2724_6125

3 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๘ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ ครอบครัว เพราะทำให้สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่า ในขั้นตอนใด ของวัฏจักรครอบครัว พัฒนาการของครอบครัวจะเป็นอย่างไร หัวใจหลักของครอบครัวที่เป็นสุข คือ ความรักในครอบครัว ความรักความผูกพันนำมาซึ่งความสุข เพราะเป็นพลังใจให้กับสมาชิก ในครอบครัว ทำหน้าที่ของตนอย่างเต็มใจ โดยเฉพาะการอบรมเลี้ยงดู เด็กในครอบครัว ดังนั้น ควรให้ความรู้สนับสนุนให้บุคคลมีภูมิคุ้มกัน ที่สร้างและพัฒนาครอบครัวที่เป็นสุขและมีคุณค่าในสังคม สำนักวิทยาศาสตร์ • วันพุธที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ.เกียรติคุณอมเรศ ภูมิรัตน ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การใช้ เครือข่ายวิจัยนานาชาติในการพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ความโดยสรุปว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า ผลงานวิจัยที่มี ผลกระทบสูงในทางวิชาการ มักจะเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ในวารสารนานาชาติที่เป็นที่ยอมรับ และเป็นผลงานที่ได้รับการอ้างอิง สูงด้วย นอกจากนี้ ผลงานวิจัยที่มีลักษณะเป็นสหสาขาวิชามักจะมี ผลกระทบสูงในเชิงวิชาการและในการนำไปใช้ประโยชน์ ดังนั้น ในการที่จะก่อให้เกิดผลงานวิจัยที่มีผลกระทบสูงในลักษณะนี้ได้นั้น การดำเนินการวิจัยในปัจจุบันมักจะดำเนินการเป็นกลุ่มวิจัย หรือเป็น เครือข่ายวิจัย เพื่อให้เกิดการดำเนินการวิจัยร่วมกัน (collabo- ration) ในลักษณะสหสาขาวิชา (multidisciplinary) ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้นและเพื่อเป็นการสนับสนุนการวิจัย ในลักษณะที่เป็นเครือข่าย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จึงได้ริเริ่มการให้ทุนสนับสนุนกลุ่มวิจัยในลักษณะเครือข่ายวิจัย นานาชาติ (International Research Network : IRN) ขึ้นในปี งบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่งโครงการนี้ได้รับการพัฒนามาจากโครงการ ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ซึ่ง สกว. ได้ดำเนินการให้ทุน คปก. มาแล้วเกือบ ๑๕ ปี และก่อให้เกิดการเชื่อมโยงติดต่อกันระหว่าง นักวิจัยของไทยและนักวิจัยในต่างประเทศจำนวนมาก โครงการ คปก. เป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการวิจัยร่วมกันเป็นอย่างดี โดยที่ ส่วนหนึ่งของการสนับสนุนนี้เรียกได้ว่าเป็นทุนสนับสนุนการแลกเปลี่ยน วิชาการ (mobility fund) ซึ่ง สกว. คาดหวังว่า ในอนาคตโครงการ เครือข่ายวิจัยนานาชาติที่กำลังเกิดขึ้นนี้ จะสามารถยกระดับความร่วมมือ กับนานาชาติและก่อให้เกิดความร่วมมือการให้ทุนสนับสนุนงานวิจัย (joint research fund) และในที่สุดอาจเกิดขึ้นเป็นหน่วยวิจัย นานาชาติ (joint research center) ขึ้นได้ในประเทศไทย โดยคาดหวัง ว่ากระบวนการสนับสนุนการวิจัยทั้งหมดนี้ จะกระตุ้นให้นักวิจัยของไทย สามารถดำเนินการร่วมมือการวิจัยในระดับนานาชาติ โดยใช้หัวข้อวิจัย หรือโจทย์วิจัยที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยเป็นหลัก และจะทำให้ผลงานวิจัยของประเทศไทยมีผลกระทบสูงทั้งทางด้าน เศรษฐกิจและสังคมไทยในอนาคตอันใกล้นี้ ศ.เกียรติคุณ ดร. นพ.สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต บรรยาย เรื่อง การออกวารสารราชบัณฑิตยสถาน ความโดยสรุปว่า ราชบัณฑิตยสถานได้จัดพิมพ์วารสารราชบัณฑิตยสถานฉบับแรก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๘ และได้พัฒนาเป็นลำดับตลอดมา จนกระทั่ง ในช่วง ๒-๓ ปีที่ผ่านมา สถานภาพของวารสารฯ เริ่มลดถอยลง ด้วยสาเหตุต่าง ๆ และด้วยการแก้ปัญหาไม่ตรงจุด ดังนั้น เมื่อเร็ว ๆ นี้ จึงมีบุคลากรสำนักวิทยาศาสตร์บางคนเสนอให้ช่วยกันแก้ไข ในที่สุด ได้ตกลงกันในที่ประชุมสำนักฯ ว่าจะแยกวารสารของสำนักวิทยา- ศาสตร์เป็นเอกเทศ ไม่รวมอยู่ในฉบับปรกติ แต่ผู้บรรยายมีความเห็นว่า วิธีดังกล่าวนี้อาจไม่เหมาะ ไม่ถูกต้อง จึงขอเสนอวิธีการออกวารสาร ราชบัณฑิตยสถานเป็นฉบับรวมสำนักเป็นภาษาไทยตามเดิม และออก วารสารราชบัณฑิตยสถานภาษาอังกฤษดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน • วันพุธที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ศ. ดร.สายชล เกตุษา ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง การเคลือบ ผิวผักและผลไม้หลังการเก็บเกี่ยว ความโดยสรุปว่า ผักและผลไม้ เป็นผลิตผลพืชสวนที่เน่าเสียง่ายและมีอายุการเก็บรักษาสั้น หลังการ เก็บเกี่ยวผัก และผลไม้ยังมีชีวิตและดำเนินกิจกรรมทั้งด้านสรีระ และชีวเคมีเช่นเดียวกับขณะยังอยู่บนต้นเดิม การเปลี่ยนแปลง หลายอย่างที่เกิดขึ้นในผักและผลไม้ นำไปสู่การเสื่อมคุณภาพและเกิด การเน่าเสียที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ การเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง ที่เห็นชัดเจนคือ การเหี่ยวของผักและผลไม้ การเหี่ยวทำให้ผลิตผล สูญเสียความสด ความกรอบลดลง และคุณค่าสารอาหารบางอย่าง ลดลง การเหี่ยวเกิดจากการคายน้ำของผลิตผล การคายน้ำจะเกิดเร็ว และรุนแรงมากขึ้นเมื่อปัจจัยสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม ซึ่งได้แก่ อุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ในบรรยากาศ คืออุณหภูมิสูงและ ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ การคายน้ำของผลิตผลผ่านปากใบ ช่องเปิด ธรรมชาติ พื้นที่ผิว และบาดแผล การลดหรือป้องการคายน้ำของ ผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยวทำได้หลายวิธี หนึ่งในหลายวิธีที่ปฏิบัติ เป็นการค้าคือ การเคลือบผิว สารเคลือบผิวที่ใช้อาจได้มาจากสาร ธรรมชาติหรือจากสารสังเคราะห์ ซึ่งสารทั้ง ๒ แหล่งเป็นสารที่ไม่เป็น พิษแก่ผู้บริโภค สารเคลือบผิวที่ใช้กับผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว จะเคลือบปากใบ ช่องเปิดธรรมชาติ พื้นที่ผิว และบาดแผล ทำให้ลด การคายน้ำผ่านช่องทางเหล่านี้ได้ การเคลือบผิวยังช่วยเพิ่มความ ดึงดูดของผู้บริโภคที่มีต่อผลไม้ ชะลอการสุก และยืดอายุการเก็บรักษา อีกด้วย แต่นิยมทำกับผลิตผลบางชนิดเท่านั้น และความเข้มข้นของ สารเคลือบผิวที่ใช้ต้องเหมาะสม มิฉะนั้นอาจจะใช้ไม่ได้ผลหรืออาจเกิด ผลเสียได้ ก่อนการใช้สารเคลือบผิวจะต้องมีข้อมูลการทดลองที่ชัดเจน สำหรับผลิตผลชนิดนั้น ๆ เพื่อทำให้การใช้สารเคลือบผิวมีประสิทธิ- ภาพและป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ศ. ดร.เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิต บรรยายเรื่อง บึงประดิษฐ์กับการบำบัดน้ำเสีย ความโดยสรุปว่า พื้นที่ชุ่มน้ำ ในธรรมชาติ เป็นระบบนิเวศที่มีความสำคัญต่อการบำบัดมลพิษที่ ปนเปื้อนในน้ำ จึงได้มีการพัฒนาระบบดังกล่าวขึ้นเป็น บึงประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดมลพิษที่ปนเปื้อนในน้ำให้มากขึ้น บึงประดิษฐ์สามารถกำจัดมลพิษได้หลายประเภท เช่น จุลินทรีย์ที่ทำให้ เกิดโรค ของแข็งแขวนลอย สารอินทรีย์ สารประกอบไนโตรเจน และ สารประกอบฟอสฟอรัส รวมถึงสารอนินทรีย์ เช่น โลหะหนัก บึงประดิษฐ์เป็นระบบบำบัดน้ำเสียที่มีราคาถูก ขั้นตอนการสร้างและ ควบคุมระบบง่ายไม่ซับซ้อน ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ทำให้ประหยัด พลังงาน และดูแลรักษาง่าย แต่บึงประดิษฐ์ต้องใช้พื้นที่มาก และ ต้องเลือกใช้พืชให้เหมาะสมกับลักษณะสมบัติของน้ำเสีย ปัจจุบัน บึงประดิษฐ์ได้รับความนิยมมากขึ้น และได้รับการพัฒนาให้มี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=