สำนัก :วิทยาศาสตร์
ประเภทวิชา :วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตรและสัตวแพทยศาสตร์
สาขาวิชา :เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร
ที่อยู่ :๔๖/๒ หมู่ ๒ ซอยสุขาภิบาล ๕ ถนนรามอินทรา แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน กรุงเทพฯ ๑๐๒๒๐
คุณวุฒิ:
ปริญญาตรี สาขาวิชาเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๐
ปริญญาโท สาขาวิชาชีวเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๓
ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาสรีรวิทยาและชีวเคมีในสัตว์ มหาวิทยาลัยการสัตวแพทย์และการเกษตร กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก, ๒๕๑๔
ตำแหน่ง:
กรรมการดำเนินงานสหวิทยาการเพื่อการวิจัยและพัฒนา
เกียรติคุณ:
งานวิจัยดีเด่นทางวิทยาศาสตร์ประยุกต์ จากสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย, ๒๕๑๙
Certificate of Dedication ในการค้นพบเทคโนโลยีมาโตมาติดเพื่อมวลชีวิตที่สงบสุข จาก International Biographical Centre (IBC) Cambridge ประเทศอังกฤษ, ๒๕๔๑
รางวัล The Twentieth Century Award for Achievement จาก International Biographical Centre (IBC) Cambridge ประเทศอังกฤษ, ๒๕๔๑
ได้รับการยกย่องจาก American Biographical Institute (ABI) ใน Five Hundred Leaders of Influence; Seven Edition จัดพิมพ์ใน ค.ศ. ๑๙๙๘
เทคโนโลยีมาโตมาติด ได้รับพิจารณาในส่วนของวัตถุให้ได้รับรางวัลสิ่งประดิษฐ์ Hardware ที่ใช้งานกับระบบชีวภาพ ในงานนิทรรศการสิ่งประดิษฐ์ประจำปี ๒๕๓๘ รางวัลที่ ๑ ณ วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๓๘ ในงาน 'จุฬา-ไฮเทค'
รางวัลนักนิวเคลียร์ดีเด่น ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๑ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม
โล่ประกาศเกียรติคุณ 'นักวิจัยผู้บุกเบิกงานต่อมไร้ท่อในกระบือ' จาก สหพันธ์กระบือโลก International Buffalo Federation ในVIII World Buffalo Congress Caserta, 19-22 October, 2007
ผลงานสำคัญ:
วิเคราะห์ฮอร์โมนเพศในกระบือปลักด้วยเทคนิค เรดิโออิมมูโนเอสเซ (RIA) เป็นครั้งแรกในโลก ที่เปิดงานวิจัยต่อม ไร้ท่อและการผสมเทียมกระบือปลักระดับชาติและนานาชาติ, ๒๕๑๙
ใช้ระดับโปรเจสเตอโรนในพลาสมา สำหรับตรวจสภาพการทำงานของรังไข่กระบือปลัก และสร้างเป็นเทคนิคการตรวจ ท้องระยะแรกหลังผสมเทียม ๒๔ วัน โดย RIA ระดับชาติและ นานาชาติ, ๒๕๒๑
ใช้เทคนิคเอนไซม์อิมมูโนเอสเซ (EIA or ELISA) วัดระดับโปรเจสเตอโรนในพลาสมากระบือปลัก และในน้ำนมจากโค เพื่อตรวจท้องระยะแรกหลังผสมเทียม ๒๔ วัน เปรียบเทียบกับเทคนิคเรดิโออิมมูโนเอสเซ ได้เป็นผลสำเร็จครั้งแรก ในโลก เป็นการเปิดงานวิจัย ELISA สำหรับการปรับปรุงพันธุ์ และการตรวจโรคในกิจการปศุสัตว์ของโลก, ๒๕๒๒
คิดค้นต่อยอดการใช้โปรเจสเตอโรนในพลาสมา สำหรับตรวจท้องระยะแรกหลังแยกพ่อพันธุ์คุมฝูงทันทีในกระบือ ปลักและโคเนื้อ, ๒๕๒๔ - ชะล้างตัวอ่อนกระบือปลักเป็นครั้งแรกในโลกที่เปิดงานวิจัยการปฏิสนธิในหลอดแก้วและงานโคลนนิงกระบือในระดับ นานาชาติ, ๒๕๒๘ - ย้ายฝากตัวอ่อนในโคนมครบวงจรเป็นครั้งแรกในประเทศไทย, ๒๕๒๙ - โคลนนิงโคตัวแรกของประเทศไทยสำเร็จเมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๓
ความเชี่ยวชาญ: