2714_2803
2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง • วันอังคารที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ. ดร.สิทธิ์ บุตรอินทร์ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง พุทธ- ตรรกศาสตร์ ความโดยสรุปว่า ในพุทธปรัชญา ตรรกศาสตร์ เป็นวิชาร่วมสาขาเดียวกันกับญาณวิทยา และแยกออกไม่ได้จาก จริยศาสตร์ ภววิทยา และคุณวิทยา พระพุทธเจ้าทรงเข้าไป ศึกษา ทดลอง และทดสอบวิถีชีวิตสุดโต่งผ่านสำนักปรัชญา และลัทธิหลากหลายก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย มรรควิธีสายกลางที่ข้ามพ้นปรัชญาสุดโต่งของบรรดานักบวช นักพรต นักคิด นักปรัชญา และเจ้าลัทธิ ที่ประกาศลัทธิของตน ด้วยวิธีตรรกะ-วิชาตรึกตามอาการ อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด การคาดคะเน และเก็งความจริง เน้นแบบนิรนัยในกรอบศรัทธา จริตและโมหจริต แต่ก็ยังฝักใฝ่ แสวงหา สะสม เสวย และเสพ ติดในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และผลประโยชน์อื่น ๆ พระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธคัมภีร์พระเวทโดยสิ้นเชิง พระธรรมคำ สอนของพระองค์จึงมีคุณลักษณะพิเศษ ทรงรู้แจ้งว่าตรรก- ตรรกศาสตร์ที่บรรดาเจ้าลัทธิสอน มิใช่มรรควิธีที่แท้จริงและ ถูกต้อง แต่จัดอยู่ในระดับสุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา เท่านั้น ไม่อาจเข้าถึงภาวนามยปัญญาในพุทธปรัชญา การจะ บรรลุสัจธรรมในกฎแห่งกรรม กฎไตรลักษณ์ หลักปฏิจสมุปปบาท หรือพระนิพพานได้ ก็ด้วยภาวนามยปัญญาผ่านการบำเพ็ญ สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา จึงถือได้ว่า พุทธปรัชญา ไม่ปฏิเสธการคิดและใช้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าได้ทรงอาศัยตรรกศาสตร์ในการ ศึกษาวิเคราะห์หาความรู้ ความจริง ความถูกต้อง และความดีงาม ระดับโลกียปัญญา ก่อนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ และพระสาวกทรงใช้ตรรกศาสตร์โดยอิงหลักสัจธรรมและ จริยธรรมที่เรียกว่า พุทธตรรกศาสตร์ เป็นอีกวิธีหนึ่งในการ ประกาศพระพุทธศาสนาและสอนพุทธปรัชญา ส่วนมากทรงใช้ ภาษามคธอันเป็นภาษาของมหาประชาชนพื้นบ้านทั่วไปในแคว้น มคธเป็นสื่อแสดงธรรมในโอกาสและสถานที่ต่าง ๆ เฉพาะเรื่อง ที่เป็นความจริง ความถูกต้องดีงาม และให้ประโยชน์เกื้อกูลแก่ ผู้เกี่ยวข้อง โดยทรงคำนึงถึงความเหมาะสมทางกาละ เทศะ บุคคล ชุมชน และสภาวะแวดล้อมอีกด้วย ทรงสอนย้ำเสมอใน การคิดและใช้เหตุผลแนวตรรกศาสตร์ การคิดและใช้เหตุผลนี้ ต้องเป็นไปตามขั้นตอน เนื้อหา และกุศลเจตนา เพื่อบรรลุสิ่ง มุ่งประสงค์ และต้องอิงหลักสัจธรรมและจริยธรรมบูรณาการ เข้าด้วยกัน เป็นสูตรพัฒนาคุณสมบัติสูงสุดของความเป็นมนุษย์ ศ. ดร.วิษณุ เครืองาม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง มิติ ทางกฎหมายเกี่ยวกับการทำงานในรูปของคณะกรรมการ ภาครัฐ ความโดยสรุปว่า การทำงานในรูปของคณะกรรมการ เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะสามารถระดมความคิดจาก หลายคนเพื่อให้เกิดความละเอียดรอบคอบ ความถูกต้อง และ ความหลากหลายขององค์ความรู้ ซึ่งจำเป็นต้องอยู่ภายใต้ กฎเกณฑ์ที่พัฒนามาเป็นลำดับเพื่อควบคุมการทำงานให้ถูกต้อง เรียบร้อย เป็นธรรม ป้องกันการพิพาทโต้แย้งหรือคัดค้าน ว่าการประชุมหรือการมีมติไม่ถูกต้อง จึงมีหลักกฎหมายรองรับ ที่เรียกว่า “กฎหมายว่าด้วยการประชุม” มิติทางกฎหมาย ๑๐ ประการ ที่พบเห็นเสมอในการทำงาน ในรูปของคณะกรรมการภาครัฐ มีดังนี้ (๑) การปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการ ประชุม มีหลายรูปแบบ คือ การไม่กำหนดระเบียบหรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการประชุม การกำหนดให้มีระเบียบหรือข้อบังคับ เกี่ยวกับการประชุมโดยกำหนดทุกอย่างไว้ตายตัว การกำหนด ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมไว้หลวม ๆ และ การกำหนดระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการประชุมแบบ “ทางสายกลาง” (๒) อำนาจที่ประชุม ตามที่กฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ กำหนด (๓) โครงสร้างหรือองค์ประกอบของคณะกรรมการหรือ ที่ประชุม ขึ้นอยู่กับกฎหมายหรือกติกาที่ก่อตั้งคณะกรรมการ หรือที่ประชุมนั้น ๆ (๔) องค์ประชุม หมายถึง จำนวนผู้เข้าประชุมขั้นต่ำที่ทำให้ สามารถดำเนินการประชุมต่อไปได้ เพื่อเป็นหลักประกันว่ามี ผู้เข้าร่วมประชุมมากพอที่จะออกความเห็นที่หลากหลาย เป็น เสียงข้างมาก และผู้เข้าร่วมประชุมสามารถร่วมรับผิดชอบได้ (๕) การใช้ถ้อยคำในการประชุมให้ตรงตามกฎหมาย ถูกต้อง ตรงตามเจตนารมณ์ (๖) รายงานการประชุม ซึ่งจะจัดทำได้หลายแบบ คือ จดบันทึกโดยละเอียดแบบคำต่อคำ จดบันทึกแบบย่อแต่พอ ให้เข้าใจ จดบันทึกแบบสรุปเอาแต่มติ หรืออาจไม่จดบันทึกใด ๆ ซึ่งมักใช้กับการประชุมบางประเภทที่มีธรรมเนียมว่าไม่ต้องทำ รายงานการประชุม (๗) การประชุมโดยไม่มาประชุม ซึ่งอาจอาศัยเทคโนโลยี สมัยใหม่เข้ามาช่วยจัดระเบียบและอำนวยความสะดวกในการ ประชุมให้มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับการจัดประชุม เพื่อ ความรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย (๘) การลงมติในเรื่องที่จำเป็นต้องลงมติ ในกรณีไม่อาจ หลีกเลี่ยงได้ เมื่อกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับกำหนดให้ต้อง ลงมติโดยใช้ถ้อยคำชัดเจนในเชิงบังคับ หรือเมื่อประธาน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=