ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ทศพร วงศ์รัตน์ (ราชบัณฑิต)


สำนัก :วิทยาศาสตร์
ประเภทวิชา :วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
สาขาวิชา :สัตววิทยาและสัตวศาสตร์
ที่อยู่ :๖๘ นภาศัพท์ ๑ ถนนสุขุมวิท ๓๖ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐
คุณวุฒิ:
กม.บ. (การประมง) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๐๘
ประกาศนียบัตร (อนุกรมวิธานปลา) สถาบันการประมงทะเลแห่งฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี, ๒๕๑๒
ดุษฎีบัณฑิต ประกาศนียบัตรอิมพีเรียลคอลเลจ อนุกรมวิธานเชิงวิวัฒนาการของปลา มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ, ๒๕๒๓
นักวิจัยหลังปริญญาเอก พิพิธภัณฑสถานแห่งออสเตรเลีย ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย, ๒๕๒๖
นักวิจัยหลังปริญญาเอก สถาบันสมิทโซเนียน แห่งกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา, ๒๕๒๘-๒๕๒๙
ตำแหน่ง:
นักวิชาการประมง สถานีวิจัยประมงทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ๒๕๐๘-๒๕๒๓
ศาสตราจารย์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๒๔-ปัจจุบัน
เกียรติคุณ:
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
ปลาดาบเงินโบราณได้รับการตั้งชื่อว่า Trichiuridarum wongratanai, ๒๕๑๙
ทุนมูลนิธิอานันทมหิดล เพื่อการศึกษาขั้นปริญญาเอก, ๒๕๒๑-๒๕๒๓
วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกทางด้านทรัพยากรปลา ได้รับการยกย่องว่าเป็นงานสำคัญประเภท 'Vade Mecum' เมื่อได้รับการตีพิมพ์โดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม, ๒๕๒๘
ปลากะตัก ชนิด Stolephorus dubiosus ได้รับการตั้งชื่อสามัญว่า Thosaporn's Anchovy, ๒๕๓๑
'Certificate in recognition of scholarly research' จากสถาบันสมิทโซเนียน กรุงวอชิงตัน, ๒๕๓๒
ปลาทรายแดงชนิดใหม่ได้รับการตั้งชื่อว่า Nemipterus thosaporni, ๒๕๓๔
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา จากสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๓๗
บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านชีววิทยา จากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ, สำนักนายกรัฐมนตรี, ๒๕๔๓
ผลงานสำคัญ:
แสดงปาฐกถาชุดสิรินธรครั้งที่ ๒๔ เรื่อง เมืองไทยนี้ดีในน้ำมีปลา ต่อพระพักตร์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ๒๕๕๒
จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ปลาทะเล กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, ๒๕๑๐
จัดตั้งพิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐
ร่วมกับนักวิชาการทั่วโลกโดยองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม จัดทำอนุกรมวิธานปลาทะเล เขตมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและแปซิฟิกตะวันตก (๑๙๗๔) มหาสมุทรอินเดียตะวันตก (๑๙๘๔) ปากีสถาน (๑๙๘๕) แทนซาเนีย (๑๙๘๕) โซมาเลีย (๑๙๙๖) อ่าวโอมาน-เปอร์เซีย (๑๙๙๗) มหาสมุทรแปซิฟิกตอนกลาง-ตะวันตก (๑๙๙๘-๒๐๐๑) กรุงโรม
ตั้งชื่อปลาชนิดใหม่ของโลกรวม ๓๘ ชนิด
ภาพวาดลายเส้นประกอบงานค้นคว้าวิจัยของปลาจำนวนมากกว่า ๓๐๐ ชนิด ที่ได้ใช้ประกอบงานวิจัย และอ้างใช้ใน งานต่าง ๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
ความเชี่ยวชาญ: