สำนัก :วิทยาศาสตร์
ประเภทวิชา :วิทยาศาสตร์ประยุกต์
สาขาวิชา :วิศวกรรม
ที่อยู่ :
คุณวุฒิ:
วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมโยธา) เกียรตินิยมอันดับ ๒ และวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมไฟฟ้า) เกียรตินิยมอันดับ ๑ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Diploma of the Imperial College (Civil Engineering Structures), Imperial College of Science and Technology, ประเทศอังกฤษ
Ph. D. (Structural Engineering), University of London, ประเทศอังกฤษ
M.S. (Highway and Traffic Engineering), Ohio State University
ประกาศนียบัตร Geologic and Hydrologic Hazards, United States Geological Survey เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา
ตำแหน่ง:
รองอธิบดีกรมทางหลวงแผ่นดิน กระทรวงคมนาคม
รองอธิบดีกรมทางหลวง กระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ
ปลัดกระทรวงคมนาคม
วุฒิสมาชิก
ประธานกรรมการการรถไฟฟ้าแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการคมนาคม สภานโยบายแห่งชาติ
ประธานคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ
ประธานคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศ
ประธานฝ่ายควบคุมการก่อสร้างอาคารตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
นายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
ประธานมนตรีสภาสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
สมาชิกสมาพันธ์ทางหลวงระหว่างประเทศ
สมาชิกสมาคมวิศวกรรมปฐพีและฐานรากระหว่างประเทศ
อาจารย์พิเศษของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
เกียรติคุณ:
วิศวกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานสำคัญ:
ออกแบบสะพานสิริลักขณ์ ข้ามแม่น้ำแม่กลองที่จังหวัดราชบุรี สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัดอ่างทอง สิงห์บุรี และ นครสวรรค์ สะพานข้ามแม่น้ำป่าสักที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สะพานข้ามแม่น้ำปิงที่จังหวัดเชียงใหม่ สะพานสารสิน ข้ามช่องแคบสู่เกาะภูเก็ต
คำนวณโครงสร้างและฐานรากโรงงานปูนซีเมนต์ที่ทุ่งสง สถานีนำร่องและประภาคารที่กลางอ่าวไทย ทางวิ่งและ ทางขับเครื่องบินที่ดอนเมือง ท่าเรือและสะพานขนถ่ายน้ำมันที่จังหวัดสงขลา โรงยิมเนเซียม ๑ ที่สนามศุภชลาสัย หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อาคารกรมศุลกากรที่คลองเตย อาคารกรมสรรพสามิต อาคารอาคเนย์ประกันภัย อาคารโรงพยาบาลหัวเฉียว ซึ่งบนดาดฟ้าสามารถรับเฮลิคอปเตอร์ลงได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย อาคารมหิดล โรงพยาบาลศิริราช
เป็นกรรมการเฉพาะกิจเร่งรัดการก่อสร้างพุทธมณฑล ได้คำนวณออกแบบฐานรากปูชนียสถาน ๔ แห่ง และได้แก้ปัญหา หินธรรมจักรซึ่งมีน้ำหนักกว่า ๑๐๐ ตัน ร้าวแยกเป็น ๓ ส่วน เมื่อดำเนินการแกะสลักหิน โดยได้ใช้หลักวิชาการสมัยใหม่แก้ไขให้รอยร้าวนั้นยึดติดเป็นเนื้อเดียวกัน
ความเชี่ยวชาญ: