Page 222 - พจนานุกรมศัพท์การหล่อโลหะ
P. 222
Curie point
Curie point จุดคูรี :
ในวัสดุเฟร์โรแม็กเนติก เช่น เหล็ก นิกเกิล โคบอลต์ และวัสดุเฟร์ริ
แม็กเนติก เช่น เซรามิกบางชนิด แมกนีไทต์ (Fe O ) เมื่อมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น
3 4
ค่าความอิ่มตัวของการเป็นแม่เหล็ก (saturation magnetization) และ
ค่าความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กอิ่มตัว (saturation flux density) จะ
ค่อย ๆ ลดลงตามอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นท�าให้สมบัติความเป็นแม่เหล็กค่อย ๆ
ลดลง เมื่อถึงอุณหภูมิหนึ่ง ค่าความอิ่มตัวของการเป็นแม่เหล็กและค่า
ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กอิ่มตัวลดลงจนมีค่าเป็นศูนย์ ซึ่งวัสดุจะสูญ
เสียสมบัติความเป็นแม่เหล็ก เรียกอุณหภูมินี้ว่า อุณหภูมิคูรี จุดคูรี หรือ
อุณหภูมิวิกฤต เหนือจุดคูรีขึ้นไปวัสดุเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพเป็นวัสดุ
พาราแม็กเนติกซึ่งถือว่าไม่มีสมบัติทางแม่เหล็ก
ดังนั้นการหลอมโลหะซึ่งเป็นวัสดุเฟร์โรแม็กเนติกโดยใช้เตาไฟฟ้า
ชนิดเหนี่ยวน�า ความร้อนจะเกิดได้เร็วในช่วงอุณหภูมิที่ต�่ากว่าจุดคูรี
อุณหภูมิ (องศาฟาเรนไฮน)
-400 0 400 800 1200 1600
2.0 25,000
Saturation magnetzation, M 5 (A/m x 10 6 ) 1.0 Pure Fe 15,000 Saturation flux density, B 5 (gauss)
20,000
1.5
10,000
0.5
0
0 Fe 3 0 4 5,000
-200 0 200 400 800 800 1,000
อุณหภูมิ (องศาเซลเซียส)
รูปแสดงความเป็นแม่เหล็กของเหล็กบริสุทธิ์ (Pure Fe) กับแมกนีไทต์
(Magnetite Fe O ) ซึ่งจะแปรผันลดลงไปตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น [มีความ
3 4
หมายเหมือนกับ critical temperature ความหมายที่ ๒ และ Curie
temperature]
206