แบ่งส่วนราชการสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ดังต่อไปนี้

(๑) สำนักงานเลขานุการกรม

(๒) กองธรรมศาสตร์และการเมือง

(๓) กองวิทยาศาสตร์

(๔) กองศิลปกรรมส่วนราชการ


สำนักงานราชบัณฑิตยสภา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
สำนักงานเลขานุการกรม

(๑) ดำเนินการเกี่ยวกับงานบริหารทั่วไปและปฏิบัติงานสารบรรณของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับงานช่วยอำนวยการ งานประชาสัมพันธ์ งานห้องสมุด และงานเลขานุการของผู้บริหารสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๓) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่ และยานพาหนะของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๔) ดำเนินการอื่นใดที่มิได้กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการใดของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๕) จัดระบบงานและบริหารงานบุคคลของสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

(๖) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


กองธรรมศาสตร์และการเมือง

(๑) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการของสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้า และผลิตงานทางวิชาการในลักษณะของการแต่งแปล และเรียบเรียงเอกสารหรือตำรา การบัญญัติศัพท์ การจัดทำหนังสืออ้างอิงประเภทพจนานุกรม สารานุกรม อักขรานุกรม และงานวิชาการอื่น ๆ ตามขอบเขตของประเภทวิชาปรัชญา สังคมศาสตร์ และประวัติศาสตร์

(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเผยแพร่งานทางวิชาการ

(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


กองวิทยาศาสตร์

(๑) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการของสำนักวิทยาศาสตร์ ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้า และผลิตงานทางวิชาการในลักษณะของการแต่งแปล และเรียบเรียงเอกสารหรือตำรา การบัญญัติศัพท์ การจัดทำหนังสืออ้างอิงประเภทพจนานุกรม สารานุกรม อนุกรมวิธานธรรมชาติวิทยา และงานวิชาการอื่น ๆ ตามขอบเขตของประเภทวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และเทคโนโลยี

(๓) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

(๔) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย


กองศิลปกรรม

(๑) ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับงานวิชาการและงานธุรการของสำนักศิลปกรรม ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิต และราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์

(๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการค้นคว้า และผลิตงานทางวิชาการในลักษณะของการแต่งแปล และเรียบเรียงเอกสารหรือตำรา การบัญญัติศัพท์ การจัดทำหนังสืออ้างอิงประเภทพจนานุกรม สารานุกรม และงานวิชาการอื่น ๆ ตามขอบเขตของประเภทวิชาวรรณศิลป์ สถาปัตยศิลป์ และวิจิตรศิลป์

(๓) กำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานเกี่ยวกับการใช้และการเขียนภาษาไทยให้ถูกต้อง

(๔) ให้คำปรึกษาแนะนำ และเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ

(๕) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย