วันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2565
ประกาศรายชื่อนักเรียนที่ผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ กิจกรรมประกวดแข่งขันคัดลายมือสำหรับเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๕ รอบชิงชนะเลิศ เพื่อเข้าร่วมแข่งขัน ในวันเสาร์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ดังแนบ



วันพฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2564
ประกาศรายชื่อนักเรียนที่มีสิทธิ์เข้าร่วมประกวดแข่งขันคัดลายมือสำหรับเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๔ รอบชิงชนะเลิศ



วันพุธที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2565
ขอเชิญสมัครเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๕

ขอเชิญโรงเรียนทั่วประเทศ ส่งนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๕-๖ สมัครเข้าร่วมกิจกรรมแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน ประจำพุทธศักราช ๒๕๖๕ (ทักษะการอ่านออกเสียง) ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings


ชิงทุนการศึกษาและรับรางวัลราชบัณฑิตยสภาสรรเสริญ

รับสมัครจำนวน ๑๐๐ คน  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึงวันจันทร์ที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๕ (เมื่อครบจำนวน ๑๐๐ คน จะปิดรับสมัครทันที แม้จะยังไม่ถึงวันสิ้นสุดการรับสมัคร)


ลิงก์รับสมัคร

https://forms.gle/9EjEXa1rDAHUUNFd9


กำหนดแข่งขันรอบคัดเลือกในวันเสาร์ที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ และรอบชิงชนะเลิศในวันเสาร์ที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๕ 


รายละเอียดดังประกาศที่แนบ




วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2563
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีตรวจเยี่ยมและให้นโยบายสำนักงานราชบัณฑิตยสภา

วันนี้ (๒๑ ส.ค. ๖๓) เวลา ๙.๐๐ น. นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางมายังสำนักงานราชัณฑิตยสภาเพื่อร่วมการประชุมร่วมการประชุมคณะอนุกรรมการใน อ.ก.พ. สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ปฏิบัติหน้าที่อนุกรรมการใน อ.ก.พ. กระทรวง โดยมี ดร.ดวงตา  ตันโช เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา ผู้บริหาร ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ให้การต้อนรับ จากนั้นเวลา ๑๐.๐๐ น. ได้เดินทางไปสำรวจอาคารเรือนเจ้าจอมมารดาเลื่อน ซึ่งเป็นโบราณสถานที่สำนักงานราชบัณฑิตยสภาได้รับการอนุมัติงบประมาณให้ดำเนินการปรับปรุงเป็นที่ทำการและหอประวัติของราชบัณฑิตยสภา ซึ่งจะแยกจากที่ทำการของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาโดยคาดว่าจะย้ายที่ทำการจากสนามเสือป่าไปยังศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ โซนซี ในช่วงประมาณต้นปี ๒๕๖๗ และเดินทางกลับมาตรวจเยี่ยมและให้นโยบายสำนักงานราชบัณฑิตยสภา ณ ห้องประชุมชั้น ๔ ในเวลา ๑๑.๐๐-๑๒.๐๐ น.

นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเป็นหน่วยงานที่สร้างคุณูปการให้แก่ประเทศชาติ ที่มีความสำคัญ ซึ่งสร้างประโยชน์และผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่เฉพาะเรื่องภาษาเพียงเรื่องเดียว แต่มีผลงานทางวิชาการหลายประเภทที่ใช้เป็นแหล่งอ้างอิงของงานวิจัยในปัจจุบัน ที่อาจนำไปใช้ทั้งในการทำงาน การเรียน การอ้างอิงทางวิชาการต่าง ๆ อนุรักษ์ภาษาไทยให้ยั่งยืน มีการกำหนดศัพท์ใหม่ ๆ มีการผลิตภาษา ส่งต่อมรดกให้แก่คนรุ่นหลัง ได้อนุรักษ์ต่อไป เสมือนการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่น ส่งต่อวิทยาการจากคนรุ่นปัจจุบันสู่คนรุ่นใหม่ รวมถึงการอบรมในภาษาไทย ภาษาถิ่น ในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น ฝากให้ผู้บริหารดำเนินการวางแผนเตรียมความพร้อมในเรื่องโครงสร้างอัตรากำลังให้เพียงพอ รวมทั้งวางระบบฐานข้อมูลเทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้ที่ทำการสำนักงานราชบัณฑิตยสภาทั้ง ๒ แห่งสามารถทำงานเชื่อมโยงประสานงานสอดคล้องกันได้อย่างมีเอกภาพ ซึ่งนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่ราชบัณฑิตยสภาจะได้เปลี่ยนภาพลักษณ์ขององค์กรใหม่ให้เป็นหน่วยงานราชการดิจิทัลที่ทันสมัย เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคราชการ ๔.๐ มุ่งเน้นประโยชน์การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเป็นสำคัญ โดยอาจมีแอปพลิเคชันให้ประชาชนดาวน์โหลดค้นหาพิกัดจุดให้บริการของราชบัณฑิตยสภาที่ต้องการติดต่อทั้ง ๒ แห่ง และนำทางไปที่ตั้งหน่วยงาน มีคู่มือในการเข้าใช้บริการ รวมถึงประเมินความพึงพอใจหลังเข้ารับบริการ เป็นการสนองนโยบายของรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๓ เห็นชอบตามความเห็นของสำนักงบประมาณให้อนุมัติค่าปรับปรุงอาคารเรือนเจ้าจอมมารดาเลื่อนให้เป็นหอประวัติราชบัณฑิตยสภา คาดว่าจะลงนามในสัญญาได้ก่อนสิ้นเดือนกันยายน ๒๕๖๓ นี้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ผ่านมาสำนักงานราชบัณฑิตยสภาทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักในการอนุรักษ์และส่งเสริมการใช้ภาษาไทยมาโดยตลอด มีการจัดกิจกรรมทั้งการแข่งขันทักษะการใช้ภาษาไทยของเยาวชน การมอบรางวัลให้แก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ถือเป็นโครงการที่ดีในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันเพื่อพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนอีกทางหนึ่ง และปัจจุบันเป็นยุคดิจิทัลที่มีการแข่งขันกันสูงในทุกด้าน หากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาสามารถเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลงานทางวิชาการที่จัดทำขึ้นผ่านทางออนไลน์ หรือจัดทำหนังสือในรูปแบบ e-book ก็จะลดการใช้กระดาษ เพิ่มความสะดวก รวดเร็ว รองรับความต้องการของประชาชน และปรับตัวเป็นราชการ ๔.๐ หรือรัฐยุคดิจิทัลที่มุ่งเน้นประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเป็นสำคัญ พัฒนาให้เป็นองค์กรบริการที่มีความทันสมัย และเชิดชูยกย่องเกียรติคุณราชบัณฑิตซึ่งเป็นปูชนียบุคคลของชาติ เพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เห็นแบบอย่างที่ดีงาม รวมทั้งพัฒนาให้เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเป็นจริงเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และพระราชกรณียกิจ และเพิ่มช่องทางต่าง ๆ ในการให้บริการทางวิชาการแก่ประชาชนเพื่อให้สามารถเข้าถึงบริการสะดวกยิ่งขึ้น



วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563
ผลการประกวดเล่าเรื่อง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ของกิน ของเล่น ของใช้” กลุ่มที่ ๔ ภาคใต้

เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๓ ที่ห้องแก้วสมุย ๑ โรงแรมแก้วสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี นางสาวบุญธรรม กรานทอง รองเลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เป็นประธานตัดสินการประกวดเล่าเรื่องหัวข้อ “ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ของกิน ของเล่น ของใช้” กลุ่มที่ ๔ ภาคใต้ รอบชิงชนะเลิศ โดยมีคณะกรรมการตัดสิน นักเรียนผู้เข้าประกวดและครูฝึกสอนนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกในรอบแรกเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้

ผลการประกวด มีดังนี้ รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เด็กชายศรุต ทองสง โรงเรียนเทศบาลบ้านคูหาสวรรค์ จังหวัดพัทลุง ได้รับเงินทุนการศึกษาจำนวน ๑๒,๐๐๐ บาท พร้อมประกาศนียบัตร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๑ ได้แก่ เด็กหญิงอนัญลักษณ์ สุขเอียด โรงเรียนเทศบาล ๑ (ชุมชนบ้านอุดมทอง) จังหวัดสงขลา ได้รับเงินทุนการศึกษา ๑๐,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ ๒ ได้แก่ เด็กหญิงณัฐกานต์ ฤทธิรงค์ โรงเรียนเทศบาลวัดภูผาภิมุข จังหวัดพัทลุง ได้รับเงินทุนการศึกษา ๘,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติ

รางวัลชมเชย ได้แก่ เด็กหญิงณัฐชยา สังฆกิจ โรงเรียนบ้านหน้าทอง จังหวัดสงขลา เด็กหญิงตัสนีม นาราวัน โรงรียนอนุบาลท่าแพ จังหวัดสตูล เด็กหญิงนิฐานัญ จันทร์สุขศรี โรงเรียนวัดควนใส จังหวัดนครศรีธรรมราช เด็กหญิงนิสรีน ลางีตัน โรงเรียนบ้านคลองขุด จังหวัดสตูล เด็กหญิงปาณกวิน ไชยทอง โรงเรียนเทศบาลวัดชัยชุมพล จังหวัดนครศรีธรรมราช เด็กหญิงมุขอันดา มุขรัษฎา โรงเรียนวัดควนท่าแร่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และ เด็กชายอารอฟัด หวังดี โรงเรียนบ้านไร่ใหญ่ จังหวัดตรัง ทั้งนี้ นักเรียนที่ได้รับรางวัลชมเชยจะได้รับเงินทุนการศึกษา ๓,๐๐๐ บาท พร้อมเกียรติบัตร



ดูข่าวทั้งหมด