2724_6125

7 ปีที่ ๒๓ ฉบับที่ ๒๖๘ เดือนกันยายน ๒๕๕๖ ทั้งในเรื่องการเรียนและเรื่องส่วนตัว จะสามารถช่วยให้เด็กมีความสุขในโรงเรียนได้ ๓. หลักสูตรในการเรียนการสอน ในทุกวันนี้หลักสูตรการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ส่วนใหญ่เป็นไปในแบบเรียนแบบท่องจำเพื่อสอบผ่าน ไม่ได้เรียนเพื่อสร้างความคิด ความเข้าใจและรู้ถึงเป้าหมายของชีวิตว่าชอบหรือถนัดอะไร และจะเป็นอะไรในอนาคต นักวิจัยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้กล่าวว่า เด็กไทยต้องออกกลางคันปีละเกือบล้านคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี มีปัญหาการตั้งครรภ์และติดเอดส์เพิ่มขึ้นทุกปี มีค่าเรียนที่แพง จนมีเด็กไทยหลายคนเลือกทำอาชีพที่ผิดกฎหมายมากขึ้น นอกจากนี้ ยังพบอีกว่า เนื้อหารายวิชาต่าง ๆ มีแต่เนื้อหาที่มีความรู้ แต่ไม่มีการลงมือทำ และไม่มีการปลูกฝังความดี จึงทำให้เด็กกลายเป็นคนขาดศีลธรรม ไม่รู้จักเสียสละ ชิงดีชิงเด่น และมีเด็กและวัยรุ่นไทยที่ต้องฆ่าตัวตายด้วยผลการเรียนตกต่ำ หรือสอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ อีกทั้งยังมีระบบคะแนนการวัดผลการศึกษาระดับชาติ (ONET) ที่ใช้ทุกวิชาสอบเข้ามหาวิทยาลัย ทำให้เด็กยิ่งมีความเครียดมากยิ่งขึ้น สาเหตุที่ทำให้เด็กเกิดความสุขเมื่ออยู่ในโรงเรียน จากการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงจากเด็กที่กระทำความผิดที่ได้รับการช่วยเหลือจากศูนย์ประชาบดี ๑๓๐๐ และจากการสัมภาษณ์ อย่างไม่เป็นทางการจากเด็กนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม “การอบรมเชิงปฏิบัติการ การสร้างกลไกอาสาสมัครพิทักษ์สิทธิเด็กเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร” ที่จังหวัดสุพรรณบุรี อุบลราชธานี และเชียงใหม่ จังหวัดละ ๒๕–๓๐ คน ทำให้ได้ทราบว่า จากความคิดของเด็กนักเรียนนั้น สิ่งที่จะทำให้มีความสุขเมื่ออยู่ในโรงเรียน เรียงลำดับความถี่ มีดังนี้ ๑. ครูที่มีความเข้าอกเข้าใจในตัวเด็ก รับฟังและพูดคุยกันได้ทุกเรื่อง ไว้วางใจในตัวเด็ก สามารถให้คำปรึกษาแนะนำแก่เด็กได้ทั้งในเรื่องการเรียนและเรื่อง ส่วนตัว ไม่ซ้ำเติมเมื่อเด็กเรียนไม่ทันหรือเกิดปัญหา พร้อมที่จะหาทางออกที่ดีที่สุดให้กับเด็ก ในขณะเดียวกันต้องเป็นครูที่มีเทคนิคการสอนที่สนุก เปิดโอกาสให้เด็ก ซักถามได้อย่างเต็มที่ ๒. เมื่อถึงช่วงของการสอบเรียนต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น โรงเรียนควรมีฝ่ายแนะแนวด้านวิชาการเพื่อช่วยเหลือให้เด็กได้มีความพร้อมในการสอบแข่งขันมากขึ้น ๓. กฎ ระเบียบ ต้องไม่เข้มงวดจนเกินไป เพราะจะทำให้เด็กเกิดความเครียดได้ง่าย ๔. ครูผู้สอนควรใส่ใจในตัวเด็กให้มากขึ้น ไม่ใช่สนใจแต่เรื่องของตัวเอง ๕. โรงเรียนต้องหมั่นตรวจตราความประพฤติของเด็กในโรงเรียนด้วย โดยเฉพาะเด็กที่เป็นรุ่นพี่ หรือพวกที่ประพฤติตัวเป็นหัวโจก เกเร ๖. เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมที่สร้างสรรค์ในโรงเรียนที่หลากหลาย ครอบคลุมทุกคนในโรงเรียน ทั้งในเรื่องของการกีฬา และนันทนาการ ๗. ไม่มุ่งเน้นในเชิงวิชาการมากจนเกินไป ควรให้เด็กได้มีกิจกรรมที่มีประโยชน์และเรียนรู้ความเป็นไปของชุมชน ๘. ควรมีการศึกษาดูงานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในท้องถิ่นและภายนอก ๙. ควรมีสถานที่หรือมุมให้บริการปรึกษา ให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันภายนอกห้องเรียน ๑๐. ควรมีหน่วยงานหรือผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ มาให้ความรู้แก่เด็กอย่างสม่ำเสมอ ๑๑. ปัจจุบันนี้เป็นยุคโลกาภิวัตน์และนาโนเทคโนโลยี สถานศึกษาควรจัดให้มีสื่อที่มีคุณภาพรองรับเด็กอย่างเพียงพอ ภายใต้การควบคุมดูแลที่ดีจากผู้มีความรู้ ความสามารถ ความเท่าเทียมกันทางการศึกษาก็เป็นสิ่งที่สำคัญ กล่าวคือ โรงเรียนในชนบทหรือในท้องถิ่นที่ห่างไกลควรได้รับการสนับสนุนทางการศึกษาที่ดี ทั้งในเรื่อง งบประมาณ ครูผู้สอนที่มีคุณภาพและพอเพียง อุปกรณ์การศึกษาที่มีให้แก่เด็กทุกคนอย่างทั่วถึง กล่าวโดยสรุปแล้ว สังคมทุกภาคส่วนต้องร่วมมือด้วยกัน ตั้งแต่ครอบครัวที่ต้องมีความเข้าใจในตัวเด็ก คอยให้กำลังใจและสนับสนุนให้เด็กได้ใฝ่เรียนรู้ ให้เวลากับบุตรหลานอย่างเพียงพอ ไม่มุ่งแต่ทำมาหากินจนเกินไป ในขณะที่โรงเรียนซึ่งดูแลเด็กต่อจากผู้ปกครองก็ต้องสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดีเช่นกัน ด้วยการสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพตามข้อคิดเห็นของเด็กนักเรียนข้างต้น นอกจากนี้ ท้องถิ่นก็ควรสนับสนุนงบประมาณด้านการศึกษามากขึ้น ประการสำคัญรัฐบาลต้องให้ความสำคัญในการสร้างการศึกษาที่เปี่ยมสุขแก่เด็กอย่างจริงจัง นายจีราวัฒน์ จันทร์หอม กรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม บรรยายทางวิชาการในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ วันพุธที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๕

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=