Page 15 - FlipBook วารสารราชบณฑตยสภา ปี-48
P. 15
วารสารราชบััณฑิิตยสภา
ปีีท่� ๔๘ ฉบัับัท่� ๒ พฤษภาคม-สุิงหาคม ๒๕๖๖
ดร.ไพโรจน์์ ทองคำสุุก 3
บทนำ
การถวายพระพร สรรเสริญ ยอพระเกียรติ เป็นการแสด้งออกด้้วยความจงรักภักด้ี น้อมสำนึกใน
พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษััตริย์ พระกรุณาธิคุณและพระกรุณาของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่ึ่งมีมาตั�งแต่
สมัยสุโขทัย ปรากฏิในหลักศิลาจารึกพระขุนรามคำแหงหลักที่ ๑ ด้้านที่ ๔ ซึ่ึ่งกล่าวถึงการยอพระเกียรติ
พ่อขุนรามคำแหงที่ทรงมีคุณูปการต่อกรุงสุโขทัย ทรงปกครองแบบพ่อกับลูก เปี�ยมด้้วยพระเมตตา ทรงสนิทสนม
ใกล้ชิด้กับราษัฎร ไม่มีผู้ใด้จะเสมอได้้เลย ในสมัยอยุธยาปรากฏิบทถวายพระพร สรรเสริญ ยอพระเกียรติมากมาย
หลายรูปแบบส่วนใหญ่เป็นวรรณกรรม เช่น ยวนพ่ายโคลงด้ั�น คำฉันท์สรรเสริญพระเกียรติสมเด้็จพระพุทธเจ้า
หลวงปราสาททอง โคลงเฉลิมพระเกียรติสมเด้็จพระนารายณ์มหาราช และโคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์
สมัยธนบุรีพบบทถวายพระพร ยอพระเกียรติ เช่น โคลงยอพระเกียรติพระเจ้ากรุงธนบุรี นอกจากนี� ในสมัย
รัตนโกสินทร์ปรากฏิวรรณกรรมเฉลิมพระเกียรติสรรเสริญ เช่น โคลงสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด้็จ
พระพุทธยอด้ฟ้้าจุฬาโลก โคลงยอพระเกียรติพระบาทสมเด้็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โคลงด้ั�นเฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด้็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กลอนเพลงยาวสรรเสริญพระเกียรติพระบาทสมเด้็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โคลงและกลอนยอพระเกียรติสามรัชกาล ลิลิตตะเลงพ่าย ต่อมาได้้มีการประพันธ์บทถวาย
พระพรขึ�นมาแล้วบรรจุเพลงขับร้อง และในเวลาต่อมาก็มีการประด้ิษัฐ์์กระบวนท่ารำ นับเป็นวิวัฒนาการของ
การถวายพระพร ซึ่ึ่งเป็นการแสด้งนาฏิศิลป์ไทยในรูปแบบของการถวายพระพรแด้่พระมหากษััตริย์ พระราชินี
พระราชโอรส พระราชธิด้า และพระบรมวงศานุวงศ์ กล่าวได้้ว่า ในช่วงแรกอาจจะมีเพียงบทถวายพระพร
เนื่องในโอกาสต่าง ๆ โด้ยเฉพาะวันเฉลิมพระชนมพรรษัาซึ่ึ่งเป็นบทถวายพระพรแต่มิได้้มีการแสด้งประกอบ
ในเวลาต่อมาจึงได้้นำการแสด้งเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง เช่น การละเล่นของหลวงชุด้กุลาตีไม้ มีบทขับร้องที่ให้
ผู้แสด้งออกท่าทาง ด้ังนี�
“ศักด้านุภาพเลิศล�ำ แด้นไตร
สิทธิครูมอบให้ จึ่งแจ้ง
ฤทธาเชี่ยวชาญชัย เหตุใด้ นาพ่อ
พระเด้ชพระคุณปกเกล้า ไพร่ฟ้้าอยู่เย็น”
(กรมศิลปากร, ๒๕๑๖ : ๒๖๒)
ผู้แสด้งชุด้กุลาตีไม้เป็นมหาด้เล็กหลวง แสด้งเฉพาะในงานพระราชพิธีของหลวง ได้้แก่ พระราชพิธีโสกันต์
งานสมโภชช้างเผือก และพระราชพิธีต่าง ๆ ตั�งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา จนถึงรัตนโกสินทร์ บทร้องสรรเสริญ
พระมหากษััตริย์ที่ทรงปกครองดู้แลบ้านเมืองอย่างด้ีทำให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข
รำโคม มหรสพหลวงมีตั�งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ได้้รับรูปแบบมาจากรำโคมญวน โด้ยจัด้แสด้งครั�งแรก
ในงานเฉลิมพระชนมพรรษัาพระบาทสมเด้็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชนมายุครบ ๖๐ พรรษัา พ.ศ. ๒๔๐๗
ปรากฏิบทรำโคมถวายพระพรว่า