเตรียมการที่จะรับมือกับการโจมตีของฝ่ายต่อต้านปฏิวัติที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกขณะด้วยการสั่งให้จ่ายปืนไรเฟิล ๕,๐๐๐ กระบอกแก่กองกำลังเรดการ์ดบอลเชวิค การติดอาวุธแก่ฝ่ายเรดการ์ดดังกล่าวสร้างความหวาดวิตกในหมู่ชนชั้นปกครองอย่างมาก ตรอตสกียังเรียกร้องให้กองทหารเปโตรกราดประสานงานและรับคำสั่งจากคณะกรรมาธิการปฏิวัติทหารแห่งเปโตรกราด ตลอดจนจัดประชุมทั่วไปขึ้นโดยโน้มน้าวและชี้นำเหล่าทหารให้มีมติเห็นชอบที่จะสนับสนุนสภาโซเวียตและโค่นอำนาจรัฐบาลเฉพาะกาล ในช่วงเวลาเดียวกันสภาโซเวียตก็เปิดประชุมทั่วเปโตรกราดเพื่อปลุกระดมมวลชนให้สนับสนุนการดำเนินงานของสภา การยึดอำนาจ ในวันที่ ๒๔ ตุลาคม รัฐบาลเฉพาะกาลเริ่มปฏิบัติการโจมตีด้วยการตรวจค้นและเข้ายึดโรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ Rabochy Put และ Soldatskaya Pravda ของบอลเชวิคเพื่อขัดขวางไม่ให้เผยแพร่ข่าวสาร และสั่งให้ยกสะพานที่ทอดข้ามแม่น้ำเนวาขึ้นเพื่อตัดการคมนาคมระหว่างเขตที่อยู่อาศัยของกรรมกรกับใจกลางเมือง รวมทั้งมีประกาศให้จับกุมแกนนำบอลเชวิคคนสำคัญโดยเฉพาะตรอตสกี แต่ปฏิบัติการของรัฐบาลประสบความล้มเหลวเพราะในช่วงบ่ายกองกำลังเรดการ์ดบอลเชวิคก็สามารถยึดโรงพิมพ์กลับคืนมาได้ และในเวลาไม่ถึงชั่วโมงหนังสือพิมพ์ Rabochy Put ของบอลเชวิคก็พิมพ์เผยแพร่ได้อีกครั้งหนึ่ง ขณะเดียวกันมีการชักสะพานที่ข้ามแม่น้ำเนวาลงและกองกำลังที่บุกตรวจค้นย่านเขตคนงานเพื่อจับกุมเลนินก็ถูกต่อต้าน ทหารและกลาสีเรือที่รวมกำลังที่สถาบันสมอลนืย (Smolny Institute) ซึ่งเดิมเป็นวิทยาลัยสตรีชั้นสูงแต่ใช้เป็นที่ทำการสภาโซเวียตก็เคลื่อนกำลังเข้ายึดครองจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญต่าง ๆ ในกรุงเปโตรกราด ในช่วงเย็นก็สามารถยึดที่ทำการโทรเลขกลาง ไปรษณีย์ และโทรศัพท์ได้ตามลำดับ ในตอนค่ำของวันที่ ๒๔ ตุลาคม เลนินเขียนจดหมายถึงคณะกรรมการกลางพรรคเรียกร้องให้เร่งปฏิบัติการยึดอำนาจอย่างฉับไวและเด็ดขาด ในคืนนั้นกรรมกรกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าจากเขตวีบอร์กพากันมาที่คณะกรรมการประจำเขตเพื่อรับอาวุธและคำสั่ง ตลอดคืนวันที่ ๒๔ ตุลาคม กองกำลังทหารปฏิวัติและกองกำลังเรดการ์ดเคลื่อนกำลังเข้ายึดสถานที่สำคัญ ๆ และเข้าปิดล้อมพระราชวังฤดูหนาวซึ่งเป็นที่ทำการของรัฐบาลเฉพาะกาล เวลาประมาณ ๓.๓๐ น. เรือลาดตระเวน ในเช้าวันที่ ๒๕ ตุลาคม กองกำลังฝ่ายปฏิวัติก็ยึดครองกรุงเปโตรกราดไว้ได้เกือบหมดยกเว้นจตุรัสกลางเพียงสองแห่งเท่านั้น รัฐบาลเฉพาะกาลไม่ได้ดำเนินการใด ๆ อย่างเด็ดขาดเพราะประเมินสถานการณ์ของฝ่ายปฏิวัติไว้ต่ำ ทั้งคาดหวังว่ากองกำลังจากแนวหน้าจะเคลื่อนกำลังมาทันที แต่กองกำลังจากแนวหน้าไม่สามารถมาถึงกรุงเปโตรกราดได้เพราะเส้นทางรถไฟถูกตัดขาด นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นในตนเองของเคเรนสกีที่คิดว่าเขาสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ยังทำให้เขาไม่ใช้กำลังทหารที่จงรักภักดีต่อรัฐบาลปราบปรามฝ่ายปฏิวัติทันทีเพราะเคเรนสกีคาดหวังว่าจะมีการเปิดการเจรจาเพื่อความตกลงทางการเมืองซึ่งจะทำให้เขามีบทบาทโดดเด่นขึ้น ฝ่ายปฏิวัติจึงมีเวลาปฏิบัติการโดยมีการต่อต้านไม่มากนัก กรุงเปโตรกราดจึงตกอยู่ในมือของฝ่ายปฏิวัติอย่างง่ายดาย เวลาประมาณ ๑๐.๐๐ น. คณะกรรมาธิการปฏิวัติทหารก็ออกแถลงการณ์ถึงพลเมืองรัสเซีย (To the Citizens of Russia) เผยแพร่ในหน้าหนังสือพิมพ์ซึ่งความตอนหนึ่งว่ารัฐบาลเฉพาะกาลได้ถูกโค่นลง และอำนาจรัฐได้ตกเป็นขององค์การสภาโซเวียตของผู้แทนกรรมกรและทหารแห่ง เวลา ๑๔.๒๓ น. สภาโซเวียตเปโตรกราดจัดประชุมฉุกเฉินขึ้นและให้การต้อนรับเลนินและแกนนำบอลเชวิคที่มาถึงอย่างเอิกเกริก เลนินกล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมซึ่งมีความตอนหนึ่งว่าการปฏิวัติของกรรมกรและชาวนาซึ่งบอลเชวิคได้กล่าวเสมอถึงความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดขึ้นได้นั้นประสบผลสำเร็จแล้ว จากนั้นเลนินได้กล่าวถึงยุคใหม่ของประวัติศาสตร์รัสเซียที่รัฐบาลโซเวียตมีภารกิจและพันธกิจที่ต้องดำเนินการอย่างจริงจัง นั่นคือการจัดตั้งอำนาจรัฐใหม่และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการจัดทำสนธิสัญญาสันติภาพ ในช่วง ๒๑.๐๐ น. ปืนของเรือลาดตระเวนออโรรากับป้อมเปโตรปาฟลอฟสกายาก็เริ่มยิงเป็นสัญญาณให้บุกเข้ายึดพระราชวังฤดูหนาว ในตอนดึกของคืนวันที่ ๒๕ ตุลาคม ที่ประชุมใหญ่ผู้แทนโซเวียตทั่วรัสเซียสมัยที่ ๒ ได้เปิดประชุมใหญ่ขึ้นที่สมอนนืยเมื่อเวลา ๒๒.๔๕ น. ประมาณ ๐๓.๑๐ น. ที่ประชุมได้รับแจ้งว่าพระราชวังฤดูหนาวซึ่งคณะรัฐบาลเฉพาะกาลหลบซ่อนตัวโดยมีนักเรียนนายทหารและกองทัพทหารหญิงคอยคุ้มกันก็ถูกยึด บรรดารัฐมนตรีต่างถูกจับ ทั้งนักเรียนนายทหารกับกองทหารที่คอยคุ้มกันถูกปลดอาวุธ การปฏิวัติเดือนตุลาคมประสบชัยชนะอย่างงดงาม และเปิดโอกาสให้เลนินได้วางแนวทางของอนาคตให้แก่รัสเซียและสร้างสังคมใหม่ที่เขาใฝ่ฝันตามอุดมการณ์ลัทธิมากซ์คือการสถาปนาอำนาจรัฐสังคมนิยมของชนชั้นกรรมาชีพและปกครองในระบบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ ชัยชนะของการปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ ทำให้รัสเซียเป็นต้นแบบประเทศสังคมนิยมประเทศแรกของยุโรปและโลก ทั้งเป็นประเทศแม่แบบของการปฏิวัติที่สร้างแรงบันดาลใจแก่ปัญญาชนปฏิวัติและประชาชาติต่าง ๆ ซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นแบบรัสเซีย การปฏิวัติเดือนตุลาคม ค.ศ. ๑๙๑๗ ส่งผลสำคัญต่อยุโรปตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ และทำให้แนวความคิดลัทธิสากลนิยมของชนชั้นกรรมาชีพ (Proletariat Internationalism) เป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น อุดมการณ์คอมมิวนิสต์เริ่มท้าทายและคุกคามอุดมการณ์ประชาธิปไตยอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งกลายเป็นพื้นฐานของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในสมัยสงครามเย็น (Cold War ค.ศ. ๑๙๔๕–๑๙๙๑) การปฏิวัติเดือนตุลาคมจึงเป็นจุดเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์รัสเซียและยุโรป ทั้งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่เปลี่ยนโฉมหน้าของประวัติศาสตร์โลกด้วย การตีความประวัติศาสตร์การปฏิวัติ ในการเฉลิมฉลอง ๑๐๐ ปีการปฏิวัติรัสเซีย ในแวดวงวิชาการตะวันตกมีหนังสือ บทความ และ นอกจากงานของกลุ่มสากลที่ ๔ ในเว็บไซต์แล้ว มีการนำงานคลาสสิกเกี่ยวกับการปฏิวัติรัสเซียมาพิมพ์ใหม่อีกหลายเล่ม เป็นต้นว่า Leon Trotsky, The History of the Russian Revolution, John Reed Ten Days that shook the World และ Orlando Figes, A People’s Tragedy : The Russian Revolution : 1891–1924 ซึ่งในบทนำของหนังสือมีการวิเคราะห์สรุปความสำคัญของการปฏิวัติรัสเซียและการเสนอความคิดว่าทำไมยังต้องศึกษาประวัติศาสตร์รัสเซีย การปฏิวัติที่เกิดขึ้นเมื่อ ๑๐๐ ปีที่ผ่านมายังคงมีความเกี่ยวโยงกับสังคมปัจจุบันอย่างไร และอื่น ๆ มีงานวิชาการใหม่ ๆ ที่น่าสนใจอีกมากเล่มที่นำเสนอการตีความประวัติศาสตร์การปฏิวัติโดยใช้เอกสารและข้อมูลใหม่ ๆ ที่เปิดกว้างมากขึ้นในการสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับประวัติรัสเซีย งานที่น่าสนใจมี Sean McMeekin, The Russian Revolution A New History (2017) ซึ่งวิเคราะห์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติจากมุมมองของสงครามและกองทัพรวมทั้งผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในแนวหน้าและแนวหลัง เน้นความสัมพันธ์ระหว่างโซเวียตกับเยอรมนี ซึ่งเป็นประเทศที่พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ แต่สามารถสานสัมพันธ์กันได้จนนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญา ค.ศ. ๑๙๑๘ และ ค.ศ. ๑๙๒๒ งานของ Catherine Merridal, Lenin on the Train (2016) บอกเล่าเรื่องราวที่มีสีสันของการเดินทางโดยรถไฟตู้ขบวนปิด ซึ่งเป็นตู้พิเศษที่เยอรมนีจัดให้เลนินและแกนนำบอลเชวิคอีก ๑๘ คน เพื่อเดินทางกลับเข้ารัสเซียผ่านเยอรมนี สวีเดน และฟินแลน์ เหล่านักปฏิวัติทั้งกลุ่มคืออาวุธเชื้อโรคที่เยอรมนีส่งเข้าไประบาดในรัสเซีย และส่งผลให้รัสเซียก้าวผ่านจากการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนสู่การปฏิวัติสังคมนิยมได้ เป็นการเปิดมุมมองในประเด็นความรู้สึกนึกคิดของกลุ่มนักปฏิวัติ และความคาดหวังของพวกเขาที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม ในช่วงท้ายมีการให้ภาพคู่ขนานเรื่องราวของซาร์นิโคลัสที่ ๒ เสด็จจากแนวหน้าประทับรถไฟพระที่นั่งกลับไปกรุง |
16/01/2561 |
ยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบการสื่อสารสำหรับพลเมืองยุคดิจิทัล ศ.กิตติคุณ สุกัญญา สุดบรรทัด ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
|
27/12/2560 |
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้อง Grand Ballroom ๑ โรงแรมมณีจันทร์รีสอร์ท จังหวัดจันทบุรี ในการประชุมสัมมนาจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๓ “สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้ศึกษาและถอดองค์ความรู้ในกฎหมายตราสามดวงเพื่อเผยแพร่มากว่า ๑๐ ปี พบว่าหลักกฎหมายหลายประการมีความทันสมัยสอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น การไม่ลงโทษเด็กอายุน้อยกว่า ๗ ปีที่กระทำผิด หรือกรณีไม่มีอายุความในความผิดทุจริต ฯลฯ” นายกฤษฎา กล่าว การประชุมสัมมนาจัดทำทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ เป็นการประชุมฯ เพื่อให้บุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ได้มีโอกาสนำเสนอข้อมูลเอกสารสำคัญในพื้นที่ ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คนไทยตื่นตัวเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์เอกสารสำคัญ และจะรวบรวมข้อมูลเสนอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานมรดกความทรงจำแห่งโลกประเทศไทย เพื่อพิจารณาขึ้นทะเบียนเอกสารมรดกความทรงจำแห่งชาติ และหากเอกสารใดมีคุณค่าสูงยิ่งก็จะเสนอให้องค์การยูเนสโกขึ้นทะเบียนเป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลกต่อไป |
18/12/2560 |
สัมพันธภาพในครอบครัวกับการพัฒนาประสิทธิภาพสมาชิกของสังคม ดร.โสภา ชูพิกุลชัย ชปีลมันน์ นายกราชบัณฑิตยสภา
|
12/12/2560 |
วันอังคารที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๓๐๑-๓๐๓ ชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีการประชุมสำนักศิลปกรรม ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๐ โดยมีการบรรยายผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก จำนวน ๒ เรื่อง คือ ๑. เรื่อง นาฏกรรมญี่ปุ่น Noh โดย ศาสตราจารย์ ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ ราชบัณฑิต และ ๒. เรื่อง ศิลปะจากแดนประหาร โดย ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต |
06/12/2560 |
วันพุธที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เวลา ๑๓.๓๐ น. ณ ห้องประชุม ๔๐๑-๔๐๓ ชั้น ๔ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีการประชุมสำนักวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๐ โดยมีการบรรยายผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก จำนวน ๓ เรื่องด้วยกันคือ ๑. เรื่อง ดนตรีบำบัด สำหรับชะลอความจำเสื่อม โดย ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต และ ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ภาคีสมาชิก ๒. เรื่อง วัสดุผสมซีเมนต์และคอนกรีตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดย ศ. ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ ภาคีสมาชิก และ ๓. เรื่อง การรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ โดย ศ. ดร.ปารเมศ ชุติมา ภาคีสมาชิก |
06/12/2560 |
สังคมสูงวัย…ความท้าทายประเทศไทย นายอนันต์ อนันตกูล ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
|
06/12/2560 |
การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เสนอโดย ศาสตราจารย์สุดาศิริ วศวงศ์ ภาคีสมาชิก ประเภทวิชานิติศาสตร์ สาขาวิชากฎหมายสังคม เสนอต่อที่ประชุมราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสภา วันพุธที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๐
หลายรัฐบาลที่ผ่านมามีความพยายามที่จะจัดการแก้ไขปัญหาการทำงานของคนต่างด้าวที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการลักลอบเข้าเมืองมาโดยผิดกฎหมาย การทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน การทำงานไม่ตรงตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาตทำงาน ฯลฯ โดยกำหนดให้มีการขออนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามความตกลงร่วมมือกันโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือนายจ้างอาจนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานกับตนเองได้โดยผ่านกระบวนการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ รวมทั้งการขออนุญาตทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายของคนต่างด้าว ตลอดจนการส่งคนต่างด้าวกลับไปยังประเทศต้นทางเมื่อไม่ได้ทำงานกับนายจ้างแล้ว
กฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวที่ใช้บังคับมาก่อนหน้านี้ คือพระราชบัญญัติช่วยอาชีพและวิชาชีพฉบับที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๘๔ และฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๕ เพื่อกำหนดอาชีพและวิชาชีพบางประเภทไว้เป็นการเฉพาะสำหรับคนไทย เช่น การทำ หรือการหล่อพระพุทธรูป การทำนา การตัดผม ฯลฯ บุคคลอื่นที่มิใช่คนไทยจะประกอบอาชีพเหล่านี้ไม่ได้ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้มีการตราพระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. ๒๔๙๙ ขึ้นมาใช้บังคับ เพราะเห็นว่าในพระราชบัญญัติช่วยอาชีพและวิชาชีพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๔๘๕ นั้นใช้บังคับเฉพาะโรงงานเท่านั้น แต่กิจการอื่นมิได้กำหนดบังคับเอาไว้ด้วย อีกทั้งยังไม่มีวิธีการอันรัดกุมสำหรับทำการตรวจสอบ จึงได้ตราพระราชบัญญัติสงเคราะห์อาชีพแก่คนไทย พ.ศ. ๒๔๙๙ ขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือคนไทยให้มีงานอาชีพเป็นหลักเป็นฐานเพิ่มขึ้น โดยกำหนดให้บรรดา บริษัท ห้างหุ้นส่วน หรือเอกชน ต้องรับคนงานที่มีสัญชาติไทยเข้าทำงานอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าร้อยละห้าสิบ โดยเจ้าของสถานประกอบการที่มีคนงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไป จะต้องจัดให้มีทะเบียนคนงานเพิ่มไว้เป็นประจำ ณ สำนักงานหรือสถานประกอบการนั้น เพื่อที่เจ้าหน้าที่จะได้ตรวจดูได้ว่ามีจำนวนคนงานครบถ้วนตามที่ระบุไว้หรือไม่ เป็นการสนับสนุนให้คนไทยได้มีงานทำในสถานประกอบการต่าง ๆ แต่ก็ยังคงมีอาชีพที่สงวนไว้ให้คนไทยทำโดยเฉพาะเพียงแค่ ๑๗ อาชีพเท่านั้น ผู้บริหารประเทศในขณะนั้นเห็นว่าอาชีพที่สงวนไว้ให้คนไทยทำนั้นยังไม่เพียงพอเพราะปรากฏว่ายังมีคนต่างด้าวทำงานต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อาชีพที่สงวนไว้เป็นจำนวนมาก และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวอย่างแท้จริง จึงมีความคิดที่จะตรากฎหมายควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวขึ้น โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้เดินทางไปต่างประเทศและได้เห็นกฎหมายที่ควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ อเมริกา สิงคโปร์ มาเลเซีย ฯลฯ จึงได้มีคำสั่งให้ดำเนินการร่างกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๓ แต่ก็มีปัญหาทางการเมืองหลายประการที่ทำให้ร่างกฎหมายนั้นยังไม่สมบูรณ์ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๕ จอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติในขณะนั้น ได้ประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวขึ้นเป็นครั้งแรก คือประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๒๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ โดยมีเจตนารมณ์เพื่อสงวนอาชีพให้คนไทยทำ ป้องกันคนต่างชาติเข้ามาแย่งอาชีพคนไทย จึงได้สงวนอาชีพไว้ให้คนไทย ๓๙ อาชีพ ทำให้คนไทยไม่ต้องถูกแย่งอาชีพโดยคนต่างด้าว แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้กีดกันการทำงานของคนต่างด้าวซึ่งมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยก่อนที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ โดยให้โอกาสคนต่างด้าวดังกล่าวมายื่นขอรับใบอนุญาตภายในเก้าสิบวัน หลังจากเก้าสิบวันแล้ว คนต่างด้าวจะทำงานได้เฉพาะอาชีพที่ไม่ได้กำหนดห้ามไว้เท่านั้น และกำหนดให้คนต่างด้าวที่จะทำงานไม่ว่าจะได้รับค่าจ้างหรือไม่ ต้องขออนุญาตต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐก่อนเพื่อพิจารณาอนุญาตตามความเหมาะสม แต่กฎหมายฉบับนี้ก็ต้องถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ เนื่องจากยังครอบคลุมไปไม่ถึงคนต่างด้าวบางประเภท เช่น คนต่างด้าวที่เข้าเมืองมาโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะเมื่อคนต่างด้าวเหล่านี้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรแล้วถ้าไม่ประกอบอาชีพเลยก็จะเป็นภาระหนักของรัฐบาลที่จะต้องให้การเลี้ยงดู จึงเห็นสมควรที่จะเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวเหล่านี้ทำงานได้ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล ประกอบกับประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๓๒๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ มีข้อจำกัดบางประการที่ไม่สอดคล้องกับภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ จึงได้ตราพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ขึ้นใช้บังคับ พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ยังคงมีเจตนารมณ์ที่จะสงวนอาชีพไว้ให้คนไทยเช่นเดิม จึงกำหนดกฎกระทรวงสงวนอาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ๓๙ อาชีพไว้ตามเดิม แต่พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้กำหนดบทบัญญัติที่ควบคุมการทำงานของคนต่างด้าวบางประเภทเพิ่มขึ้น เช่น คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย คนต่างด้าวที่ถูกเนรเทศ ฯลฯ ไว้ด้วย และให้โอกาสแก่คนต่างด้าวที่เข้ามาลงทุนหรือเข้ามาดูแลกิจการของคนต่างด้าวในระดับบริหารสามารถที่จะทำงานได้ เพื่อให้สอดคล้องกับประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๘๑ ลงวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ เรื่องการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว แต่ในขณะเดียวกันก็ยังต้องคำนึงถึงการที่คนไทยต้องมีงานทำด้วย จึงได้กำหนดว่าคนต่างด้าวจะทำงานได้ต่อเมื่อได้ผ่านการพิจารณา และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวแล้วเท่านั้น ซึ่งคณะกรรมการพิจารณาการทำงานของคนต่างด้าวจะพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานก็ต่อเมื่อเห็นว่างานนั้นมิได้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำและเป็นงานที่คนไทยยังไม่มีความรู้ความสามารถดีพอที่จะทำได้เท่ากับคนต่างด้าวนั้น ถ้างานใดยังมีคนไทยซึ่งสามารถจะทำงานได้ก็จะไม่พิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวทำเด็ดขาด และยังได้มีการให้อำนาจที่จะกำหนดเงื่อนไขให้คนต่างด้าวซึ่งจะทำงานในราชอาณาจักรต้องปฏิบัติไว้ด้วย เช่น คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานจะต้องฝึกสอนคนไทยเพื่อให้คนไทยมีความรู้ความสามารถเพียงพอที่จะทำงานแทนคนต่างด้าวนั้นต่อไปได้ด้วย ต่อมา เมื่อสภาพเศรษฐกิจและค่าของเงินตราได้เปลี่ยนแปลงไป ทำให้อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ ที่ใช้อยู่ในขณะนั้นไม่เหมาะสม จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๔ ขึ้นเพื่อปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป บทบัญญัติเกี่ยวกับการทำงานของคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไปแล้วก็เริ่มที่จะไม่สอดคล้องกับลักษณะการเคลื่อนย้ายแรงงานในระบบเศรษฐกิจโลกในขณะนั้นประกอบกับการที่แรงงานต่างด้าวเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงระบบการทำงานของคนต่างด้าวให้เหมาะสม รัดกุม ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้แรงงาน และความมั่นคงปลอดภัยของประเทศด้วย จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวขึ้นมาใช้บังคับใหม่ คือพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ในพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ มีบทบัญญัติบางประการที่ไม่เคยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๒๑ มาก่อนเพิ่มขึ้น เช่น บทบัญญัติที่เกี่ยวกับกองทุนเพื่อการส่งคนต่างด้าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักร บทบัญญัติเกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งมีภูมิลำเนาหรือเป็นคนสัญชาติของประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศไทยทำงานได้ เป็นต้น ตลอดจนได้แก้ไขบทกำหนดโทษ และอัตราค่าธรรมเนียมในพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. ๒๕๕๑ ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบันมากขึ้น |
06/12/2560 |
จิตวิทยาสังคม : ความหมาย ขอบข่าย และงานวิจัยเรื่องการหนุนจากสังคมและการอู้งานในกลุ่ม รองศาสตราจารย์ ดร. ธีระพร อุวรรณโณ ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
|
06/12/2560 |
วันพุธที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ณ ห้องประชุม ๕๐๑-๕๐๒ ชั้น ๕ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีการประชุมสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ครั้งที่ ๒๓/๒๕๖๐ โดยมีการบรรยายผลงานทางวิชาการของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก จำนวน ๒ เรื่องด้วยกันคือ เรื่อง เหตุผลนิยมกับคตินิยมไทย โดย ศ. ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก และเรื่อง มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์กับงานสังคมสงเคราะห์ โดย นางสุนันท์ ไทยลา ภาคีสมาชิก |
13/09/2560 |
๏ วันอังคารที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช) ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร สรุปความได้ว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นพระสูตรแรกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลังจากตรัสรู้แล้ว ชาวพุทธทั่วไปทั้งพระสงฆ์และคฤหัสถ์ต่างให้ความสำคัญกับพระสูตรนี้มาก จึงค่อนข้างจะรู้จักพระสูตรนี้กันทั่วไป และนิยมใช้เป็นบทสวดมนต์ในงานพิธีสำคัญ ๆ เช่น งานวันเกิดปรกติ งานวันเกิดครบรอบนักษัตร งานพุทธาภิเษก พระสงฆ์ที่ได้รับนิมนต์ไปในงานเหล่านี้ก็จะสวดมนต์บทนี้เป็นหลัก แต่ส่วนใหญ่แม้จะท่องจำได้หรือสวดได้ แต่ก็ไม่เข้าใจเนื้อหาของพระสูตรนี้กันมากนัก แม้พระสงฆ์ทั่วไปก็เช่นกัน นอกจากพระสงฆ์ที่ศึกษาภาษามคธมาแล้วถึงจะสามารถแปลความได้ แต่หากไม่สนใจเนื้อหาก็ไม่อาจเข้าใจประเด็นความได้เช่นกัน การนำเสนอพระสูตรนี้ขึ้นมาก็เพื่อให้เกิดความเข้าใจในเนื้อหาระดับหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องหลักที่สำคัญในพระพุทธศาสนาเรื่องหนึ่ง และเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่าเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงพระสูตรนี้เป็นครั้งแรก และเหตุใดผู้ฟังคือปัญจวัคคีย์ เมื่อฟังจบแล้วจึงได้แค่ดวงตามเห็นธรรม ได้บรรลุธรรมเบื้องต้นคือโสดาปัตติผล เป็นพระโสดาบันเท่านั้น ไม่ได้บรรลุธรรมระดับสูงคืออรหัตผลเป็นพระอรหันต์อย่างที่ควรจะเป็น เพราะเป็นเทศน์กัณฑ์แรกซึ่งสำคัญมาก ทั้งที่ปัญจวัคคีย์ก็มิใช่บุคคลธรรมดา หากแต่ได้ติดตามและเรียนรู้ลัทธิคำสอนของดาบสต่าง ๆ ในยุคนั้นมาเคียงคู่กับพระพุทธเจ้า มีปัญญาฉลาดไม่น้อยเช่นกัน การวิเคราะห์เรื่องนี้ย่อมทำให้เกิดแนวคิดใหม่สำหรรับชาวพุทธส่วนหนึ่งที่ผิดหวังว่า เทศน์กัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าไม่อาจทำให้ผู้ฟังเป็นพระอรหันต์ได้ ไม่เหมือนเทศกัณฑ์หลัง ๆ แม้ผู้ฟังจะเป็นผู้ไม่สนใจเรื่องธรรมมาก่อนก็ยังสามารถบรรลุธรรมระดับสูงได้ ผศ. ดร.เลิศศิริร์ บวรกิตติ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การระบายออกอิสระทางศิลปกรรม สรุปความได้ว่า การบรรยายครั้งนี้กล่าวถึงเครื่องมือและวิธีการที่ใช้ในการทำจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ตามแนวคิดของซิกมันด์ ฟรอยด์ ซึ่งมีอิทธิพลต่อศิลปะคติเซอร์เรียลลิสส์หรือลัทธิศิลปะเหนือสัจจนิยม (Surrealism) โดยผู้บรรยายได้ใช้เครื่องมือนี้ในกระบวนการศิลปะบำบัดอย่างมีประสิทธิผลตลอดมา ศิลปบำบัด : การวาดภาพ การปั้น หรือการทำศิลปะสร้างสรรค์ในวิธีต่าง ๆ ได้ถูกนำไปใช้เป็นกระบวนการร่วมในจิตบำบัด เป้าหมาย : เพื่อสืบค้นปัญหาความคับข้องใจ ความวิตกกังวลที่กดเก็บไว้ในจิตใต้สำนึกหรือจิตไร้สำนึก วิธีการ : จิตวิเคราะห์ตามแนวคิดของซิกมันด์ ฟรอยด์ ด้วยวิธีแบบ Free Association ความหมายของ “การระบายออกอิสระ” ตามพจนานุกรม American Heritage ภาษาอังกฤษ พ.ศ.๒๕๕๙ มีดังนี้ ๑. A spontaneous, logically unconstrained and undirected association of ideas, emotions, and feelings. เป็นความคิด อารมณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นเอง ไร้การเชื่อมโยงใด ๆ ๒. A psychoanalytic technique in which a patient’s articulation of free associations is encouraged in order to reveal unconscious thoughts and emotions, such as traumatic experiences that have been repressed. เทคนิคที่เสนอให้ผู้ป่วยเล่าประสบการณ์รุนแรงต่างๆ ที่กดเก็บไว้ในจิตไร้สำนึก โดยไม่ต้องนึกคิด การระบายออกอิสระ” ส่งอิทธิพลต่อ “ภาวะอัตโนมัติ” (automatism) ในงานด้านวรรณศิลป์และวิจิตรศิลป์ของศิลปะคติเซอร์เรียลลิสส์ ภาวะอัตโนมัติเป็นกระบวนการเขียน ระบายสี วาดภาพ หรือการระบายอย่างอิสระไร้การคิดคำนึง (automatism is the process of writing, painting, drawing, or speaking automatically without conscious thought) ฟรอยด์อธิบายว่า “การระบายออกอิสระ” คือ การระบายออกอย่างต่อเนื่องกันทางความคิด หรือ อ็องเดร เบรอตง (Andre Breton) ศิลปินเซอร์เรียลลิสต์ชาวฝรั่งเศส กล่าวใน Manifesto of Surrealism (พ.ศ.๒๔๖๗) ว่า ศิลปะคติเซอร์เรียลลิสส์เกี่ยวกับภาวะอัตโนมัติแห่งจิตขั้นบริสุทธิ์ เป็นอิสระจากการคิดไตร่ตรอง และหลักสุนทรียศาสตร์และศีลธรรม ศิลปินวาดสิ่งที่ลอยเข้ามาในความคิดโดยไม่ต้องสนใจเหตุผลตรรกะใด ๆ เนื้อหาและสัญลักษณ์ต่าง ๆ ผุดมาจากจิตไร้สำนึก ผู้บรรยายใช้ “การระบายออกอิสระ” เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์สภาพจิตใจผ่านกระบวนการวาดภาพอิสระ (free drawing) วาดอะไรก็ได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเชื่อมโยงของสัญลักษณ์ในภาพ องค์ประกอบของภาพ ทัศนธาตุต่าง ๆ และพฤติกรรมขณะทำกิจกรรมถูกบันทึกและนำมาวิเคราะห์ร่วมกัน ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ศ. ดร.สันติ เล็กสุขุม ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ลายพระหัตถ์สมเด็จครู (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์) สรุปความได้ว่า ลายพระหัตถ์ “สมเด็จครู” ว่าด้วยชื่องานช่าง ลักษณะความหมาย ผู้บรรยายเลือกคัดลอกมาพร้อมจัดหาภาพประกอบโดยเติมข้อชี้แจงไว้ในภาพเพื่อน้อมรับข้อคิด คำขยายความเพิ่มเติม หรือความเห็นแตกต่างก็ตาม อันเป็นการสร้างเสริมความงอกงามทางวิชาการ ดังนี้ “…ถ้าเปนเรือนยอดขนาดใหญ่ที่คนเข้าไปได้หลายคน เรียกว่า มณฑป ถ้าประกอบมุขเข้าเรียกว่า ปราสาท ถ้ามีแต่ยอดขนาดเล็กคนเข้าได้คนเดียวหรือเข้าไม่ได้เลยเรียกว่า บุษบก แต่ที่จริง เปนสิ่งเดียวกัน” (ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระยาอนุมานราชธน (เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๘๒). บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๒๑, หน้า ๙๗). “มณฑป กับ บุษบก นั้นเปนอย่างเดียวกัน ต่างแต่ขนาดเปนใหญ่กับเล็ก แถมปราสาทเข้าด้วย ถ้ามีมุขก็เรียกปราสาท จะเหนได้จากหลังคาปราสาทว่าเป็นเรือนชั้น ถ้าดูปราสาทพม่าแล้วจะเหนได้ เพราะเขาไขชั้นสูงมีบัญชรด้วย ของเราย่นชั้นลงมาจนทำให้ฝาหายไป…” (ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระยาอนุมานราชธน (เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน ๒๔๘๕). บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๒๑, หน้า ๒๐๙). “ปราสาท มาแต่เรือนชั้น ไม่จำต้องเปนยอดแหลม จะเปนหลังคาตัดก็ได้ ยอดแหลมนั้นมีคำต่างหากว่า กูฏาคาร ปรางค์ ก็เปนปราสาทเหมือนกัน กลีบขนุนนั้นคือ นาคปักบรรพแถลง แต่ทำให้ทรงก่งออก เพราะทรงปรางค์เองก่ง ที่ทำทรงก่งก็เพราะจะให้ก่อได้ไม่พัง เขมรเขาคิดก่อน เอาอย่างเทวสถานอินเดีย แล้วเราจำเอามาอีกต่อหนึ่ง นี่ก็เปนเดา แต่เดามีทางไป ส่วนกลีบขนุนนั้นเปน นาคปักบรรพแถลง แน่ เห็น (เหน) ได้จากปรางค์เก่า”(ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระยาอนุมานราชธน (เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๔๘๕). บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๕ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๒๑, หน้า ๒๐๘). “บันใหญ่ บันแถลง บัน เคยเขียน บรรพ คำ บรรพใหญ่ เปนคำของกวี บรรพแถลงเปนคำของช่าง ถ้าช่างเขาเรียกก็จะต้องว่า บรรพแถลง ตัวใหญ่ตัวเล็ก ที่ใช้ ตัว นั้น ไม่ว่าสิ่งใดที่ช่างไม้เขาทำขึ้น เรียกว่า ตัว ทั้งสิ้น มาแต่ ตัวไม้ ท่านคงอยากทราบว่า ทำไมจึ่งใช้จั่วเล็ก ๆ เปนเครื่องประดับบุษบก ทั้งมณฑปและปราสาทด้วย จะบอกให้เข้าใจว่าจั่วเล็ก ๆนั้นคือซุ้มหน้าต่าง บรรดาเครื่องยอดทั้งหลายมาแต่เรือนชั้นทั้งนั้น… คำว่า บรรพ นั้นก็แสดงอยู่ในตัวแล้วว่าเปนจั่ว แต่คำ แถลง นั้นไม่ทราบ…” (ลายพระหัตถ์ของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ประทานพระยาอนุมานราชธน (เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๔๘๒). บันทึกเรื่องความรู้ต่าง ๆ เล่ม ๓ (พิมพ์ครั้งที่ ๒). บริษัท สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด, ๒๕๒๑, หน้า ๙๖-๙๗). |
13/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ศ. ดร.จงรักษ์ ผลประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การผลิตถ่านไฮโดรจากสิ่งปฏิกูลโดยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน สรุปความได้ว่า สิ่งปฏิกูลเป็นของเสียที่มีค่ามลพิษสูง ประกอบด้วย สารอินทรีย์ และเชื้อโรค ปัจจุบันสิ่งปฏิกูลที่เทศบาลต่างๆในประเทศไทยเก็บจากอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ถูกปล่อยทิ้งในหลุมฝังกลบ พื้นที่การเกษตร และแหล่งน้ำ ซึ่งก่อให้ปัญหาที่สำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ประมาณร้อยละ ๓๐ ของสิ่งปฏิกูลถูกบำบัดโดยการหมักแบบไม่ใช้ออกซิเจน และลานตากตะกอน ซึ่งวิธีการเหล่านี้ยังไม่เพียงพอในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน (Hydrothermal carbonization) เป็นกระบวนการทางเคมีความร้อน (Thermo-chemical process) ที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสารชีวะมวล (Biomass) ที่มีความชื้นสูงให้กลายเป็นสารประกอบคาร์บอนที่เรียกว่า ถ่านไฮโดร (Hydrochar) โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แรงดันสูง (๒๐-๖๐ บาร์) ที่อุณหภูมิปานกลาง (๑๘๐-๒๕๐ องศาเซลเซียส) วิธีการนี้สามารถนำมาใช้กับสารชีวะมวลได้หลากหลายประเภทซึ่งรวมถึงสิ่งปฏิกูลด้วย นอกจากนี้ ถ่านไฮโดรที่ผลิตได้ยังสามารถนำมาใช้งานในด้านๆ ทั้งในกระบวนการผลิต การเกษตร และอุตสาหกรรมเคมี เช่น ใช้เป็นเชื้อเพลิง ตัวเก็บพลังงาน ปรับปรุงคุณภาพดิน ตัวดูดซับในการกรองน้ำ และตัวเร่งปฏิกิริยา จากผลการทดลองผลิตถ่านไฮโดรจากสิ่งปฏิกูลโดยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชัน ที่อุณหภูมิ ๒๕๐ องศาเซลเซียส เป็นเวลา ๕ ชั่วโมง พบว่าอัตราผลผลิตของถ่านไฮโดรประมาณร้อยละ ๗๐-๗๕ ของสิ่งปฏิกูลแห้ง และปริมาณพลังงานความร้อนของถ่านไฮโดรประมาณ ๑๙-๒๐ เมกะจูลต่อกิโลกรัม ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับถ่านหินธรรมชาติ เช่น ลิกไนต์ ดังนั้นถ่านไฮโดรที่ผลิตได้จึงสามาถนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการเผาไหม้ทั่วไปได้ จากกรณีศึกษาโรงบำบัดสิ่งปฏิกูลของเทศบาลนครนนทบุรี พบว่า สิ่งปฏิกูลประมาณ ๙,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตรต่อปี ถูกบำบัดโดยถังหมักและลานตากตะกอนสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ ๗๒ ตันต่อปี สร้างรายได้ให้กับเทศบาลนครนนทบุรี ประมาณ ๒๑๖,๐๐๐ บาทต่อปี ในขณะที่ เมื่อพิจารณามาใช้การบำบัดโดยกระบวนการไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชั่น พบว่า สามารถผลิตถ่านไฮโดรได้ประมาณ ๓๓๗ ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาทต่อปี ดังนั้น ไฮโดรเทอร์มอลคาร์บอนไนเซชั่นจึงเป็นกระบวนที่เหมาะสมและควรนำมาพิจารณาในการใช้บำบัดสิ่งปฏิกูลและผลิตถ่านไฮโดรให้มีมูลค่าสูง ศ. ดร.สมศักดิ์ ดำรงค์เลิศ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การผลิตท่อนาโนคาร์บอนในฟลูอิไดซ์เบดบนตัวเร่งโคบอล สรุปความได้ว่า ท่อนาโนคาร์บอนถูกผลิตในคอลัมน์สร้างด้วยสแตนเลส ๓๐๔ มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕๐ มิลลิเมตร สูง ๑,๐๐๐ มิลลิเมตร ใช้โคบอลเป็นตัวเร่งปฎิกิริยาเคลือบบนอะลูมินามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ย ๘๑.๔ ไมโครเมตร เป็นโคบอลที่ว่องไวปริมาณร้อยละ ๓.๓ โดยน้ำหนักซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖.๑ นาโนเมตร ใช้วิธีทำตัวเร่งปฏิกิริยาให้ว่องไวโดยการอบด้วยความร้อนที่อุณหภูมิ ๔๕๐ องศาเซลเซียสในบรรยากาศของแก๊สไฮโดรเจน จากนั้นป้อนแก๊สผสมด้วยอัตราการป้อนปริมาณแก๊สเอทีลีนต่อไฮโดรเจนต่อไนโตรเจนเท่ากับ ๔๐๐:๒๐๐:๒๐๐ ลูกบาศก์เซ็นติเมตรต่อนาทีเข้ามาทางด้านล่างของคอลัมน์ทำให้เม็ดตัวเร่งจะอยู่ในสภาวะฟลูอิไดเซชัน สภาวะที่เหมาะสมสำหรับเบดที่มีตัวเร่งปฏิกิริยานี้ ต้องใช้อุณหภูมิในเบด ๖๐๐ องศาเซลเซียส เวลาดำเนินงาน ๖๐ นาที สัดส่วนความเข้มข้นของแก๊สเอทีลีน ๐.๕๐ สามารถผลิตท่อนาโนคาร์บอนได้ร้อยละ ๕๘.๖ ๏ วันพุธที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ศ. ดร.สมชาติ โสภณรณฤทธิ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง เส้นทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สรุปความได้ว่า บทความนี้กล่าวถึงแนวทางการจัดการเส้นทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในภาคธุรกิจอุตสาหกรรม สำหรับกลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหลัก แต่ก็อาจใช้กับกลุ่มสาขาวิชาอื่นได้ อาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในปัจจัยทั้งหมดที่มีอยู่ห้าปัจจัย อาจารย์มีหน้าที่หลักสองประการ คือ สอนและวิจัย ผลงานวิจัยที่ดีจะต้องมีศักยภาพที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และต้องสามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในแหล่งตีพิมพ์คุณภาพสูง แนวทางการทำงานวิจัยที่ดีต้องมีความเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัย/กลุ่มวิจัยกับผู้มีส่วนได้เสีย โดยมีการพบปะหารือร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ มีกิจกรรมการวิจัยต่างๆ ที่เหมาะสม ที่ขับเคลื่อนบนฐานของความรู้สึกของความเป็นหุ้นส่วนการวิจัยของบุคคลากรในกลุ่มวิจัย เพื่อให้งานวิจัยของประเทศมีความก้าวหน้า อาจารย์ ผู้บริหาร สภาสถาบันอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และหน่วยงานให้ทุนสนับสนุนการวิจัย ต้องทำหน้าที่ของตนเองให้ ครบถ้วน เหมาะสมที่สุด ศ. ดร.ปรีดา วิบูลย์สวัสดิ์ ราชบัณฑิต, ศ. ดร.สวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ราชบัณฑิต และ ศ. ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ ราชบัณฑิต ร่วมบรรยายเรื่อง ความชรา ความจำเสื่อม กับ ดนตรี สรุปความได้ดังนี้ ระเบียบของราชบัณฑิตสภา
ความจำเสื่อมของผู้สูงวัย
วิธีชะลอความจำเสื่อม
การเล่นดนตรี
ข้อเสนอแนะ
ตัวอย่าง เพลงคลาสสิก ที่มีจังหวะช้า
|
13/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ผศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก บรรยาย เรื่อง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในฐานะพระมานุษิโพธิสัตว์ (พระโพธิสัตว์ในกายมนุษย์) สรุปความได้ว่า พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเป็นพระราชาที่ประเสริฐสุดของไทยพระองค์หนึ่ง ทรงใช้พระบารมีธรรมปกครองบ้านเมืองได้สอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” คนไทยเชื่อกันว่าพระองค์เสด็จจุติจากสวรรค์ลงมาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อช่วยบ้านเมืองให้พ้นวิกฤติในยามคับขันเหมือนอย่างที่ศาสนาฮินดูนิยมเรียกบุคคลสำคัญที่ลงมาเกิดแล้วช่วยแก้ปัญหาของสังคมได้ว่า “อวตาร” เมื่อประทับอยู่ได้ระยะเวลาหนึ่งก็เสด็จสวรรคต คือ เสด็จกลับไปสู่สวรรค์สถานเดิมของพระองค์ เพราะเหตุที่พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงใช้พระบารมีธรรมในการปกครองบ้านเมืองอย่างเดียวกับที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมี จึงสมควรที่พระองค์จะได้รับการขนานพระเนมิตกนามว่า พระโพธิสัตว์เจ้า ตามทฤษฎีตายแล้วเกิดในพระพุทธศาสนา คนหรือสัตว์นั้นตายแล้วเกิดทันทีหลังตายในสภาพที่เป็นโอปปาติกะ คือ มีร่างกายเป็นตัวตนสมบูรณ์อยู่ในสภาพกายทิพย์ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเนื้อ มีประสาทสัมผัสครบทางตาหูจมูกลิ้นกาย แต่มีศักยภาพสูงกว่าเมื่อครั้งอยู่ในกายมนุษย์ มีวิญญาณคือการรับรู้ต่าง ๆ คือการเห็นรูปได้ยินเสียงรับรู้กลิ่นรับรู้รสและรับรู้สัมผัสทางกายได้ มีเจตสิกต่าง ๆ คือ เวทนา สัญญา สังขาร ตามทฤษฎีนี้ พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงเกิดใหม่แล้วในสภาพโอปปาติกะที่ยิ่งใหญ่มีสถานะเป็นเทวดาชั้นสูง เพราะเชื่อมั่นในสภาพจิตของพระองค์ที่ทรงคุ้นเคยกับความดีมาตลอด ก่อนสวรรคตจึงน่าจะถูกปรุงแต่งด้วยกุศลเจตสิกให้มีพระราชดำริเป็นมหากุศลแล้วทรงอุบัติในสวรรค์ชั้นยิ่งใหญ่ ๏ วันพุธที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ศ.อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ๕๐๐ ปี โคลงนิราศหริภุญชัย : คุณค่าและความทรงจำ สรุปความได้ว่า โครงนิราศหริภุญชัย เป็นวรรณกรรมล้านนาโบราณ แต่งเมื่อพุทธศักราช ๒๐๖๐ ตรงกับรัชสมัยของพญาเมืองแก้ว (พ.ศ. ๒๐๓๘-๒๐๖๘) กษัตริย์ล้านนา-เชียงใหม่ ราชวงศ์มังราย ลักษณะคำประพันธ์แต่งเป็นโคลงล้านนาโบราณ จำนวน ๑๘๐ บท จารลงใบลานและบันทึกลงในพับสา ด้วยอักษรไทยนิเทศ และอักษรธรรมล้านนา (ตัวเมือง) ต้นฉบับมีหลายฉบับ แต่ละฉบับมีทั้งความเหมือนและแตกต่างกันบ้าง เนื้อหากล่าวถึงการพลัดพรากจากนางอันเป็นที่รัก ผู้แต่งได้เดินทางจากเมืองเชียงใหม่ไปนมัสการพระธาตุหริภุญชัยในเมืองลำพูนด้วยขบวนเกวียน เริ่มออกจากวัดพระสิงห์ในเมืองเชียงใหม่ ผ่านสถานที่สำคัญต่าง ๆ และพักค้างคืนที่ตลาดต้นไร ๑ คืน เมื่อได้ไปนมัสการพระธาตุหริภุญชัย ในเมืองลำพูนแล้ว พักแรมในเมืองลำพูน ๑ คืน แล้วเดินทางกลับเชียงใหม่ คุณค่าของโครงนิราศหริภุญชัยมีอยู่หลายด้าน ดังนี้ ๑. คุณค่าด้านภาษา โครงนิราศหริภุญชัยเป็นวรรณกรรมโบราณอายุ ๕๐๐ ปี ภาษาที่ใช้คือภาษาล้านนาโบราณ ซึ่งผู้สนใจภาษาโบราณสามารถนำไปศึกษาหารากหรือที่มาของคำในภาษาล้านนาปัจจุบันได้ ๒. คุณค่าด้านประวัติศาสตร์ โครงนิราศหริภุญชัยบันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อน ช่วยสะท้อนให้เห็นความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีต การคมนาคม วัฒนธรรม ประเพณี ตลอดจนคติความเชื่อ ๓. คุณค่าด้านวรรณกรรมท้องถิ่น โครงนิราศหริภุญชัยสะท้อนถึงจารีตในการเขียนวรรณกรรมล้านนาโบราณได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นแบบอย่างต่อวรรณกรรมนิราศสมัยต่อ ๆ มาด้วย ๔. คุณค่าด้านโบราณคดี โครงนิราศหริภุญชัยช่วยให้ผู้ศึกษาสามารถตรวจสอบเรื่องราวและที่ตั้งของวัดในเมืองเชียงใหม่สมัยโบราณ ตลอดจนสถานที่ต่าง ๆ ที่ผู้แต่งวรรณกรรมได้กล่าวถึง ๕. คุณค่าด้านการผังเมือง โครงนิราศหริภุญชัยสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารจัดการน้ำในเมืองเชียงใหม่ในอดีตไว้อย่างดี เช่น หนองน้ำ คลองระบายน้ำ คลองที่ใช้คมนาคม ถนน กำแพง สุสาน นอกจากนี้ โครงนิราศหริภุญชัยยังทำให้คนรุ่นหลังได้เข้าใจถึงผู้คน สังคม วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อในอดีต ซึ่งตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทราบว่าสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวถึงเมื่อ ๕๐๐ ปีก่อนนั้น ได้สืบทอดมาสู่ปัจจุบัน เช่น การชลประทานในตัวเมืองเชียงใหม่ วัดในเมืองเชียงใหม่ ผีอารักษ์มังราย การเดินทางโดยขบวนเกวียนที่อลังการ ตำนานเมืองลำพูน มหรสพในสมัยโบราณ ความเชื่อของคนล้านนาโบราณ |
13/09/2560 |
๏ วันอังคารที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ.ผุสดี ทิพทัส ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง อาคารที่ได้รับการวิจารณ์ สรุปความได้ว่า อาคารที่ได้รับการวิจารณ์ในบทความนี้ เป็นการยกมาเป็นตัวอย่างเพียงบางอาคารและในบางประเด็นเท่านั้น การวิจารณ์จะมาจากสถาปนิกด้วยกันเองหรือมาจากเอกสารการวิเคราะห์จากผู้สนใจงานสถาปัตยกรรม รวมทั้งจากผู้ใช้อาคารเองโดยตรง ส่วนประเด็นที่นำมาวิจารณ์จะคัดเลือกมา ๙ ประเด็น ได้แก่ การพัฒนาสถาปัตยกรรมไทยประเพณีสู่แบบไทยประยุกต์และไทยร่วมสมัย เรื่องฐานานุศักดิ์ (Hierarchy) ในงานสถาปัตยกรรม การคำนึงในเรื่องเทศบัญญัติโดยเฉพาะเรื่องระยะร่นจากอาคารข้างเคียงและถนนรอบอาคาร ประเด็นเรื่องการนำสถาปัตยกรรมตะวันตกในอดีตมาใช้กับอาคารที่สร้างใหม่ก็มักจะเป็นเรื่องที่นำมาวิจารณ์กันมากพอสมควรในช่วงเวลาหนึ่ง ส่วนเรื่องการนำแนวคิดเรื่องคิวบิสม์ (Cubism) มาใช้กับอาคารแม้จะมีตัวอย่างน้อย แต่ก็เป็นการใช้กับอาคารที่มีการกล่าวถึงกัน ยังมีประเด็นที่เกี่ยวกับที่ว่าง (Space) ของอาคารและการนำระนาบทางแนวนอนและแนวตั้งมาใช้กับอาคารด้วย ส่วนประเด็นการใช้วัสดุและสีกับงานสถาปัตยกรรมก็มักได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน สำหรับประเด็นที่มีทั้งการชื่นชมและการติติงได้แก่ เรื่องสถาปัตยกรรมไม่ควรลอกอดีต แต่ควรออกแบบที่สื่อความหมายใหม่ขึ้น ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ควรได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ให้ลึกลงไป ศ. ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง โครงการพุทธศาสนาในวรรณกรรมโลก สรุปความได้ว่า โครงการวิจัย พุทธศาสนาในวรรณกรรมโลก เป็นโครงการวิจัยโดยศูนย์ความเป็นเลิศทางภาษาและวรรณคดี คณะอักษรศาสตร์ในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปีการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. ๒๕๕๓ และครบรอบ ๕๕ พระชนมพรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการในแผนพัฒนาวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยของเยอรมนี (Deutsche Forschungsgemeinschaft) โครงการวิจัยชุดนี้ค้นคว้าเรื่องการรับพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมโลก เน้นวรรณกรรมเยอรมันใน ”ยุคต้นสมัยใหม่” (The Early Modern Age) หมายถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ อันเป็นช่วงที่แนวคิดของศาสนาจากตะวันออกรวมทั้งปรัชญาตะวันออกเป็นที่สนใจมากในดินแดนเยอรมนี รวมทั้งมีผลงานแปลคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยนักวิชาการชาวเยอรมัน งานเขียนในสาขาปรัชญา ผลงานวรรณกรรม ทั้งที่เรียกได้ว่าเป็นวรรณกรรมพุทธ หรือวรรณกรรมและบทละครที่แทรกแนวคิด พระพุทธศาสนามากมาย โครงการวิจัยมีเนื้อหารวมถึงการรับพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมญี่ปุ่น และการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับอักษรสยามแก่สถาบันในยุโรปโดยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๔๐ (ค.ศ. ๑๘๙๗) ความสนใจในพระพุทธศาสนาของชาวยุโรปนั้นมีมานานแล้วทั้งในสมัยก่อนและสมัยปัจจุบันเราพบว่า พระพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมตะวันตก พบได้ในวรรณกรรมเยอรมันและวรรณกรรมของอีกหลายชาติหลายภาษาในเอเชีย จากการศึกษาวิจัยพบว่า ชาวยุโรปเริ่มรู้จักพระพุทธศาสนาตั้งแต่ช่วงสมัยพระเจ้ามิลินท์ คือ พระเจ้าเมนันโดรส กษัตริย์อินโด-กรีกผู้ครองอาณาจักรบักเตรียทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย พบในข้อเขียนที่รู้จักกันแพร่หลายคือ “มิลินทปัญหา” พระเจ้ามิลินท์ นับเป็นกษัตริย์ยุโรปพระองค์แรกที่เลื่อมใสในคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและได้อุปถัมภ์พุทธศาสนาในยุคสมัยของพระองค์ ส่วนในทวีปยุโรปนั้น พระพุทธศาสนาเริ่มเป็นที่รู้จักในยุคกลาง ตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ ๑๓ นอกจากนี้ เราพบว่า ในบรรดาชาวยุโรปทั้งหมด ชนเผ่าเยอรมันเป็นชนชาติที่สนใจพระพุทธศาสนามากที่สุดโดยเฉพาะในปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ การทำงานวิจัยในโครงการ พุทธศาสนาในวรรณวิจัยกรรมโลก เป็นการรับพระพุทธศาสนาในวรรณกรรมโลก เน้นวรรณกรรมเยอรมันใน ”ยุคต้นสมัยใหม่” (The Early Modern Age) หมายถึงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ต้นคริสต์ศตวรรษที่ ๒๐ และศาสตร์ทางศาสนาที่นักวิชาการชาวไทยจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับนักวิชาการชาวเยอรมันจากมหาวิทยาลัยในเยอรมนีและสหรัฐอเมริกาทำงานร่วมกันระหว่าง พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๗ ในการทำงานวิจัย ทางโครงการได้จัดสัมมนานานาชาติรวม ๓ ครั้ง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ๒ ครั้ง และที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน เยอรมนี ๑ ครั้ง มีสิ่งพิมพ์รวม ๔ เล่ม ภาษาอังกฤษสองเล่ม ภาษา เยอรมันหนึ่งเล่มและภาษาไทยหนึ่งเล่ม รวมบทความย่อยของนักวิจัยที่เสนอในการประชุมต่างประเทศอีกหลายบทความ กับปาฐกถาพิเศษสำหรับนักวิจัยและผู้สนใจเข้าฟังในวงแคบอีก ๓ ครั้ง ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ผลงานจิตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช สรุปความได้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีอัจฉริยภาพด้านศิลปะหลายสาขาทั้งด้านดนตรี ทัศนศิลป์ และงานช่าง เฉพาะด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์กันทั่วไป ส่วนงานจิตรกรรมประติมากรรมนั้น ไม่เป็นที่รับรู้กันกว้างขวางนัก แม้จะทรงงานไว้เป็นจำนวนมากก็ตาม พระองค์ทรงเริ่มศึกษาและฝึกฝนการเขียนภาพด้วยสีน้ำมันประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๒ ทรงศึกษาการเขียนภาพจากหนังสือศิลปะ และศิลปินอาวุโสของไทยสมัยนั้นถวายคำแนะนำ ทรงสร้างงานต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. ๒๕๐๙ มีผลงานจิตรกรรมได้มากกว่า๑๐๗ ภาพ ผลงานจิตรกรรมของพระองค์แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม กลุ่มที่ ๑ หรือช่วงแรกทรงฝึกฝนกลวิธีการเขียนภาพสีน้ำมันเบื้องต้น ทรงเขียนภาพเหมือนบุคคล (portrait) และหุ่นนิ่ง (still life) กลุ่มที่ ๒ ทรงเขียนภาพตามความรู้สึกของพระองค์แต่ยังคงแสดงลักษณ์ และกลุ่มที่ ๓ ทรงแสดงออกอย่างอิสระไร้รูป แต่ละกลุ่มมีความโดดเด่นแตกต่างกันไป ผลงานจิตรกรรมของพระองค์ปรากฏต่อสาธารณะชนครั้งแรก เมื่อพระราชทานให้จัดแสดงในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๔ พ.ศ. ๒๕๐๖ หลังจากนั้นได้พระราชทานผลงานจิตรกรรมในการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติอีกหลายครั้ง นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการศิลปะสมัยใหม่ของไทยอย่างอเนกอนันต์ทำให้งานศิลปะสมัยใหม่ได้รับการยอมรับมากขึ้น ผลงานจิตรกรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เป็นสิ่งมีค่ายิ่ง ทรงได้รับการถวายการยกย่องเป็น อัครศิลปิน พ.ศ. ๒๕๕๘ และกระทรวงวัฒนธรรมได้สร้างหออัครศิลปิน ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เพื่อจัดแสดงผลงานศิลปะของพระองค์ให้ ประชาชนได้ชื่นชมพระอัจฉริยภาพ (www.supremeartist.org) |
13/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ. ดร.พีระศักดิ์ ศรีนิเวศน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การสร้างพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ : ตัวอย่างในสบู่ดำ สรุปความได้ว่า แนวคิดเรื่องการสร้างพืชชนิดใหม่ เกิดขึ้นมาหลายปีแล้ว เพื่อปรับเปลี่ยนพืชธรรมดาที่พบอยู่ทั่วไปให้เป็นไม้ดอก-ไม้ประดับ ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่าพืชเดิม ตัวอย่างเช่น ได้มีการคัดเลือกต้นทานตะวันที่กลายพันธุ์ ทั้งที่กลายพันธุ์โดยธรรมชาติและที่มนุษย์ใช้รังสีหรือสารเคมีทำให้กลายพันธุ์ กลายเป็นต้นทานตะวันต้นเล็ก มีดอกขนาดเล็ก ดอกดกสีสวยงาม ทำเป็นไม้กระถางหรือจัดสวนหย่อม ไม้ดอก-ไม้ประดับอย่างอื่นที่ปกติเป็นพืชไร่ แต่มีผู้นำพันธุ์กลายไปผลิตจำหน่ายแล้ว ได้แก่ ละหุ่ง สับปะรดสี งา คำฝอย แต่พืชกลายพันธุ์ยังไม่ถือว่าเป็นการสร้างพืชชนิดใหม่ แต่เป็นการค้นพบลักษณะที่ยังไม่เคยพบในธรรมชาติ เพื่อใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สำหรับสบู่ดำซึ่งเป็นพืชน้ำมันที่มีศักยภาพใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิตไบโอดีเซลนั้น มีข้อดีที่สามารถผสมพันธุ์กับพืชชนิดอื่นได้อีกหลายชนิด (specie) ในสกุล Euphorbiaceae ด้วยกัน เป็นอีกแนวคิดหนึ่งในการสร้างพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ โดยก่อนจะเริ่มผสมพันธุ์ข้ามชนิด (interspecific hybridization) ก็จะต้องศึกษาเทคนิคการผสมพันธุ์ ทั้งวิธีการตรวจสอบความพร้อมของดอก การเตรียมดอกตัวเมีย ความงอกของเมล็ดที่ผสมข้ามชนิด ความเป็นหมันของลูกชั่วที่ ๑ เป็นต้น หลังจากนั้นจึงนำลูกที่ได้ โดยเฉพาะลูกชั่วที่ ๒ มาคัดเลือกจนกระทั่งได้เป็นสบู่ดำพันธุ์ประดับ และต้องศึกษาวิธีขยายพันธุ์และวิธีปลูกด้วย ในการผสมพันธุ์ข้ามชนิดอาจจะทำได้เพียงทางเดียว เช่น ต้องใช้ชนิดใดชนิดหนึ่งเป็นต้นแม่เสมอ บางครั้งเมล็ดร่วงก่อนกำหนดก็ต้องกู้ชีวิตเอ็มบริโอ (embryo rescue) พอได้ต้นลูกผสมแล้วเราอาจต้องตรวจสอบโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อยืนยันว่า ต้นที่ได้เป็นลูกผสมข้ามชนิดจริง หลังจากนั้นก็ต้องศึกษารุ่นลูก เช่นกรณีสบู่ดำ ลูกชั่วแรกอาจจะให้ดอกเพียงสองสี เช่น สีขาวหรือสีชมพู แต่ลูกที่เกิดจากการผสมตัวเองเพื่อผลิตต้นชั่วที่ ๒ ก็จะมีดอกหลายสีเพิ่มขึ้น ซึ่งโครงการปรับปรุงพันธุ์สบู่ดำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประสบผลสำเร็จในการสร้างลูกผสมลูกชั่วที่ ๒ ที่มีดอกสีต่าง ๆ รวมทั้งยังได้ศึกษาวิธีการขยายพันธุ์แบบต่าง ๆ ที่เหมาะสม โดยพบว่า สบู่ดำต้นใหญ่ สามารถผสมพันธุ์กับเข็มปัตตาเวียต้นแคระ กลายเป็นไม้ดอก-ไม้ประดับต้นเล็ก ปลูกลงกระถางได้ โครงการฯ จึงได้ขึ้นทะเบียนสบู่ดำลูกผสมข้ามชนิดถึงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกรมวิชาการเกษตร แล้ว ๖ พันธุ์ โดย ๓ พันธุ์ขึ้นทะเบียนกับ American Society for Horticultural Science ไว้ด้วย ซึ่งเมื่อส่งพันธุ์เหล่านี้ไปขึ้นทะเบียนกับทางสมาคมพืชสวนสหรัฐอเมริกา บรรณาธิการของวารสาร HortScience เห็นว่ามีดอกสวยงาม จึงได้ให้เกียรติขึ้นปกวารสาร ฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ อีกด้วย ๏ วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ. ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ ภาคีสมาชิก และ ดร.ชาติชาย ไวยสุระสิงห์ ศูนย์วิจัยโครงสร้างมูลฐานอย่างยั่งยืน ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกันบรรยายเรื่อง บทสรุปการพัฒนาสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำชุมชนในลุ่มน้ำชี สรุปความได้ว่า การพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำให้เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานให้กับประเทศ ลุ่มน้ำชีเป็นลุ่มน้ำที่สำคัญของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีศักยภาพในการการพัฒนาสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำชุมชน จึงได้มีการศึกษาหาแนวทางในการพัฒนาสถานีไฟฟ้าพลังงานน้ำชุมชนในลุ่มน้ำนี้ จากการประเมินศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำขนาดเล็กมาก (Micro Hydropower) ในพื้นที่ลุ่มน้ำชีโดยใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศร่วมกับกระบวนการตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์พบว่า พื้นที่ที่สามารถให้กำลังผลิตติดตั้งได้มากกว่า 5kW มีทั้งสิ้น ๗๐ แหล่งโดยมีกำลังผลิตรวม 23MW แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้ (๑) โครงการศักยภาพอ่างเก็บน้ำ ๒๗ โครงการ (๒) โครงการศักยภาพตามแนวลำน้ำ ๓๖ แหล่ง (๓) โครงการศักยภาพฝาย ๖ โครงการ และ (๔) โครงการศักยภาพเขื่อน ๑ โครงการ พื้นที่เหล่านี้ได้ถูกนำมาจัดลำดับความสำคัญด้วยใช้การตัดสินใจแบบหลายหลักเกณฑ์ พิจารณา ด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจสังคม และการมีส่วนร่วมของชุมชน โครงการชีลอง ๔ ได้รับการคัดเลือกมาพัฒนาเป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กมากสำหรับชุมชนนำร่องในพื้นที่ลุ่มน้ำชี สถานีไฟฟ้าชีลอง ๔ จึงได้ถูกพัฒนาขึ้นบนฐานของการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ โดยมีนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาในพื้นที่เป็นพี่เลี้ยง วิธีการนี้ทำให้ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติได้เรียนรู้ถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในการดูแลสถานีโรงไฟฟ้าชุมชนและพื้นที่ข้างเคียง พร้อมทั้งร่วมกันพัฒนาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อใช้งานจริง การเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนนี้ทำให้เกิดตัวอย่างของการพัฒนาสถานีโรงไฟฟ้าชุมชนขึ้นในพื้นที่ลุ่มน้ำชีอย่างเป็นรูปธรรม อันจะเป็นตัวอย่างในการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนของประเทศ |
13/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ. ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มัชฌิมนิยมกับคตินิยมไทย สรุปความได้ว่ามัชฌิมนิยม หมายรวมถึง อารยวิถี ทางสายกลาง ความเป็นกลาง ความเที่ยงธรรม ความยุติธรรม ความพอดี พอเพียง ไม่สุดโต่ง สมเหตุสมผล พอประมาณ ลงตัว ของสรรพสิ่ง ในความเป็นปกติของตัวเองแต่ละประเภท แต่ละชนิด ทั้งวัตถุธรรมและนามธรรม ทั้งที่เป็นสิ่งธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ปรุงแต่งขึ้น ทั้งในด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ซึ่งล้วนสืบรากเหง้าจากวิชาปรัชญา ด้านภววิทยา จริยศาสตร์ ตรรกศาสตร์ ญาณวิทยา คุณวิทยา และสุนทรียศาสตร์ วิถีปฏิบัติที่พอดี พอเหมาะ พอประมาณ พอเพียง และสมเหตุสมผล สำหรับการมีชีวิตที่ดีมีสุขมีลักษณะ ๒ ประการ คือ ไม่ขาดกับไม่เกิน ซึ่งเป็นวิถีการดำเนินชีวิตให้มีความสมดุลทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สติปัญญาของบุคคล และสัมพันธภาพทางสังคม มนุษย์ประกอบกิจกรรมที่ดีทุกอย่างเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดคือ ความดีสูงสุด เพราะเป็นคุณค่าสูงสุดเหนือจุดหมายอื่น ๆ เป็นจุดหมายที่มีคุณค่าในตัว คือ ความเป็นเลิศของมนุษย์ เป็นคุณค่าสูงสุดเหนือคุณค่าใด ๆ เป็นความสุขที่สมบูรณ์และประเสริฐสุดที่ได้จากการดำเนินกิจกรรมชีวิตตามอารยวิถีแนวมัชฌิมนิยม คนไทยแต่เดิมมานิยมวิถีชีวิตตามอัตภาพสมชีวิตา พอดี พออยู่พอกิน แนวมัชฌิมนิยม อนุโลมตามกฎธรรมชาติ เอาความเป็นไปของธรรมชาติเป็นครูและแบบอย่าง ทำให้ชีวิตได้ดุลยภาพ ความพอดี พอเหตุพอผล ตามตรรกศาสตร์ ลูกไทยหลานไทยได้พัฒนาชีวิตขึ้นเป็นปรีชาญาณชน ที่เข้าใจและเข้าถึงคุณค่าทางสัจธรรม จริยธรรม ปัญญาธรรม และสังคหธรรม สร้างสมวุฒิภาวะแห่งการเรียนรู้ โดยประสบการณ์ชีวิตและการศึกษาเล่าเรียนในสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันศาสนา รวบรวมองค์ความรู้ แนวคิดความเห็น ความเชื่อและคตินิยมเหล่านั้น ประมวลสรุปเป็นปรัชญาไทย สำหรับสร้างวิถีไทยแนวธรรมชาตินิยม มนุษยนิยม สัมพัทธนิยม และประโยชน์สุขนิยม รวมลงที่มัชฌิมนิยม ให้เป็นมรดกทางปัญญาสมบัติอันล้ำค่าสืบทอดสู่ลูกหลานไทย ๏ วันพุธที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รศ. ดร.สิวลี ศิริไล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ปรัชญากฎหมายจากตำนานเรื่อง เปาบุ้นจิ้น : บทวิพากษ์เชิงจริยศาสตร์ สรุปความได้ว่า เปาบุ้นจิ้น (เปาชิงเทียน) เป็นเจ้าเมืองไคฟงในสมัยจักรพรรดิองค์ที่ ๓-๔ ของราชวงศ์ซ่ง (ซ้อง) เหนือ ได้รับการยกย่องและเป็นที่เคารพอย่างสูงในเรื่องของความเป็นผู้มีคุณธรรมที่สำคัญคือ ความกตัญญู ความกล้าหาญ ความจงรักภักดี ความซื่อสัตย์ ความยุติธรรม ความชอบธรรม โดยเฉพาะในการตัดสินคดีความซึ่งเป็นหน้าที่หนึ่งของผู้เป็นนายอำเภอ เป็นเจ้าเมือง ประวัติของเปาบุ้นจิ้นไม่พบมากนักในหนังสือประวัติศาสตร์ของจีน มีเพียงชื่อ ตำแหน่งและคุณธรรมที่ได้รับการยกย่อง เนื้อหาส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องในสมัยโบราณที่เล่าสืบทอดกันต่อมาในรูปของวรรณกรรมพื้นบ้าน การแสดงละคร และบทภาพยนตร์ในสมัยปัจจุบัน เนื้อหาของบทความนี้ได้จากภาพยนตร์ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง ๓ เปาบุ้นจิ้นเกิดในครอบครัวเกษตรกรชั้นกลาง มีพี่ชาย ๒ คน เมื่อแรกเกิดมีผิวหน้าเป็นสีดำและมีปานนูนรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวบนหน้าผาก ทำให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของเพื่อนบ้าน บิดามารดาคิดจะนำไปทิ้ง แต่พี่สะใภ้คนโตซึ่งคลอดบุตรชายในเวลาเดียวกับที่เปาบุ้นจิ้นเกิดรู้สึกเมตตาสงสารจึงนำมาเลี้ยงดูให้ดื่มนมของตนคู่กับ เปาบุ้นจิ้นถือหลักในการบริหารงานว่า “จิตใจสะอาด บริสุทธิ์ ถือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จงจดจำบทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้อย่าให้คนรุ่นหลังเย้ยหยันได้” ด้วยคุณธรรมความซื่อสัตย์ เที่ยงธรรมของเปาบุ้นจิ้นทำให้ได้รับความไว้วางพระทัยจากองค์ฮ่องเต้ ได้รับพระราชทานหวายทองคำจากฮ่องเต้องค์ที่ ๓ และกระบี่อาญาสิทธิ์จากฮ่องเต้องค์ที่ ๔ สามารถประหารชีวิตผู้ใดก็ได้ตั้งแต่สามัญชนจนถึงพระราชวงศ์โดยไม่ต้องรับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำรายงานกราบบังคมทูล กระบวนการพิจารณาและตัดสินคดีความของเปาบุ้นจิ้นพิจารณาจากกรอบของปรัชญากฎหมายตะวันตก มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ – ความสัมพันธ์ระหว่างจริยธรรมกับกฎหมายมีความสัมพันธ์ที่จำเป็น จริยธรรมเป็นหลักการพื้นฐานของการดำรงชีวิตในสังคมและเป็นพื้นฐานของกฎหมาย การกระทำที่ผิดต่อหลักจริยธรรมของสังคมนำไปสู่การกระทำความผิดทางกฎหมาย – กฎหมายคือกฎหมาย (law is law) เป็นข้อกำหนดของบ้านเมือง ทุกคนต้องปฏิบัติตามและทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน – การลงโทษตามกฎหมายคือการชดเชยความผิดที่ได้กระทำไป การฆ่าคนเป็นการกระทำผิดที่ต้องถูกลงโทษประหารชีวิตโดยไม่มีข้อยกเว้น – การใช้เหตุผลทางกฎหมายเป็นไปตามพยานหลักฐานทั้งพยานวัตถุและพยานบุคคล ประกอบกับการลงนามยอมรับความผิด – จริยธรรมคุณธรรมของตุลาการผู้พิพากษาคดีมีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะนำไปสู่การพิจารณาและตัดสินความอย่างเที่ยงธรรม รวมถึงการใช้ดุลยพินิจส่วนตัวเมื่อเผชิญสถานการณ์ทางสองแพร่ง (dilemma) ที่ต้องตัดสินใจ โดยภาพรวมแล้ว แนวความคิดทางปรัชญากฎหมายที่ได้จากตำนานเรื่องเปาบุ้นจิ้นเป็นไปตามลักษณะของปรัชญาจีน คือเน้นเรื่องของจริยศาสตร์เชิงปฏิบัติ (practical ethics) ที่ถือหน้าที่ของมนุษย์ที่จะต้องทำตามหลักจริยธรรมอย่างเคร่งครัด ในบรรดาหลักจริยธรรมของสังคม ความกตัญญูเป็นหลักจริยธรรมอันดับแรกที่มาก่อน ทำให้ลักษณะสำคัญของจริยศาสตร์ในสังคมจีนเป็นจริยศาสตร์เชิงพรรณนา (descriptive ethics) มากกว่าการโต้แย้งแบบจริยศาสตร์ตะวันตก |
12/09/2560 |
๏ วันอังคารที่ ๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นายจุลทัศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ประติมากรรมปูนปั้นวัดไลย์ สรุปความได้ว่า วัดไลย์อยู่ที่ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นวัดโบราณ นัยว่ามีมาเมื่อสมัยอยุธยา วัดแห่งนี้มีงานประติมากรรมปูนปั้นแบบไทยประเพณีติดที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และเก่ากว่างานประติมากรรมประเภทเดียวกันที่อื่น งานประติมากรรม ณ ศาสนสถานในวัดไลย์ ได้รับการปั้นประดับขึ้นไว้บนผนังด้านวิหารแห่งหนึ่ง แสดงเรื่องพระพุทธประวัติกับเรื่องทศชาติ ฝาผนังด้านหลังวิหารปั้นปูนแสดงเรื่องพระราชพิธีคเชนทรอัศวสนาน และยังมีลวดลายปูนปั้นตกแต่งประดับฝาผนังทั้งภายนอกและภายในวิหารสวยงามควรชม งานประติมากรรมปูนปั้นติดที่ ณ ศาสนสถานแห่งนี้จัดเป็นแหล่งงานประติมากรรมแบบไทยประเพณี เมื่อสมัยอยุธยายังคงอยู่ต่อมาให้เห็นแบบฉบับการสร้างสรรค์และแสดงออกงานประติมากรรมซี่งมีสาระสำคัญ แก่การศึกษาศิลปกรรมโบราณ ประเภทศิลปะปูนปั้นแบบไทยประเพณีได้แห่งหนึ่ง วัดไลย์ตั้งอยู่ ณ ตำบลเขาสมอคอน อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี เป็นวัดโบราณมาแต่สมัยอยุธยา ในวัดแห่งนี้มีงานประติมากรรมปูนปั้น ประเภทงานปูนปั้นติดที่ อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์และเก่าแก่กว่างานปูนปั้นแห่ง ศาสนสถานที่เป็นแหล่งเรียนรู้และควรชมงานประติมากรรมปูนนั้น คือ อุโบสถหลังเก่า ปัจจุบันเปลี่ยนฐานะเป็นวิหาร และยังใช้ทำศาสนกิจได้ วิหารเป็นสถาปัตยกรรมทรงโรง สร้างด้วยเครื่องก่ออิฐถือปูนด้านรวงแปหรือด้านข้าง ขนาด ๕ ห้อง ฝาผนังแต่ละห้องทำช่องแสงและระบายลมแนวตั้ง ห้องละ ๕ ช่อง ด้านหน้าและด้านหลังวิหารทำเป็นมุขโถงอย่างมุขเด็จ มีประตูทางเข้าออกข้างมุขโถงข้างละประตูหนึ่งหลังคาประธานวิหารทำลด ๒ ชั้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันถือปูนพื้นเรียบ กรอบหน้าบันประกับด้วยเครื่องช่อฟ้า นาคสะดุ้ง ใบระกา และหางหงส์ประดับกระจก ผศ. ดร.จิรพัฒน์ ประพันธ์วิทยา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พระพุทธศาสนาในประเทศไทยจากหลักฐานจารึกราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๑-๑๒ สรุปความได้ว่า จารึกที่ใช้ภาษาบาลีมุ่งเน้นที่จะสืบทอดคำสอนของพระพุทธเจ้าช่วงแรก ๆ โดยพยายามนำเสนอเหตุการณ์ช่วงต้น ๆ ภายหลังการตรัสรู้ของพระองค์ จนกระทั่งแสดงปฐมเทศนาเรื่องธัมมจักกัปปวัตตนสุตตะ จนพระโกณฑัญญะบรรลุธรรมเบื้องต้น จารึกทำให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้ทรงค้นพบทฤษฎีอะไรเกี่ยวกับชีวิต ทฤษฎีนั้นก็คือ ปฏิจจสมุปบาท ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่ามีความลึกซึ้งมากจึงทรงตั้งพระทัยที่จะประกาศสิ่งที่พระองค์ค้นพบให้คนอื่นทราบ เมื่อพระพรหมอาราธนา พระองค์จึงได้ตัดสินใจพิสูจน์ทฤษฎีของพระองค์กับปัญจวัคคีย์ซึ่งก็ทรงประสบความสำเร็จ เพราะโกณฑัญญะสามารถรู้ตามทฤษฎีของพระองค์ได้ จารึกภาษาบาลีทำให้ทราบถึงความสำคัญของพระธรรมจักรและสถูปในฐานะเป็นวัตถุเพื่อการเคารพบูชา ซึ่งเป็นการสืบทอดการปฏิบัติที่มีอยู่แล้วในพระพุทธศาสนายุคแรก ๆ จากหลักฐานที่เป็นภาพสลักที่สถูปสาญจีและภารหุต จารึกที่ใช้ภาษาสันสกฤตแม้จะมีไม่แพร่หลาย แต่ก็ยังยึดถือความสำคัญของสถูปและพระพุทธรูป เพราะมักจะจารึกคาถา เย ธรฺมา ที่พระพุทธรูปและสถูป การใช้ภาษาสันสกฤตในจารึกยังทำให้ทราบว่ามีนิกายสรรวาสติวาทินอยู่ร่วมกับนิกายสถวิรวาทที่ใช้ภาษาบาลี แต่ก็คงไม่มีอิทธิพลในภาคกลางของประเทศไทยมากนัก ศ. ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พุทธปฏิมากรแห่งยุคสมัย บำรุงศักดิ์ กองสุข สรุปความได้ว่า อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข พุทธปฏิมากรแห่งยุคสมัย ผู้รังสรรค์พระพุทธรูปที่วิจิตรประณีตงดงาม สะท้อนพุทธลักษณะแห่งผู้ตื่น ผู้รู้ ผู้เบิกบาน และพุทธธรรมแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เป็นเลิศยิ่งนัก อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข เกิดพุทธศักราช ๒๔๘๗ พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดสุรินทร์ ศึกษาศิลปะจากโรงเรียนเพาะช่าง เคยรับราชการเป็นช่างศิลป์ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และดำเนินชีวิตพุทธศิลปินสืบมาจวบจนเสียชีวิต พุทธศักราช ๒๕๕๘ อาจารย์บำรุงศักดิ์ กองสุข ครองตนและมีวัตรปฏิบัติในพุทธธรรมประหนึ่งผู้ทรงศีล ผู้ทรงศีลที่สร้างสรรค์พระพุทธรูปอันวิจิตรประณีตงดงาม สร้างสรรค์พระพุทธรูปและรูปจำลองพระอริยสงฆ์ไว้มากมาย เช่น พระพุทธภควาวิจิตร ประดิษฐาน ณ ห้องประทับในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระพุทธรูปปางประทานธรรม พระประธานในพระอุโบสถ วัดพระมหาชนก มลรัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พระพุทธรูปหินอ่อนปางปรินิพพาน วัดป่าภูก้อน อำเภอนกยูง จังหวัดอุดรธานี พระพุทธรูปปางสีหไสยาสน์ มูลนิธิสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา รูปจำลองพระโพธิญาณเถระ “พระอาจารย์ชา สุภัทโท” วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ผศ. ดร.มาโนช กงกะนันทน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มัณฑนศิลป์กับสังคม สรุปความได้ว่า มัณฑนศิลป์เป็นศิลปะที่อยู่รอบและใกล้ตัว ได้เห็นกันอยู่เป็นประจำตั้งแต่ตื่นขึ้นมาจนตลอดวัน คำอธิบายในภาษาอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี คณบดีคณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ และแปลเป็นภาษาไทยโดยศาสตราจารย์พระยาอนุมานราชธน ราชบัณฑิต ประเภทวรรณศิลป์ สาขาวิชาวรรณกรรมและภาษาศาสตร์ “มัณฑนศิลป์” (Decorative Arts) คำนี้ หมายความถึงบรรดาผลิตกรรมศิลปะชนิดที่เรียกกันว่า จุลศิลป์ (Minor Arts) เช่น การทอผ้า เครื่องเยื่อใย งานช่างรัก ช่างถม ช่างปิดทองล่องชาด และงานช่างอื่น ๆ อีกเป็นอันมาก ถ้าศิลปะตกแต่งเหล่านี้เป็นไปเพื่อประโยชน์การค้า ก็อาจเรียกได้ว่าเป็นพานิชยศิลปะ แต่ถึงจะเรียกว่าเป็นพานิชยศิลป์ ก็ไม่เปลี่ยนความหมายไปจากที่เป็นศิลปะตกแต่งอย่างไรเลย ยังมีคำว่า ประยุกต์ศิลป์ (Applied Arts) อีกคำหนึ่ง ซึ่งหมายความว่าเป็นศิลปะตกแต่งด้วย เพราะเป็นศิลปะที่นำเอาไปใช้สำหรับวัตถุซึ่งเป็นของใช้ตามธรรมดา ตัวอย่าง รูปศิลปะบนกล่องบุหรี่หรือที่ด้ามช้อน ลวดลายและภาพบนถ้วยชาม ภายในสมุดหนังสือ แบบสร้างประตูรั้วเหล็กเหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเป็นประยุกต์ศิลป์ทั้งนั้น เพราะอย่างไร ๆ ก็เป็นศิลปะเพื่อเพิ่มความงามให้แก่วัตถุของใช้ตามธรรมดาอยู่นั่นเอง เหตุนี้พานิชยศิลป์และประยุกต์ศิลป์จึงตรงกับศิลปะตกแต่ง จากแผนภูมิข้างบนนี้ ข้าพเจ้าได้ทำขึ้นเพื่อใช้เป็นคู่มือในการสอนระหว่างที่ยังรับราชการเป็นอาจารย์ประจำอยู่ที่คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ข้าพเจ้าขอนำเสนอในเรื่องที่ ๑ คือ ตกแต่งสถานที่ของอาคารพักอาศัยเป็นอันดับแรก อันประกอบไปด้วยห้องรับรองแขก ห้องรับประทานอาหาร ห้องทำครัว ห้องน้ำ ห้องส้วม และห้องเก็บของ ห้องต่าง ๆ ดังกล่าวจะมีครุภัณฑ์ถูกจัดวางอยู่ตามความต้องการที่จะใช้ในชีวิตประจำวัน ครุภัณฑ์หรือเครื่องเรือนเหล่านี้จะถูกออกแบบและจัดสร้างขึ้น (ในสมัยที่ยังไม่มีจำหน่ายและสำเร็จรูป พร้อมใช้งาน เมื่อประมาณ ๕๐ ปี ก่อน พ.ศ. ๒๕๐๐) เพื่อใช้ตกแต่งสถานที่ตามต้องการ ห้องรับรองแขก มีเครื่องเรือน คือ เก้าอี้ชนิดที่มีหรือไม่มีที่เท้าแขน โต๊ะกลางเตี้ยสำหรับวาง ห้องรับประทานอาหาร มีเครื่องเรือน คือ โต๊ะสำหรับตั้งอาหาร ขนาดสำหรับ ๔ คน หรือ ๖ คน ห้องทำครัว มีเครื่องเรือน คือ โต๊ะสูง (ประมาณ ๗๕ ซม.) สำหรับทำเครื่องอาหาร ห้องน้ำ-ห้องส้วม มีเครื่องเรือน คือ อ่างล้างหน้าพร้อมกับบานกระจกส่องหน้า โถส้วม และที่ ห้องเก็บของ-สัมภาระ ห้องนี้มีประโยชน์เพื่อใช้สำหรับเก็บสิ่งของต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ นายวินัย ภู่ระหงษ์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง บทสดุดีในนิพนธ์ยวนพ่าย : จดหมายเหตุความชอบธรรม สรุปความได้ว่า นิพนธ์ยวนพ่ายเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงพร้อมด้วยชาติวุฒิและคุณวุฒิ ทรงมีพระชาติสมภพโดยเทพ ๑๑ องค์ เสด็จอุบัติในวงศ์กษัตริย์สืบเชื้อสายสุริยวงศ์ ๒ ฝ่าย ทรงพร้อมด้วยความีสิริและความมีอำนาจ ทรงรู้แจ้งและประพฤติในธรรมทั้งหลาย ทรงรอบรู้เรื่องโลกและจักรวาล ทรงชำนาญในธิรปอุปศาสตร์ และทรงชำนาญในการรบเยี่ยงเทพและวีรบุรุษ พระเกียรติยศทั้งหลาย คือ เนื้อหาของความชอบธรรมในการปกครองแผ่นดินของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ผู้นิพนธ์บันทึกไว้ให้คงอยู่ตลอดไป |
12/09/2560 |
๏ วันพุธ ที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ศ.ดร. อรอนงค์ นัยวิกุล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ข้าวคือชีวิต : ยังจริงอยู่หรือสำหรับเด็กไทย สรุปความได้ว่า ข้าวคือชีวิต หมายถึง ข้าวมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยมาช้านานจากอดีต นำโดยพระมหากษัตริย์ในด้านการปกครองปวงประชาราษฎร์ให้อยู่ในดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ ทำนาปลูกข้าวเป็นอาหารหล่อเลี้ยงชีวิตได้สืบทอดกันต่อๆมาตั้งแต่สมัยการสร้างบ้านเมืองยุคสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน โดยเฉพาะรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการปฏิรูปและพัฒนาแนวทางการผลิตข้าวใหม่ที่ส่งผลดี และเอื้อประโยชน์ต่อระบบการผลิตและการค้าข้าวของไทย และรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระมหากรุณาธิคุณต่อการวิจัยและพัฒนาข้าวไทย โดยทรงพระราชดำริและทรงดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาข้าว ทรงมุ่งมั่นทุ่มเทกำลังพระวรกายในการปรับใช้ผลการวิจัยและพัฒนาเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางอาหาร เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม แก่เกษตรกรที่ประกอบอาชีพทำนา โดยรัฐบาลสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและน้อมรำลึกในพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพให้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็น “พระบิดาแห่งการปฏิรูปข้าวไทย” และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ เป็น “พระบิดาแห่งการวิจัยและพัฒนาข้าว” ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ ๒๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงสนับสนุนการทำนาปลูกข้าว ฟื้นฟูวัฒนธรรม ประเพณีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ แนะนำให้บริโภคข้าวกล้องที่มีคุณค่าทางอาหาร และโภชนาการ อุดมด้วยสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของร่างกายอย่างสมดุล ด้วยการบริโภคข้าวเป็นหลักในปริมาณที่เหมาะสม ร่วมกับกับข้าวที่หลากหลายในลักษณะที่เป็น น้ำพริก ปลาทู (ปลาย่าง) ผักจิ้ม แกง ต้ม โดยอาหารไทยแท้ส่วนมากไม่ประกอบด้วยการทอด หรืออาหารที่มีน้ำมันมากจนเกินไป ด้วยความผูกพันกับการทำนาเป็นหลักของชาวไทย จึงประกอบกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้าวเป็นวัฒนธรรม ประเพณีของสังคมไทยมาตั้งแต่อดีต แม้ว่าในปัจจุบันจะกระทำกันน้อยลงแต่ก็ยังคงเห็นอยู่บ้างในท้องถิ่นที่ยังสามารถผูกโยงสังคมด้วยกิจกรรมเกี่ยวข้องกับข้าว ทำให้เกิดความสามัคคี และการอยู่ร่วมกันด้วยความเอื้อเฟื้อของชุมชน ในอีกความหมายของข้าวคือชีวิต ก็คือความสามารถในการนำข้าวไปขายยังต่างประเทศได้เงินตรากลับเข้ามาช่วยด้านเศรษฐกิจของประเทศมาช้านานแล้ว สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรทั้งประเทศได้ตราบจนทุกวันนี้ จากความเจริญก้าวหน้าของโลกทำให้การติดต่อค้าขาย และแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมเป็นไปได้อย่างกว้างขวาง ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของสังคมไทยก็มีความเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเช่นกัน โดยเฉพาะความห่วงใยในวัฒนธรรม ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับข้าวจึงได้ทำการสำรวจเบื้องต้นจากเอกสาร บทสัมภาษณ์ และการทำแบบสอบถามเบื้องต้น ทำให้ทราบถึงพฤติกรรม และความรู้ ความเข้าใจของเด็กไทยเกี่ยวข้องกับข้าวว่า ยังคงรับรู้ และบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก บริโภคข้าวกล้องน้อย เพราะไม่คุ้นเคยจากทางบ้าน และเบื่อข้าวในบางครั้ง เพราะมีอาหารหลากหลายให้เลือก แนวทางแก้ไข คือการให้ความรู้เรื่องข้าวสม่ำเสมอทุกระดับ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้ปกครองเด็ก และตัวเด็กเอง เพื่อให้ทราบถึงประโยชน์ และคุณค่าของข้าว โดยเฉพาะข้าวกล้อง สำหรับผู้ผลิต และผู้แปรรูปข้าวก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบัน โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์จากข้าว ให้มีความสะดวก รวดเร็ว น่าสนใจสำหรับเด็กไทยยุคปัจจุบันเช่นกัน ๏ วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ. ดร.สักกมน เทพหัสดิน ณ อยุธยา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ความยั่งยืนในอุตสาหกรรมอาหาร สรุปความได้ว่า อุตสาหกรรมอาหารมีความต้องการใช้น้ำและพลังงานเป็นลำดับต้น ๆ เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นโดยทั่วไป ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมอาหารจึงมีฟุตพริ้นท์ของน้ำและของคาร์บอน (Water and carbon footprints) ที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตาม หากมีการเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสม ตลอดจนมีการใช้กระบวนการแปรรูปขั้นสูงเพื่อช่วยในการผลิตอาหาร ก็อาจลดปริมาณฟุตพริ้นท์ต่าง ๆ เหล่านี้ลงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการบรรเทาปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้วัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน ในที่นี้จะได้ยกตัวอย่างค่าฟุตพริ้นท์ของน้ำและของคาร์บอนในการผลิตอาหารชนิดต่าง ๆ ที่มีการบริโภคกันอยู่โดยทั่วไป จากนั้นจะได้นำเสนอตัวอย่างการใช้แมลงที่รับประทานได้ (Edible insects) เป็นวัตถุดิบทางเลือกในการผลิตอาหารที่มีโปรตีนสูง ตลอดจนการใช้กระบวนการทางเลือก (ซึ่งพัฒนาขึ้นทั้งจากการผสมผสานกระบวนการเดิมหลายกระบวนการเข้าด้วยกัน หรือจากการพัฒนากระบวนการขึ้นมาใหม่ทั้งหมด) ในการแปรรูปอาหาร เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของอุตสาหกรรมการผลิตและแปรรูปอาหาร โดยจะยกตัวอย่างการใช้กระบวนการอบแห้งโดยใช้ไอน้ำร้อนยวดยิ่ง (Superheated steam drying) การใช้พลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการช่วยเร่งกระบวนการละลายน้ำแข็งในอาหารแช่แข็ง และการใช้อนุภาคน้ำแข็งแห้ง (Dry ice particles) ในการทำความสะอาดอุปกรณ์การแปรรูปอาหาร การใช้วัตถุดิบและกระบวนการทางเลือกต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยสร้างประโยชน์ให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ทั้งในแง่ของการเสริมสร้างความยั่งยืน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งในเชิงเศรษฐศาสตร์ของอุตสาหกรรมดังกล่าว |
12/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ รศ. ดร.สุรพล ราชภัณฑารักษ์ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง การปฏิรูปกับนักการเมืองไทย สรุปความได้ว่า การปฏิรูป หมายถึง การเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนรูป การปรับปรุง การแก้ไขใหม่ ถือเป็นรูปแบบและวิธีการหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งเป็นทางเลือกที่อาจช่วยให้หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบปฏิวัติซึ่งใช้ความรุนแรงได้ การปฏิรูปการเมืองการปกครองในสยามประเทศเริ่มขึ้นสมัยอยุธยาในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ หรือพระเจ้าอู่ทอง ซึ่งมีระบบจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา เป็นหลัก ส่วนในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๑ ได้มีการปฏิรูประบบจตุสดมภ์และขยายอำนาจจากส่วนกลางไปยังหัวเมืองต่าง ๆ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๔๑๑) และสืบต่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ลัทธิล่าอาณานิคมของชาติมหาอำนาจตะวันตกในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ มีผลต่อการปรับนโยบายสำคัญของสยามที่มีต่ออังกฤษและฝรั่งเศส ทั้ง ๒ พระองค์จึงผลักดันให้มีการปฏิรูปประเทศให้ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์ โดยการเรียนรู้วัฒนธรรมทางการเมืองและเศรษฐกิจจากตะวันตก เช่น ยกเลิกวัฒนธรรมประเพณีเดิม ส่งเสริมให้ศึกษาภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยี ส่งนักเรียนออกไปศึกษายังยุโรปและสหรัฐอเมริกา ผลจากการปฏิรูปการปกครองสยามใน พ.ศ. ๒๔๓๕ ทำให้มีการรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลาง ทำให้รัชกาลที่ ๕ เป็นพระมหากษัตริย์สยามที่มีลักษณะเป็นสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างแท้จริง การปฏิรูปในความหมายปัจจุบัน หมายถึง การเปลี่ยนรูป การปรับปรุง การแก้ไขใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางหรือวิธีการจัดการกับสภาวะที่เป็นอยู่ โดยใช้วิธีการที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันที หรือการใช้กำลังบีบบังคับ แต่เป็นการใช้วิธีการทางจิตวิทยา คือสร้างแรงบันดาลใจให้บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านนั้น ๆ ยอมรับและเข้าร่วมอย่างสมัครใจ ซึ่งอาจต้องใช้ระยะเวลาเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ การปรับตัวและทัศนคติของส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง การปฏิรูปทางการเมืองในประเทศไทยที่ผ่านมามักมีการเปลี่ยนแปลงกติกาหลักทางการเมืองซึ่งหมายถึงรัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกติกาหลักโดยตรง ได้แก่ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ในกรณีของการปฏิรูปการเมืองไทย ซึ่งเน้นไปที่บุคลากรทางการเมืองโดยเฉพาะนักการเมือง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้เสนอรูปแบบของกฎหมายพรรคการเมืองที่สภาปฏิรูปประเทศจะกำหนดไว้ในกฎหมาย ทั้งนี้ เพราะต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองของนักการเมือง เพื่อสร้างเสถียรภาพในทางการเมือง การบริหารให้มีความมั่นคงตลอดไป ๏ วันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๙ นายอนันต์ อนันตกูล ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง บทบาทของสหกรณ์กับการแก้ไขปัญหาความยากจน สรุปความได้ว่า สหกรณ์เป็นองค์การหรือสมาคมซึ่งตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจของสมาชิกและยึดถือหลักประชาธิปไตยเป็นที่ตั้งในการดำเนินกิจธุระทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อประโยชน์ของมวลสมาชิก การสหกรณ์ในประเทศไทยเริ่มขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โดยได้นำรูปแบบสหกรณ์หาทุนแบบไรฟ์ไฟเซนของเยอรมนีเป็นต้นแบบการจัดตั้ง ใช้แหล่งทุนจากบริษัท แบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด และเพิ่มบทบัญญัติเพิ่มเติมในพระราชบัญญัติสมาคม พุทธศักราช ๒๔๕๗ เพื่อใช้จดทะเบียนสหกรณ์ โดยตราเป็นพระราชบัญญัติสมาคมเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๕๙ ทั้งนี้ สหกรณ์แห่งแรกได้รับการจดทะเบียนเมื่อวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๕๙ ชื่อ “สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” ตั้งในท้องที่ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยมีสมาชิกแรกตั้ง ๑๖ คน ทุนดำเนินการระยะแรก ๓,๐๘๐ บาท ปัจจุบันสหกรณ์มี ๗ ประเภท คือ ๑. สหกรณการเกษตร ๒. สหกรณประมง ๓. สหกรณนิคม ๔. สหกรณร้านค้า ๕. สหกรณบริการ ๖. สหกรณ์ออมทรัพย์ ๗. สหกรณเครดิตยูเนี่ยน สหกรณ์ทุกประเภทมีวัตถุประสงค์สำคัญในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรทรัพยากรการผลิตเพื่อการดำรงอาชีพ การกระจายรายได้ ควบคู่กับการส่งเสริมการออมและการให้สินเชื่อ เพื่อให้สมาชิกนำไปใช้อุปโภคบริโภค และลงทุนประกอบอาชีพให้มีความมั่นคง จึงถือว่าสหกรณ์มีบทบาทสำคัญที่เปิดโอกาสให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกรรายย่อย และผู้ขาดโอกาสในการประกอบอาชีพสามารถเข้าถึงแหล่งทุน โดยใช้หลักการพึ่งพาตนเองและหลักการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ระบบการเงินของสหกรณ์สร้างพลังแห่งการร่วมมือกันของคนที่ศรัทธาและเชื่อมั่นในวิถีสหกรณ์ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ เพื่อวางแผนการผลิตในระดับมหภาคและจุลภาค พร้อมที่จะยืนหยัดอยู่ได้ในระบบเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องการลงทุน การสร้างอาชีพ การออม การศึกษา การให้บริการด้านต่าง ๆ และการพึ่งพาช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิกภายใต้บริบททางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และการเมืองที่เปลี่ยนแปลง การรวมกลุ่มของสมาชิกสหกรณ์และการจัดการธุรกิจของสหกรณ์ที่พึ่งทุนภายในของตนเองมากกว่าการพึ่งพาแหล่งทุนภายนอก สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาองค์กร ซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจฐานรากไปสู่ความยั่งยืนในรูปแบบการสหกรณ์ตามนโยบายและภายใต้การสนับสนุนจากภาครัฐ การสหกรณ์จึงเป็นกลไกหลักในการสร้างการร่วมมือ พัฒนาศักยภาพ และความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจของกลุ่มสมาชิก กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ องค์กรต่าง ๆ ที่เป็นภาคีเครือข่ายในการวางแผนด้านธุรกิจเพื่อการลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การขยายตลาด และเพิ่มรายได้อันจะนำประโยชน์กลับคืนสู่สมาชิกส่วนรวมของสถาบันตามวิถีสหกรณ์ อย่างไรก็ดี จากข้อมูลภาวะเศรษฐกิจทางการเงินของสหกรณ์ไทย ประกอบกับบทบาทของสหกรณ์ต่อระบบเศรษฐกิจ และภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศพบว่า ภาคสหกรณ์ยังต้องสร้างระบบการเฝ้าระวังทางการเงินเป็นพิเศษ ควรกำหนดแนวทางควบคุมและบริหารจัดการให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเหมาะสมและสัมพันธ์กับรายได้ ควบคู่กับการสร้างเครื่องมือ กลยุทธ์ และรูปแบบวิธีการเพื่อสร้างระบบงานรองรับความเสี่ยงในด้านการดำเนินธุรกิจ พัฒนาองค์กร และแก้ปัญหาให้กับสมาชิกสหกรณ์ให้ได้รับประโยชน์ในทางที่เป็นไปได้ตามแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายของภาครัฐไปสู่การแก้ปัญหาเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศในระยะยาวต่อไป รศ.วนิดา ขำเขียว ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เอล็อง วีตัล (Élan vital) ของแบร์กซง (Bergson) : พลังทะยานแห่งชีวิตเพื่อวิวัฒนาการเชิงสร้างสรรค์ สรุปความได้ว่า เอล็อง วีตัล มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า “élan” มีความหมายว่า “พลังทะยาน” และ “vital” มีความหมายว่า “ชีวิต” รวมความแล้วคือ พลังทะยานแห่งชีวิตที่มีในทุกชีวิตและคอยผลักดันทุกชีวิตให้ก้าวทะยานไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องตลอดกาลนาน ซึ่งการก้าวทะยานไปนี้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์ จึงทำให้ชีวิตมีการพัฒนารูปแบบที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เอล็อง วีตัล เป็นแนวคิดของอ็องรี แบร์กซง (Henri Bergson) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสที่เชื่อว่าความแท้จริงหรือความจริงสูงสุดที่หลายคนพยายามค้นหานั้นไม่ใช่สิ่งที่นิ่งอยู่กับที่ หากแต่ความแท้จริงคือการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดยั้ง โลกนี้จึงไม่มีอะไรมากำหนดอย่างสมบูรณ์ และวิวัฒนาการของโลกก็มิได้เป็นไปในเชิงจักรกลและมิได้เป็นไปตามกฎของฟิสิกส์ แต่โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างสร้างสรรค์เพราะมีเอล็อง วีตัลที่คอยผลักดันให้สภาพชีวิตมีวิวัฒนาการ และยิ่งวิวัฒนาการไปนานเท่าใด พลังนี้ก็จะสร้างสิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาจากอดีตอย่างอิสรเสรี แต่อดีตและอนาคตมิใช่ตัวกำหนดการวิวัฒนาการของโลก ชีวิตทั้งหลายจึงเกิดมาจากธรรมชาติของมันเอง แบร์กซงกล่าวถึงความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้ การค้นคว้าทดลอง และการวิจัยว่าเป็นความรู้ที่ไม่สามารถทำให้มนุษย์เข้าถึงความจริงได้ จึงได้แต่วิ่งวนไปรอบ ๆ ความรู้ที่ได้มานี้ไม่ใช่ความจริงแท้ แต่เป็นเพียงความรู้ภายนอกที่ต้องอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างสติปัญญากับสสาร และขึ้นอยู่กับสาเหตุตลอดจนมุมมองของบุคคลซึ่งอาจทำให้ความจริงที่ได้มาบิดเบือนไป ความรู้แบบนี้ต้องอาศัยวิธีคิดแบบวิเคราะห์ซึ่งทำให้เกิดการแบ่งแยกความจริงออกเป็น ความจริงแท้ของแบร์กซงคือเอล็อง วีตัลซึ่งมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลาและไม่มีการดำเนินตามกฎเกณฑ์ จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ อันมีผลต่อประสบการณ์ของมนุษย์ที่ไม่มีวันหยุดนิ่ง มีแต่จะก้าวสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เอล็อง วีตัลเป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนให้ทุกอย่างไม่นิ่งอยู่กับที่ การใช้ความรู้แบบวิธีวิเคราะห์ความจริงออกเป็นส่วน ๆ จึงไม่สามารถเข้าถึงความจริงที่เคลื่อนไหวได้ แต่จะใช้ได้กับวัตถุหรือสสารเท่านั้น ความจริงที่ได้มาจากวิธีการคิดแบบวิเคราะห์นี้ทำได้แค่ขั้นใกล้เคียงหรือความน่าจะเป็นเท่านั้น แต่ความจริงที่ได้จากความรู้แบบอัชฌัตติกญาณเป็นความจริงเหนือมโนภาพทำให้คำพูดไม่สามารถสื่อถึงได้โดยตรง ถึงแม้ว่าจะมีการคิดคำแทนขึ้นมาแต่คำแทนเหล่านั้นไม่สามารถถ่ายทอดได้โดยตรง อัชฌัตติกญาณจึงเป็นวิธีเดียวที่ทำให้มนุษย์เข้าถึงความจริงอันสูงสุดและเป็นวิธีการที่ทำให้มนุษย์รู้ธรรมชาติภายใน |
12/09/2560 |
๏ วันอังคารที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รศ.อัศนีย์ ชูอรุณ ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง ความหมายของคำ masaic สรุปความได้ว่า คำจำกัดความของคำ mosaic ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับของไมเคิล คลาร์ก (Michael Clarke) ของเอียน ชิลเวิร์ส (Ian Chilvers) ของราล์ฟ เมเยอร์ (Ralph Mayer) รวมถึงในสารานุกรมอเมริกานา (Encyclopedia Americana) และสารานุกรมบริแทนนิกา (Encyclopaedia Britannica) ทำให้พอสรุปได้ว่า คำ mosaic มี ๒ ความหมาย คือ ๑. กลวิธีการทำภาพหรือลวดลายด้วยการจัดเรียงวัสดุชิ้นเล็ก ๆ จำนวนมากลงในพื้นที่มีความเหนียวซึ่งเตรียมพื้นด้วยยางไม้ ปูนซีเมนต์ ปูนฉาบ หรือปูนกาว ตามปรกติจะเป็นวัสดุที่มีหลายสี ได้แก่ วัสดุจำพวกกระจก หิน หินอ่อน แร่ กระเบื้อง เปลือกหอย หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ ด้วย mosaic ใช้ทำผิวทางเดิน ประดับตกแต่งผนังและเพดาน และก็มีบ้างเหมือนกันที่ใช้ทำภาพหรือลวดลายที่หยิบถือ หรือพกพาได้ หรือใช้ฝังเลี่ยมผิวเครื่องเรือนและสิ่งของขนาดเล็ก ๒. ผลงานซึ่งเป็นภาพหรือลวดลายที่ทำขึ้นด้วยกลวิธีดังกล่าวนี้ จากคำจำกัดความของคำ mosaic ในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะฉบับของคลาร์ก ของชิลเวิร์ส ของเมเยอร์ รวมถึงในสารานุกรมอเมริกานา และในสารานุกรมบริแทนนิกา ทำให้น่าเชื่อได้ว่า คำจำกัดความของคำ โมเสก ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ยังมีความไม่ถูกต้องหลายประการ ดังนี้ คำจำกัดความของคำ โมเสก ที่ว่า เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สำหรับปูพื้นหรือบุผนัง เป็นคำจำกัดความที่ยังไม่ถูกต้อง เพราะ mosaic หมายถึง ๑) กลวิธีการนำวัสดุชิ้นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ มาจัดเรียงเป็นภาพหรือลวดลายบนพื้นผิวต่าง ๆ เช่น พื้นหรือผนัง ๒) ภาพหรือลวดลายที่ทำขึ้นด้วยกรรมวิธีดังกล่าวนี้ คำ โมเสก ไม่ได้หมายถึงเฉพา เครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวัสดุอื่น ๆ ด้วย เช่น กระจก หิน หินอ่อน แร่ กระเบื้อง เปลือกหอย หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม ข้อความที่ว่าโมเสกใช้สำหรับปูพื้นหรือบุผนังก็ยังไม่ถูกต้อง เพราะไม่ได้ใช้สำหรับปูพื้นหรือบุผนัง โดยทั่วไปใช้สำหรับทำผิวทางเดิน ประดับตกแต่งผิวผนังและเพดาน อีกทั้งที่ใช้ทำรูปภาพที่หยิบถือหรือพกพาได้ หรือใช้ฝังเลี่ยมผิวเครื่องเรือนและสิ่งของขนาดเล็กก็มีบ้างเหมือนกัน ข้อความในคำจำกัดความของคำ โมเสก ที่ว่า เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สำหรับปูพื้นหรือบุผนัง ยังมีอีกประการหนึ่งที่ไม่ถูกต้อง เพราะการปูพื้นหรือบุผนังไม่ถือเป็นงาน โมเสก เนื่องจากการปูพื้นปรกติทำด้วยวัสดุแข็งที่มีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ และการบุผนังก็ทำด้วยวัสดุบาง ๆ ที่มีขนาดใหญ่หรือค่อนข้างใหญ่ การปูพื้นหรือบุผนังจะไม่ทำด้วยเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ คำจำกัดความของคำ โมเสก ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่ว่า เรียกเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ สำหรับปูพื้นหรือบุผนัง ไม่ใช่คำจำกัดความของคำ mosaic แต่เป็นคำจำกัดความของคำ tesserae ซึ่งหมายถึง วัสดุชิ้นเล็ก ๆ มีหลายสี และมีขนาดพอ ๆ กัน สำหรับใช้จัดเรียงลงในพื้นที่มีความเหนียวซึ่งเตรียมพื้นด้วยยางไม้ ปูนซีเมนต์ ปูนฉาบ หรือปูนกาว ได้แก่ วัสดุจำพวกกระจก หิน หินอ่อน แร่ กระเบื้อง เปลือกหอย หรือวัสดุอื่นที่เหมาะสม ซึ่งอาจรวมถึงเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ ด้วย คำจำกัดความของคำ โมเสก ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ จึงเป็นที่น่าเชื่อว่ายังไม่ถูกต้องตามความหมายของคำ mosaic ควรจะได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง โดยที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการทั่วไป ไม่จำเป็นต้องแสดงคำจำกัดความที่ละเอียดมากอย่างที่ปรากฏในพจนานุกรมศัพท์ศิลปะ จึงอาจใช้ว่า “โมเสก น. เรียกกลวิธีการนำเครื่องเคลือบดินเผาแผ่นเล็ก ๆ มีสีต่าง ๆ เป็นต้น มาจัดเรียงเป็นภาพหรือลวดลายบนพื้นผิวต่าง ๆ เช่น พื้นหรือผนัง; เรียกภาพหรือลวดลายที่ทำขึ้นด้วยกลวิธีดังกล่าวนี้ (อ. mosaic).” นอกจากคำ โมเสก แล้ว ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ยังมีคำอื่นอีกมากที่เป็นคำทับศัพท์จากภาษาต่างประเทศ สมควรที่ผู้รู้ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องโดยตรงจะได้ศึกษาและตรวจสอบกับความหมายของคำศัพท์เดิม หากพบความไม่ถูกต้องจะได้ทำการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องต่อไป ทั้งนี้เพื่อให้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นหนังสืออ้างอิงทางวิชาการที่มีความถูกต้องและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นเป็นสำคัญ นายสนั่น รัตนะ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง งานเครื่องรักอาเซียน สรุปความได้ว่า งานเครื่องรักอาเซียนเป็นงานศิลปกรรมของกลุ่มคนในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใช้ยางรัก คือ ยางของต้นรักเป็นวัสดุหลักสำคัญในการสร้างผลงาน แต่ละชาติมีจุดหมายการสร้างที่คล้ายคลึงกันคือ ทั้งที่มุ่งถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก ลักษณะเป็นงานศิลปะพื้นบ้านหรือหัตถกรรม อีกประการหนึ่งมุ่งถือความงามเป็นหลัก จัดเป็นงานหัตถศิลป์ ประณีตศิลป์ ส่วนรูปแบบของการสร้างงานมีวิธีการต่าง ๆ ลวดลายที่ใช้ประดับตกแต่งจะมีลักษณะเฉพาะที่แสดงจุดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชนชาติในประเทศไทย เรียกชื่อตามเทคนิควิธีการสร้าง งานต่าง ๆ ดังนี้ เครื่องเขิน งานลงรักปิดทองเนื้อเกลี้ยง งานลงรักประดับกระจก งานลงรักประดับมุก ลายรดน้ำ งานรักสีหรือลายกำมะลอ งานลงรักปิดทองลายฉลุ งานลงรักปิดทองล่องชาด งานลงรักปิดทองเครื่องศิราภรณ์และหัวโขน ๏ วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รศ. ดร.ศานติ ภักดีคำ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ‘มงคลบุรี’ เมืองเขมรส่วนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น สรุปความได้ว่า การศึกษาเรื่องเมืองมงคลบุรีในที่นี้ได้มาจากผลการศึกษาเอกสารโบราณภาษาเขมร และการอ่านแปลศิลาจารึกภาษาเขมรที่พบในประเทศกัมพูชา ประกอบกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ไทยและกัมพูชา เพื่ออธิบายถึงความสำคัญของเมืองมงคลบุรี และพัฒนาการของเมืองมงคลบุรีที่เกี่ยวกับไทย เมืองมงคลบุรี (มงฺคลบุรี ออกเสียงว่า มงก็วลโบเร็ย) เป็นเมืองที่ตั้งขึ้นใหม่ในเส้นทางการเดินทัพไทย-กัมพูชา ในสมัยรัชกาลที่ ๓ อย่างไรก็ตามพื้นที่บริเวณใกล้เคียงกับเมืองมงคลบุรีเคยเป็นที่ตั้งของเมืองอยู่ก่อน ๒ เมือง คือ เมืองเพนียดและเมืองโตนด ซึ่งปรากฏหลักฐานว่า เมืองเพนียดเป็นจุดร่วมหรือชุมทางที่สามารถแยกไปเมืองเสียมราบหรือเมืองพระตะบองได้ ส่วนเมืองโตนดเป็นเมืองที่อยู่ริมแม่น้ำโตนดซึ่งเป็นจุดที่ใช้สำหรับลงเรือล่องลงไปยังเมืองพระตะบองได้ ต่อเมื่อมีการพัฒนาเส้นทางเพื่อใช้เป็นเส้นทางเดินทัพในสงครามอานามสยามยุทธ์ ทำให้มีการย้ายศูนย์กลางของเมืองมาไว้ที่เมืองมงคลบุรี และเป็นเมืองที่พระองค์ด้วง (อฺนกพฺระองฺคฑวง) ปกครอง ก่อนที่จะได้ขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระหริรักษรามาอิศราธิบดี (สมฺเฎจพฺระหริรกฺสรามาอิสฺราธิบตี) เมืองนี้มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเมืองที่พระองค์ราชาวดี รศ.กรรณิการ์ วิมลเกษม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง จารึกอักษรฝักขามของเชียงตุง สรุปความได้ว่าการศึกษาอักขรวิทยาของอักษรฝักขามในจารึกที่พบในเมืองเชียงตุงและเมืองใกล้เคียงที่เคยอยู่ในอาณาเขตของรัฐเชียงตุงในอดีตในครั้งนี้ ใช้ข้อมูลจารึกจำนวน ๑๕ หลัก มีอายุตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๙๔-พ.ศ. ๒๑๗๔ ผลการศึกษาด้านอักขรวิทยาของอักษรฝักขามในจารึกเชียงตุงพบว่า เชียงตุงรับอักษรฝักขามจากล้านนาผ่านการรับพระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ อักษรฝักขามในจารึกเชียงตุงมีลักษณะอักษร มีส่วนประกอบของตัวอักษร ๔ ส่วน คือ พยัญชนะ ๓๔ รูป สระ ๒๐ รูป ตัวเลข ๑๐ ตัว และรูปเครื่องหมาย ๔ ประเภท รวมทั้งมีอักขรวิธีและมีพัฒนาการของตัวอักษรโดยรวมเช่นเดียวกับตัวอักษรฝักขามที่ใช้ในอาณาจักรล้านนาในช่วงเวลาเดียวกัน ยกเว้นมีเพียงรูปตัวเลข ๑ อีกรูปแบบหนึ่ง และการเขียนคำแบบพิเศษ ๒ คำ คือ คำว่า พญา และคำว่า แก่ ที่พบใช้ในจารึกเชียงตุงเท่านั้น ซึ่งก็สอดคล้องกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากตำนานมูลศาสนา ฉบับวัดป่าแดง ที่กล่าวถึงการไปศึกษาพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์จากเชียงตุงในสมัยพระเจ้ากือนา และจากเนื้อหาของจารึกวัดป่าแดงที่กล่าวว่าพระเขมมงคลเถรได้มาศึกษาพระพุทธศาสนาในเชียงใหม่ และผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นอีกด้วยว่าตลอดระยะเวลา ๑๘๐ ปีนั้น ทางล้านนาและเขียงตุงมีการติดต่อสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้การเปลี่ยนแปลงของรูปอักษรและอักขรวิธีในจารึกอักษรฝักขามของเชียงตุงเหมือนกับทางล้านนา นอกจากนี้ ยังพบการใช้ตัวอักษรธรรมบางตัวปนกับอักษรฝักขามมาตั้งแต่ในจารึกวัดป่าแดง พ.ศ. ๑๙๙๔ ที่พบการใช้ตัวเชิง ร และเขียนคำว่า จัก แบบตัวธรรม เป็น จั และการใช้ตัวเชิง น ในวัดบัวงามด้าน ๑ พ.ศ. ๑๙๙๕ อันแสดงให้เห็นว่าคนไทเขินใช้อักษรธรรมกันอย่างแพร่หลายมาก่อนที่จะใช้ตัวอักษรฝักขาม จึงนำเอารูปอักษรธรรมมาใช้ร่วมกับตัวอักษรฝักขามได้อย่างดี และพบการใช้ตัวเลข ๗ แบบเลขโหราที่พบใช้ในจารึกเวียงเชียงเหล็กตั้งแต่ พ.ศ. ๒๑๑๐ เป็นต้นมา ร่วมกับการใช้ตัวเชิงของตัวอักษรธรรมอีกหลายตัวนั้นยิ่งแสดงให้เห็นอิทธิพลของตัวอักษรธรรมที่มีต่ออักขรวิธีอักษรฝักขามในจารึกเชียงตุงมากขึ้น |
12/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ. ดร.มนุวดี หังสพฤกษ์ ราชบัณฑิต และ ผศ. ดร.เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยายเรื่อง ขยะไมโครพลาสติกในมหาสมุทร สรุปความได้ว่า เมื่อไม่นานมานี้เอง เราก็เป็นห่วงกับแค่ขยะพลาสติกเป็นชิ้นโต ๆ ที่ล่องลอยหรือจมอยู่ที่พื้นท้องทะเลว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ทะเล แต่ปัจจุบันเรามองลึกลงไปกว่านั้นถึงพลาสติกชิ้นเล็ก ๆ จึงเป็นที่มาของศัพท์ ไมโครพลาสติก (Microplastic) ซึ่งเข้าสู่ระบบผลิตภัณฑ์นานาชนิดที่อยู่ใกล้ตัวเรา เช่น ยาสีฟัน ครีมล้างหน้า สบู่อาบน้ำ ในรูปของเมล็ดขนาดจิ๋ว (microbeads) จาก Face to Fish เมื่อสิ่งมีชีวิตกลืนเข้าไปก็จะไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ก่อให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย และในฐานะที่ทำงานทางด้านสมุทรศาสตร์จึงเป็นมุมมองไปในด้านนั้น การแพร่กระจายของไมโครพลาสติกในมหาสมุทรเกิดได้โดยการหมุนเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร มี gyre ๕ วงจรในมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือและใต้ แอตแลนติก และอินเดีย ประเมินกันว่ามีขยะพลาสติก ๓๑๕ พันล้านปอนด์หมุนเวียนอยู่ในนี้ เรื่องนี้เป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวัน เพราะความมักง่ายของมนุษย์ในการไม่ดูแลการทิ้งของเสียให้เหมาะสม ๏ วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ศ. ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เถ้าลอยหงสา สรุปความได้ว่า เถ้าลอยเป็นผลพลอยได้จากการเผาถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า ประเทศไทยมีเถ้าลอยจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นแหล่งสำคัญ เริ่มการผลิตไฟฟ้าใน พ.ศ. ๒๕๒๑ มีการวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้งานที่สำคัญตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๓ ปัจจุบันมีกำลังการผลิต ๒,๔๐๐ เมกกะวัตต์ สำหรับประเทศลาว แหล่งเถ้าลอยที่สำคัญมาจากโรงไฟฟ้าหงสา ซึ่งเพิ่งจะเริ่มการผลิตไฟฟ้าใน พ.ศ. ๒๕๕๘ มีกำลังการผลิต ๑,๘๗๘ เมกกะวัตต์ เถ้าลอยเป็นวัสดุปอซโซลาน มีซิลิกา (Silica) และ อะลูมินา (Alumina) เป็นองค์ประกอบหลักสามารถใช้ทดแทนซีเมนต์ในงานคอนกรีต สามารลดความร้อนจากปฏิกิริยา (Heat of hydration) ทำให้คอนกรีตมีความทนทานขึ้น การต้านทานการซึมผ่านของคลอไรด์ (Chloride) ความสามารถในการป้องกันการเกิดสนิมของเหล็กเสริม และการต้านทานการกัดกร่อนของสารซัลเฟต (Sulfate) ดีขึ้น นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นวัสดุตั้งต้นในการสังเคราะห์จีโอโพลิเมอร์ (Geopolymer) ซึ่งถือเป็นวัสดุเชื่อมประสานทางเลือกสำหรับอนาคต ทั้งเถ้าลอยแม่เมาะและเถ้าลอยหงสาได้มาจากถ่านหินลิกไนต์ (Lignite) เถ้าลอยหงสามีผลรวมของ SiO2+Al2O3+Fe2O3 มากกว่าร้อยละ ๗๐, CaO ประมาณ ร้อยละ ๘ จัดอยู่ในเถ้าลอย class F ขณะที่เถ้าลอยแม่เมาะผลรวมของ SiO2+Al2O3+Fe2O3 มากกว่าร้อยละ ๕๐, CaO ร้อยละ ๑๕-๒๐ จัดอยู่ในเถ้าลอย class C เถ้าลอยจากทั้ง ๒ แหล่งมีค่าดัชนีความเป็นปอซโซลาน (Pozzolanic Activity Index) สูงกว่าร้อยละ๘๐ ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C618 ในด้านความละเอียด เถ้าลอยหงสามีความละเอียดต่ำกว่าโดยมีขนาดอนุภาคเฉลี่ย ๔๕-๕๐ µm ค้างตะแกรง # 325 ประมาณร้อยละ ๔๐ เปรียบเทียบกับเถ้าลอยแม่เมาะที่มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย ๒๕-๓๕ µm ค้างตะแกรง # 325 ประมาณร้อยละ ๒๕-๓๐ เถ้าลอยความละเอียดสูงเมื่อนำไปใช้งานคอนกรีตจะให้กำลังรับแรงสูงขึ้นและสมบัติด้านความทนทานดี เถ้าลอยแม่เมาะมีการวิจัยและพัฒนาเพื่อการใช้งานตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๓ จากสถาบันการศึกษา เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น Asian Institute of Technology และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ในด้านการใช้งานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเริ่มใช้เถ้าลอยแม่เมาะใน พ.ศ. ๒๕๓๑ ในงานวัสดุถมและงานดิน การใช้เถ้าลอยแม่เมาะที่สำคัญเป็นการใช้คอนกรีตบดอัดที่เขื่อนปากมูลใน พ.ศ. ๒๕๓๗ และประเทศไทยได้จัดทำมาตรฐานเถ้าลอย มอก. ๒๑๓๕-๒๕๔๕ เถ้าลอยจากถ่านหินใช้เป็นวัสดุผสมคอนกรีต ใน พ.ศ. ๒๕๔๕ สำหรับเถ้าลอยหงสา ได้มีความพยายามที่จะนำไปใช้งาน ได้เริ่มการเก็บข้อมูลที่สำคัญของเถ้าลอย ได้จัดการสัมมนาการใช้เถ้าลอยหงสา ได้มีการตกลงในความร่วมมือทางวิชาการในการวิจัยเถ้าลอยหงสาระหว่างสถาบันการศึกษาไทยและลาว ดังนั้นจึงเป็นที่คาดหมายว่าเถ้าลอยหงสาจะมีบทบาทที่สำคัญในอนาคตอันใกล้นี้ ศ. ดร.ธนารักษ์ ธีระมั่นคง ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ภาษาไทยกับงานวิจัยด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ สรุปความได้ว่า ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒ ภาษา คือถ้อยคำที่ใช้พูดหรือเขียนเพื่อสื่อความของชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน หรือเพื่อสื่อความเฉพาะวงการ เช่น ภาษาราชการ ภาษากฎหมาย ภาษาธรรม; เสียง ตัวหนังสือ หรือ กิริยา; อาการที่สื่อความได้ เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน ภาษาท่าทาง ภาษามือ. ปัจจุบันกว้างขึ้น โดยรวมไปถึง กลุ่มของชุดอักขระ สัจนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษา จาวา. การเข้าใจถึงภาษาจะทำให้เราเข้าใจตัวเราเอง คนรอบข้าง สังคม และแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ ความพยายามที่จะนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการประมวลภาษาธรรมชาติเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๔๗) ในครั้งนั้นนักวิจัยได้พยายามที่จะนำเอาคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแปลภาษาอังกฤษ เป็นภาษาฝรั่งเศส สำหรับการค้นคว้าวิจัยการประมวลผลภาษาธรรมชาติในเมืองไทยนั้น ได้มีความพยายามนำคอมพิวเตอร์มาใช้แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษใน พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑) อย่างไรก็ตาม ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีความซับซ้อนตั้งแต่โครงสร้างระดับตัวอักษรจนถึงโครงสร้างของย่อหน้า ๑. ในระดับโครงสร้างตัวอักษรนั้น ภาษาไทยมีพยัญชนะ ๔๔ รูป สระ ๒๑ รูป วรรณยุกต์ ๔ รูป ตัวเลข ๑๐ รูป และ เครื่องหมายวรรคตอนและสัญลักษณ์พิเศษต่าง ๆ เช่น มหัพภาคหรือจุด จุลภาคหรือลูกน้ำ ไม้ทัณฑฆาต (ตัวการันต์) เป็นต้น การเขียนเรียงอักษรมีความซับซ้อน โดยไม่ใช่เพียงเขียนเรียงอักษรจากซ้ายไปทางขวาเท่านั้น แต่มีการวางตัวอักษรในแนวตั้ง ที่มีระดับได้ถึง ๔ ระดับ เช่น อักษรที่วางระดับบน ได้แก่ ไม้เอก ไม้โท ไม้หันอากาศ อักษรที่วางระดับล่าง ได้แก่ สระอุ สระอู อักษรที่วางบนของระดับบนอีกที ได้แก่ ไม้เอก ที่อยู่บนไม้หันอากาศ เป็นต้น ๒. ในระดับโครงสร้างพยางค์นั้น ถ้าเราสังเกตให้ดี จะเห็นได้ว่า มีกฎในการเรียงอักษรบางอย่างอยู่ เช่น สระหน้า พยัญชนะ วรรณยุกต์ และสระหลัง จะสามารถรวมกันเป็นหน่วยเสียงที่เรียกว่า พยางค์ ได้ โดยรูปแบบนี้ เมื่อใครเห็นก็จะเข้าใจและอ่านออกเสียงตรงกัน ขณะเดียวกัน เนื่องจากภาษาไทยมีสระลดรูป ทำให้เพียงพยัญชนะเพียงตัวเดียวก็สามารถออกเสียงได้เป็นหนึ่งพยางค์ ประหนึ่งมีสระอะอยู่ แต่ไม่เขียนออกมาให้ชัด เช่น สามพยางค์แรกของคำ “กรกฎาคม (คำอ่าน กะ-ระ-กะ-ดา-คม)” นอกจากนี้ พยัญชนะสองตัวต่อกัน ก็สามารถออกเสียงคล้ายกับมีสระอยู่ ในลักษณะของมาตราตัวสะกดในภาษาไทย (แม่กด แม่กน แม่กม และ อื่น ๆ) เช่น “คม” ที่ในคำ “กรกฎาคม” หรือ “กล” ที่ในคำ “กลยุทธ์” เป็นต้น ลักษณะพิเศษทั้งสอง (สระลดรูปและมาตราตัวสะกด) นี้ทำให้การอ่านภาษาไทยกำกวมโดยอ่านเสียงได้มากกว่าหนึ่งแบบ ๓. ในระดับโครงสร้างคำนั้น ในภาษาไทยเราสามารถนำคำสั้น ๆ มาผสมต่อเป็นคำไม่ที่ยาวขึ้นและมีความหมายได้ เช่น รถขนผัก ผู้จัดการ ตู้รถไฟ ข้าราชการ เป็นต้น. นอกจากนี้ ภาษาไทยเราไม่มีข้อกำหนดการเว้นวรรคระหว่างคำที่ชัดเจน ประกอบกับการที่เราสร้างคำใหม่ได้จากคำสั้น จึงทำให้การระบุว่าคำมีขอบเขตเท่าใดนั้นไม่ชัดเจน กล่าวคือ นิยามของคำไม่ชัดเจน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการตัดสินว่า กลุ่มตัวอักษรที่ต่อกัน ควรนับเป็นคำ ๆ เดียว หรือควรนับเป็นคำผสมที่เกิดจากคำมากกว่าหนึ่งคำ มาต่อกัน คำบางคำมีลักษณะเป็นโครงสร้างของประโยค เช่น รถขนผัก อุปกรณ์รับส่งสัญญาณ เป็นต้น ๔. ในระดับโครงสร้างของประโยค ในภาษาไทยเราไม่มีนิยามขอบเขตของประโยคที่ชัดเจน ลักษณะนี้ทำให้เราไม่สามารถระบุได้ว่า ประโยคสิ้นสุดแล้วหรือยัง และ ทำให้เกิดการเขียนเรียงความที่มีโครงสร้างซับซ้อน ผลที่เกิดขึ้นคือ ความกำกวมของความหมายของเรียงความที่เขียนขึ้น ในภาษาไทยเราสามารถเขียนเชื่อมโยงใจความได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องคำนึงถึงขอบเขตของประโยค แต่จะคำนึงถึงความหมายของเนื้อหาและการเชื่อม นอกจากนี้ ยังมีความสับสนที่เกิดจากความคล้ายกันของโครงสร้างคำและประโยค เช่น คนขับรถ (คำ), คนขับรถบรรทุก (คำหรือประโยค), คนขับรถบรรทุกผัก (ประโยค) คนขับรถบรรทุกผักไปขาย (ประโยค) เป็นต้น นอกจากโครงสร้างตัวอักษรไปจนถึงโครงสร้างประโยคที่ซับซ้อนข้างต้นแล้ว ภาษาไทยยังมีโครงการไวยากรณ์ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น เรามีการละประธาน ละกรรม หรือ สลับตำแหน่งคำในประโยคได้ ดังนั้น คนไทยเราเข้าใจภาษาไทยจากการเชื่อมโยงความหมาย จากลักษณะพิเศษของภาษาไทยข้างต้น ทำให้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ยากต่อการใช้คอมพิวเตอร์มาประมวลผลเพื่อตีความหรือวิเคราะห์ การประมวลผลภาษาธรรมชาติในภาษาไทยที่ผ่านมา เริ่มจากการสร้างโปรแกรมเพื่อให้เราสามารถสร้างเอกสารภาษาไทยได้บนคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โปรแกรมประมวลผล (Word Processor) ปัญหาที่พบอยู่ที่การตัดคำเพื่อให้การเปลี่ยนบรรทัด ไม่ตัดที่ระหว่างคำ เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายไม่ติดขัด. ในช่วง พ.ศ. ๒๕๒๔ (ค.ศ. ๑๙๘๑) มีความพยายามนำคอมพิวเตอร์มาใช้แปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ. ได้มีโครงการแปลภาษาหลายภาษาชื่อ CICC Project ในช่วง พ.ศ. ๒๕๒๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๘๕ ถึง ค.ศ. ๑๙๙๕) โครงการนี้มีลักษณะพิเศษ คือ แทนที่จะแปลโดยตรงระหว่างคู่ภาษา แต่ศึกษาวิธีการการแปลภาษาไปเป็นภาษากลาง (Interlingua) ก่อนที่จะแปลไปสู่อีกภาษาหนึ่ง. หลังจากนั้น งานวิจัยด้านการประมวลภาษาไทยได้พัฒนาไปในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ระบบสืบค้นข้อมูล, ระบบรู้จำเสียง, ระบบสังเคราะห์เสียง, ระบบรู้จำตัวอักษร, ระบบแบ่งประเภทข้อมูล, ระบบประมวลภาษามือ (ใบ้), ระบบย่อความ, ระบบการวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึกจากข้อความ เป็นต้น เพื่อให้งานวิจัยด้านการประมวลภาษาไทยมีความก้าวหน้ามาขึ้น เราจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาทรัพยากรเชิงคำนวณที่เกี่ยวกับภาษาไทยและอาจรวมไปถึงภาษาอื่นๆที่เราสนใจ. ทรัพยากรเหล่านั้น ได้แก่ คลังคำศัพท์ คลังประโยคหรือข้อความ อัลกอริทึมพื้นฐานที่อยู่ในรูปแบบโปรแกรมพื้นฐานที่ใช้ในการประมวลผลภาษาไทย เช่น โปรแกรมการตัดคำไทย โปรแกรมการตัดประโยค โปรแกรมตัดนิพจน์ระบุนาม โปรแกรมตัดหน่วยใจความพื้นฐาน และโปรแกรมสกัดความหมายหรือความคิดเห็น และโปรแกรมวิเคราะห์อารมณ์และความรู้สึก เป็นต้น |
12/09/2560 |
๏ วันพุธที่ ๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ผศ. ร.ท. ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พุทธธรรมเพื่อการบริหารและการจัดการ สรุปความได้ว่า ในขณะที่การบริหารและการจัดการตามหลักทฤษฎีตะวันตกมีจำนวนมาก ซึ่งมักมุ่งไปที่ผู้นำว่าจะต้องมีวิสัยทัศน์ ฉลาด เข้มแข็ง มีใจกว้าง เสียสละ ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระศาสดา ซึ่งทรงงานหนักด้วยพระองค์เองทุกด้าน เริ่มตั้งแต่การเผยแผ่คำสอน การแสวงหาผู้จะฟังคำสอนของพระองค์ การบวชให้ผู้มีศรัทธา ตลอดจนการบัญญัติสิกขาบทเพื่อการอยู่ร่วมกันของบรรดาพระสาวก ก็ทรงมีหลักธรรมสำหรับบริหารและการจัดการเช่นกัน โดยหลักธรรม ๔ ชุด เพื่อการบริหารจัดการของพระพุทธเจ้า ประกอบด้วย สัปปุริสธรรม ๗ (ธรรมที่แสดงความเป็นคนที่มั่นคง) พรหมวิหาร ๔ (ธรรมสำหรับเป็นอยู่ของเป็นใหญ่) สังคหวัตถุ ๔ (หลักธรรมเพื่อการยึดเหนี่ยวใจ) และสติปัฏฐาน ๔ (หลักธรรมเพื่อความมั่นคงของบุคลิกภาพ) เพื่อให้การบริหารและการจัดการดำเนินไปได้ด้วยดี นักบริหารจัดการจึงจำเป็นต้องมีความรู้ดีในหลายด้าน คือ รู้จักตัวเอง รู้จักงาน รู้จักบุคคลและกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง รู้จักการกระทำซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผล นอกจากนี้ นักบริหารยังต้องรู้ความพอเหมาะพอควรในทุกประเด็นอย่างชัดเจน มีเมตตา รักและปรารถนาดีต่อผู้ร่วมงาน ยินดีด้วยในความสำเร็จของเขาด้วยใจเป็นกลาง ไม่ริษยา และไม่คิดเอาบุญคุณ เมื่อผู้ร่วมงานประสบปัญหา นักบริหารต้องสงสาร เห็นใจ และเข้าช่วยเหลือจนพ้นจากปัญหา แต่หากช่วยไม่ได้ก็ต้องทำใจว่าได้พยายามอย่างดีที่สุดแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งของนักบริหารจัดการคือ ต้องผูกมัดใจผู้ที่ช่วยเหลือนั้นให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อความสำเร็จของงาน ดังนั้น นักบริหารจัดการต้องใจกว้าง รู้จักให้ทั้งให้สิ่งของ คำแนะนำ และคำพูดที่จับใจ ซึ่งต้องเป็นคำจริง มีประโยชน์ พร้อมพูดให้ถูกกาลเทศะ และที่สำคัญคือต้องประพฤติคุณธรรมเหล่านั้นอย่างสม่ำเสมอ ๏ วันพุธที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ รศ. ดร.ชาย โพธิสิตา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับความตาย : เพื่อปลายทางชีวิตที่เป็นธรรมชาติ สรุปความได้ว่า ในยุคที่วิทยาการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้าอย่างทุกวันนี้ ความตายแม้เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ก็สามารถชะลอเอาไว้ได้มากขึ้นด้วยมาตรการทางสาธารณสุข ความเจริญก้าวหน้าดังกล่าวนี้ทำให้คนจำนวนมากตระหนักถึงกฎธรรมชาติของชีวิตและความตายน้อยลง แต่ให้ความสำคัญกับความพยายามที่จะเอาชนะความตายมากขึ้น เมื่อคนส่วนมากเชื่อว่าการแพทย์สมัยใหม่สามารถทำได้แทบทุกอย่าง แม้แต่การยืดเวลาตายของผู้ป่วยที่ถึงวาระสุดท้ายแล้ว จึงมีแนวโน้มที่จะมอบการตัดสินใจทุกอย่างเกี่ยวกับสุขภาพและความตายของตนให้เป็นหน้าที่ของแพทย์ อย่างไรก็ตาม แม้การแพทย์สมัยใหม่จะมีคุณวิเศษเพียงใด แต่ในที่สุดแล้วก็หยุดความตายไม่ได้ ความเชื่อเช่นนั้นจึงเป็นเพียงมายาคติที่ทำให้คนจำนวนมากพลาดโอกาสที่จะได้คิดถึงและเตรียมตัวเพื่อการจากไปที่ดีในวาระสุดท้ายของชีวิต การเตรียมตัวที่ดีนั้นนอกจากจะทำได้ด้วยการดำเนินชีวิตที่สมดุล หลีกเลี่ยงการกระทำที่เสี่ยงต่อสุขภาพแล้ว ยังรวมถึงการเตรียมการเพื่อการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตด้วย เพื่อว่าเมื่อวันนั้นมาถึง ตนจะได้รับการดูแลรักษาที่ช่วยทำให้การเปลี่ยนผ่านสำคัญในปลายทางของชีวิตเป็นไปอย่างเป็นธรรมชาติ สงบ และมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ นัยสำคัญของเรื่องการตายดีได้แก่การเปลี่ยนมุมมองหรือกระบวนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตและความตาย เพื่อการยอมรับความตายได้อย่างไม่ต้องฝืน น่าจะเป็นผลดีทั้งแก่บุคคลและสังคม สำหรับบุคคล การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับความตายช่วยในการเตรียมพร้อมอย่างเหมาะสมสำหรับการรักษาที่ต้องการในวาระสุดท้ายของชีวิต และมีผลให้ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านในปลายทางของชีวิต ส่วนในระดับสังคม การเปลี่ยนกระบวนทัศน์เกี่ยวกับชีวิตและความตายย่อมหมายถึงการปรับระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยใกล้ตายให้ได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม แทนที่จะมุ่งยื้อลมหายใจของผู้ป่วยไว้ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มากเกินจำเป็น จนอาจละเลยสิทธิที่ผู้ป่วยจะได้จากไปอย่างเป็นธรรมชาติ ศ. ดร.จตุรนต์ ถิระวัฒน์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พิธีสารแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ สรุปความได้ว่า การค้ามนุษย์เป็นปรากฏการณ์ระดับโลกที่มีมาช้านาน แต่ทวีความรุนแรงขึ้นมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เนื่องจากเทคนิคสมัยใหม่ของการสื่อสารคมนาคมในยุคโลกาภิวัตน์ การค้ามนุษย์เป็นการกระทำผิดที่มีลักษณะซับซ้อน เพราะเป็นผลจากการดำเนินการโดยกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นเป็นองค์กรและปฏิบัติงานข้ามชาติ การใช้มาตรการเพื่อป้องกันและปราบปรามจึงไม่อาจกระทำได้โดยรัฐใดรัฐหนึ่งเพียงลำพัง นอกจากนี้ การให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์ต้องอาศัยความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐด้วย ดังนั้น การรับมือกับปัญหาดังกล่าวจึงต้องกระทำทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศระดับสากล เช่น องค์การสหประชาชาติ จึงเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกฎเกณฑ์เพื่อสร้างมาตรการต่าง ๆ ให้รัฐสมาชิกนำไปปฏิบัติ พิธีสารแห่งสหประชาติว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ เป็นเครื่องมือในการบังคับใช้กฎหมายและรวมถึงการคุ้มครองเหยื่อไว้ด้วย แนวคิดในพิธีสารฯ มุ่งรักษาสมดุลระหว่างการดำเนินการทางอาญากับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดังนั้นจึงผสมผสานมาตรการบังคับต่าง ๆ ไว้กับการให้ความคุ้มครองเหยื่อ โดยทั้งดำเนินคดีทางอาญากับผู้ค้าและคุ้มครองเหยื่อ พิธีสารฯ เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในการต่อต้านและขจัดอาชญากรรมระหว่างประเทศที่ร้ายแรงและคุกคามความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมของรัฐทั้งหลายในปัจจุบัน แม้จะยังมีข้อจำกัดหลายประการในการปรับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะต้องอาศัยเจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐภาคีทั้งหลายในการร่วมมือกันและปฏิบัติตามพันธกรณีในพิธีสารฯ อย่างแท้จริงและเคร่งครัด แต่ก็นับได้ว่าเป็นก้าวสำคัญของพัฒนาการของการสร้างกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศเพื่อรับมือกับปัญหาที่รัฐใดรัฐหนึ่งไม่อาจแก้ไขได้โดยลำพัง เมื่อพิจารณาบทบาทขององค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องและรัฐมหาอำนาจอย่างเช่น สหรัฐอเมริกาแล้ว การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ในเรื่องนี้เกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับมาตรการบังคับทางเศรษฐกิจและการค้าซึ่งกระทบต่อผลประโยชน์ของรัฐทั้งหลายซึ่งไม่อาจละเลยที่จะให้ความร่วมมือและดำเนินการอย่างเต็มที่ เพื่อให้ความคุ้มครองผู้ตกเป็นเหยื่อและลงโทษปราบปรามอาชญากรซึ่งเป็นภัยต่อสังคมระหว่างประเทศโดยรวม |
01/03/2560 |
วันนี้ (๑ มี.ค. ๖๐) เวลา ๙.๓๐ น. ณ ห้องประชุมชั้น ๕ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ได้มีการประชุมสำนักธรรมสาสตร์และการเมือง ครั้งที่ ๕/๒๕๖๐ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัยของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก และพิจารณาเรื่องสำคัญต่าง ๆ สำหรับการบรรยายผลงานวิชาการครั้งนี้ บรรยายเรื่อง ทฤษฎีการเมืองใหม่ภายใต้สภาวะใหม่และการใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ของ ฯพณฯ ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง โดย นายสงวน ลิ่วมโนมนต์ ภาคีสมาชิก นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้มีพิจารณาเลือกประธาน และเลขานุการสำนักฯ ใหม่แทนประธาน และเลขานุการสำนักฯ ที่จะดำรงตำแหน่งครบตามวาระด้วย |
22/02/2560 |
การเสวนาทางวิชาการ ปัญหาโลกร้อน กับการยกระดับของน้ำทะเล เป็นที่รู้กันว่าปัญหาโลกร้อนเกิดจากปรากฏการณ์เรือนกระจกของโลก อันเนื่องมาจากการปล่อยปริมาณแก๊สเรือนกระจก (greenhouse gas) ตัวอย่างเช่น CO2, CH4, N2O สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (climate change) อย่างไม่เป็นไปตามธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศมีผลกระทบต่อความอยู่รอดของสัตว์โลก เริ่มจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่เพิ่มขึ้น ตามด้วยการละลายของน้ำแข็งในขั้วโลก ซึ่งส่งผลทำให้ระดับน้ำทะเลค่อย ๆ ยกตัวสูงขึ้นกว่าในระดับปัจจุบัน ในอดีต การเพิ่มของระดับน้ำทะเลไม่ใช่ไม่เคยเกิด แต่เคยเกิดในอัตราตามธรรมชาติ คือเมื่อโลกร้อน น้ำทะเลก็มีระดับสูงขึ้น เปลือกโลกที่เป็นผืนดินก็ถูกปกคลุมด้วยน้ำมากชึ้น เมื่อโลกเย็นตัวลงระดับน้ำทะเลก็มีระดับต่ำลง ผืนดินก็ถูกปกคลุมด้วยน้ำทะเลน้อยลง การเพิ่มของระดับน้ำทะเล ขึ้นอยู่กับ ๒ ปัจจัย คือ (๑) การขยายปริมาตรของน้ำเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น และ (๒) น้ำแข็งขั้วโลกใต้ที่เคยอยู่บนแผ่นดินละลายทำให้ปริมาตรของน้ำทะเลเพิ่มขึ้น ขั้วโลกเหนือ อาร์กติกไม่ได้ถือเป็นทวีป แต่จะถูกล้อมรอบไปด้วยทวีปต่าง ๆ ได้แก่ ทวีปเอเชีย ทวีปยุโรป และทวีปอเมริกาเหนือ ส่วนขั้วโลกใต้ คือ ทวีปแอนตาร์กติกาถูกล้อมรอบไปด้วยมหาสมุทร ได้แก่ มหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแอตแลนติก น้ำแข็งที่อาร์กติกมีความหนาเฉลี่ยเพียง ๒-๓ เมตร เท่านั้น แต่น้ำแข็งที่ปกคลุมทวีปแอนตาร์กติกามีความหนาเฉลี่ยถึง ๒,๔๕๐ เมตร ในฤดูหนาว ทวีปแอนตาร์กติกามีอุณหภูมิประมาณ –๖๕ ถึง –๗๐ องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนอยู่ที่ประมาณ –๒๕ ถึง –๔๕ องศาเซลเซียส ขณะที่อาร์กติกมีอุณหภูมิในฤดูหนาวประมาณ –๒๖ ถึง –๔๓ องศาเซลเซียส ส่วนฤดูร้อนมีอุณหภูมิประมาณ ๐ องศาเซลเซียส รายงานล่าสุดของวารสาร Science ได้เผยว่าการละลายของชั้นน้ำแข็งแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้นั้น เกิดขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าที่คาด ถึงร้อยละ ๗๐ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยข้อมูลจากดาวเทียมระบุว่าช่วงเวลา ๑๘ ปีที่ผ่านมานั้น ชั้นน้ำแข็งได้ละลายไป ๓๑๐ ตารางกิโลเมตรต่อปีทุกปี แต่ละชั้นนั้นสูญเสียความหนาไปร้อยละ ๑๘ และที่น่าตกใจไปกว่านั้นคือ เมื่อเร็ว ๆ นี้ มีรายงานว่า แอนตาร์กติกามีอุณหภูมิสูงถึง ๑๗.๕ องศาเซลเซียส สูงกว่าอุณหภูมิในลอนดอนที่อยู่ที่ ๑๐ องศา การที่ทะเลน้ำแข็งอาร์กติกละลายในขั้วโลกเหนือ อาจไม่ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพราะน้ำแข็งลอยอยู่ในทะเลอยู่แล้ว ส่วนที่ทวีปแอนตาร์กติกาในขั้วโลกใต้นั้น ชั้นน้ำแข็งเดิมเป็นก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่อยู่บนพื้นทวีป เมื่อละลายก็จะไหลลงสู่มหาสมุทร นั่นหมายความว่าปริมาณน้ำแข็งที่ละลายจะไปเพิ่มปริมาณน้ำในทะเล ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น การศึกษาวิจัยของ the Potsdam Institute for Climate Impact Research ทำให้สามารถทำนายได้ว่า ระดับน้ำทะเลของโลกจะสูงขึ้น ๒.๓ เมตร ต่อการเพิ่มอุณหภูมิโลกโดยเฉลี่ย ๑ องศาเซลเซียส แม้นานาชาติจะสามารถทำได้ตามข้อตกลงในการประชุมระดับโลก COP21 ที่กรุงปารีส โดยควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน ๒ องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ การที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ๒ องศา ก็จะทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นอีก ๕ เมตร ในระดับดังกล่าวจะมีผลกระทบต่อเมืองใหญ่ ๆ ในประเทศสหรัฐอเมริกา เช่น นิวออร์ลีนส์ ไมแอมี นิวยอร์ก บอสตัน ประเทศในยุโรปเหนือ ประเทศในทวีปอเมริกาใต้ และหลายประเทศในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะ บังกลาเทศ มัลดีฟส์ ไทย เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนิเซีย เป็นต้น ถ้าลองพิจารณากรณีร้ายแรงที่สุด คือกรณีที่นานาชาติไม่สามารถควบคุมการปล่อยแก๊สเรือนกระจก โลกก็จะเดินไปสู่จุดที่เรียกว่า Eocene conditions ได้แก่ ภาวะที่น้ำแข็งจะละลายหมดทั้งโลก ซึ่งคำนวณได้ว่า ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มสูงกว่าปัจจุบันถึง ๑๐๐ เมตร หลายประเทศที่อยู่ริมฝั่งทะเลจะจมน้ำหายไป ทั้งมลรัฐตามชายฝั่งของประเทศสหรัฐฯ ประเทศด้านเหนือของทวีปยุโรป ประเทศบังกลาเทศจะจมหายไปทั้งประเทศ ส่วนหนึ่งของประเทศอินเดีย ประเทศจีน และเอเชียอาคเนย์ ก็จะจมอยู่ใต้บาดาล สำหรับประเทศที่มีพื้นที่ภายในเหลือพอก็จะต้องมีการอพยพผู้คนกันขนานใหญ่ ส่วนในบางประเทศ เช่น บังกลาเทศ ที่จมหายไปทั้งประเทศ ประชาคมโลกจะเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างไร? สำหรับประเทศไทย ถ้าน้ำทะเลสูงเพิ่มถึง ๖๐ เมตร ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจะจมน้ำทะเล ขึ้นไปถึงจังหวัดพิษณุโลก ดังแผนที่ที่คำนวณโดยการจำลองทางคณิตศาสตร์ข้างล่างนี้
|