Page 455 - พจนานุกรมศัพท์การหล่อโลหะ
P. 455
martempering
๐.๓๕ ไนโอเบียมไม่เกินร้อยละ ๐.๕ และคาร์บอนไม่เกินร้อยละ ๐.๐๓
สามารถท�าให้มีความแข็งแรงสูงขึ้นด้วยวิธีการอบชุบซึ่งมี ๒ ขั้นตอน คือ
๑. ปรับสมบัติเพื่อให้เกิดผลึกใหม่ (solution treatment) โดยอบ
ที่อุณหภูมิประมาณ ๘๐๐-๙๐๐ องศาเซลเซียส ถ้าเป็นชิ้นงานบางใช้เวลา
ประมาณ ๑๕-๓๐ นาที ชิ้นงานหนาใช้เวลา ๑ ชั่วโมง ต่อความหนา
๒๕ มิลลิเมตร แล้วน�ามาท�าให้เย็นตัวในอากาศ จะได้โครงสร้างมาร์เทนไซต์
ของธาตุนิกเกิล (ที่ไม่มีคาร์บอน) และความแข็งไม่เกิน ๓๒ ร็อกเวลล์-ซี
(Rockwell-c) ซึ่งสามารถตบแต่งได้ด้วยเครื่องมือกล
๒. ท�ามาร์เอจจิงโดยอบที่อุณหภูมิระหว่าง ๔๕๐-๕๐๐ องศา
เซลเซียส เป็นเวลาประมาณ ๑-๓ ชั่วโมง ได้อนุภาคของสารประกอบของ
นิกเกิล-โมลิบดีนัม (Ni Mo) และนิกเกิล-ไทเทเนียม (Ni Ti) ตกผลึกอยู่
3 3
ภายในโครงสร้างพื้นที่เป็นมาร์เทนไซต์ ท�าให้เหล็กกล้าชนิดนี้มีความแข็ง
ประมาณ ๕๒ ร็อกเวลล์ซี นิยมใช้ท�าชิ้นส่วนของเครื่องบิน เปลือกของ
จรวด (missile case) เพลาส่งถ่ายก�าลัง เป็นต้น
marking a core; core maker มาร์เกอร์ไส้แบบ, ตัวก�าหนดต�าแหน่ง
ไส้แบบ :
ดู core marker; marking a core
Marprodent process กระบวนการมาร์โพรเดนต์ :
กระบวนการหล่อที่ใช้ในงานทันตกรรมซึ่งได้รับการปรับปรุงมาจาก
กระบวนหล่อแบบสูญขี้ผึ้ง
martempering มาร์เทมเปอร์ริง :
กระบวนการชุบแข็งโดยให้ความร้อนแก่ชิ้นงานเหล็กจนท�าให้มี
โครงสร้างเป็นออสเทไนต์ และน�ามาชุบในตัวกลางที่เหมาะสมเพื่อรักษา
439