ชื่อ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.อรอนงค์ นัยวิกุล
วัน เดือน ปี เกิด วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒
ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและเทคโนโลยี ประเภทวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและสัตวแพทย์ สำนักวิทยาศาสตร์
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา
- กรรมการ ในคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Science Dictionary Committee)
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๑๔)
- ปริญญาโท M.S., Food Science, Tuskegee University, USA (พ.ศ. ๒๕๑๗)
- ปริญญาเอก Ph.D., Cereal Technology, North Dakota State University, USA (พ.ศ. ๒๕๒๐)
ประวัติการทำงานทางวิชาการ
- อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
(พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๖)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๒๖-๒๕๓๒)
- รองศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๘)
- ศาสตราจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๗)
- ศาสตราจารย์ได้รับเงินเดือนขั้นสูง (ข้าราชการบำนาญ) ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๗-ปัจจุบัน)
- ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) (พ.ศ. ๒๕๕๘-ปัจจุบัน)
ประวัติการทำงานวิชาชีพ
- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์การอาหารในการประชุม คณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหา และวินิจฉัยในเชิงวิชาการเกี่ยวกับอาหาร สำนักงานอาหารและยา (เป็นครั้งคราว)
- วิทยากรพิเศษระดับชาติ รับเชิญในการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากข้าวเพื่อมูลค่าเพิ่ม ทางวิทยุและโทรทัศน์ต่าง ๆ มากกว่า ๓๐ ครั้ง และวิทยากรพิเศษระดับนานาชาติ (บรรยายเป็นภาษาอังกฤษ) มากกว่า ๑๕ ครั้ง
- ผู้เชี่ยวชาญการฝึกอบรมเรื่องข้าวและการใช้ประโยชน์ระดับนานาชาติ ๓ ครั้ง ที่ประเทศ Bolivia, Costa Rica, India
ประวัติการทำงานบริหาร
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภา มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต (พ.ศ. ๒๕๔๘-ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการบริหารโครงการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) (พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน)
- คณะอนุกรรมการบริหารหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๐-ปัจจุบัน)
- คณะกรรมการกำกับแผนงานวิจัยที่มุ่งเป้าตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศ (คณะที่ ๑) กลุ่มเรื่องข้าว สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (พ.ศ. ๒๕๕๔-ปัจจุบัน)
- ผู้ทรงคุณวุฒิทำหน้าที่พิจารณาและประเมินผลโครงการเรื่องข้าว สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน), (พ.ศ. ๒๕๕๔-ปัจจุบัน)
- ที่ปรึกษาศูนย์ความเป็นเลิศแห่งนวัตกรรมข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) (พ.ศ.๒๕๕๙-ปัจจุบัน)
ผลงานวิชาการ
- หนังสือ : เบเกอรีเทคโนโลยีเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9), ข้าวสาลี : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 2), ข้าว : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พิมพ์ครั้งที่ 4), Rice processing: The comprehensive guide to
global technology and innovative products บทที่ 8 เรื่อง Value added rice products and co-products, หน้า ๒๑๕-๒๕๗, KU สร้างสรรค์ข้าวไทย “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดี”, KU สร้างสรรค์ข้าวไทย “ศาสตร์แห่งแผ่นดิน เพื่อความกินดีอยู่ดี” เล่ม ๒, ข้าวหอมมะลิ ห้อมหอม “คงความหอมมะลิข้าวหอมมะลิไทยตลอดห่วงโซ่”
- บทความวิชาการลงพิมพ์ในวารสารทั้งภายในและต่างประเทศ มากกว่า ๑๐๐ เรื่อง
- ตัวอย่างผลงานวิจัย พ.ศ. ๒๕๖๒ (ค.ศ. ๒๐๑๙) จำนวน ๓ เรื่อง
๑. Krongworakul, N. and O. Naivikul. 2019: Physicochemical properties of rice starch during microwave heating for food product quality. Journal of Nutritional and Science Vitaminology. 65: S163-S165
๒. Kupkanchanakul, W., T. Yamaguchi and O. Naivikul. 2019: Gluten-free rice breading using composited rice flour and pre-germinated brown rice flour for health benefits. Journal of Nutritional and Science Vitaminology. 65: S206-S211
๓. Krongworakul, N. and O. Naivikul. 2019: Kinetic of cooking parboiled pre-germinated brown rice and TTI development. VRU Research and Development Journal Science and Technology. 14(1): 144-153
ผลงานวิชาชีพ
มีผลงานบริการวิชาการสู่ภาคเอกชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จนถึงปัจจุบัน มีโครงการวิจัยถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคเอกมากกว่า ๒๐ เรื่อง เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าวด้วยแนวทางนวัตกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์จากเมล็ดข้าวเป็นข้าวนึ่งกล้องเริ่มงอก ผลิตภัณฑ์เส้น ผลิตภัณฑ์อาหารว่าง ผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้งข้าวทดแทนแป้งสาลีเป็นผลิตภัณฑ์อาหารปราศจากกลูเทน
ความเชี่ยวชาญ
ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแปรรูป และ ใช้ประโยชน์จากข้าวเป็นผลิตภัณฑ์นวัตกรรมอาหาร
เกียรติคุณที่ได้รับ
- เมธีส่งเสริมนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๘ วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
- Leading Scientists of the World-2006 in the area of Cereal Science and Technology Research. February 9, 2006 (พ.ศ. ๒๕๔๙) International Biographical Centre, Cambridge, England.
- เมธีส่งเสริมนวัตกรรม ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๒ วันที่ ๒๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๒ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA)
- ผู้นำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๓ วันที่ ๑๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- นิสิตเก่าดีเด่น ประเภทนักวิชาการ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๔ วันที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๔ สมาคมนิสิตเก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
- นิสิตเก่าดีเด่นคณะเกษตร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๕ วันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พ.ศ. ๒๕๕๐
- มหาวชิรมงกุฎ พ.ศ. ๒๕๔๕