ชื่อ นายกฤษฎา บุณยสมิต ตำแหน่งราชการ อัยการอาวุโส ที่ปรึกษาอัยการสูงสุด
วัน เดือน ปี เกิด วันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๗
ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ ประเภทวิชาประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่ สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง
ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสภา
- ประธานกรรมการในคณะกรรมการชำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน)
- กรรมการในคณะกรรมการวิชาการ เช่น คณะกรรมการชำระพจนานุกรม, คณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ประวัติศาสตร์ไทย, คณะบรรณาธิการจัดทำสารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย, คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์กฎหมายไทย, คณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมโบราณศัพท์
- ที่ปรึกษาสำนักงานราชบัณฑิตยสภา (๒๕๔๕-๒๕๖๒)
ประวัติการศึกษา
- ปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ. ๒๕๑๘)
- ประกาศนียบัตร เนติบัณฑิตไทย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (พ.ศ. ๒๕๑๙)
- ประกาศนียบัตรวิทยาลัยการทัพเรือ สถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง กองทัพเรือ (พ.ศ. ๒๕๔๖)
ประวัติการทำงานวิชาการ
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ อาจารย์พิเศษผู้บรรยายวิชา ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน), อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต, ประธานกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารงานยุติธรรม (พ.ศ. ๒๕๖๐-ปัจจุบัน)
- คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตรวจผลงานวิชาการระดับรองศาสตราจารย์
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญามหาบัณฑิต
- คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้แก่ อาจารย์พิเศษ ระดับปริญญาตรี วิชาอารยธรรมไทย พ.ศ. ๒๕๕๒-๒๕๕๘), ระดับมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๖)
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก่ อาจารย์ผู้บรรยาย การร่างสัญญา, การตีความกฎหมาย รวม ๓ หลักสูตรสำหรับนิติกรปฏิบัติการ, นิติกรชำนาญการ และนิติกรชำนาญการพิเศษ (พ.ศ. ๒๕๕๒-ปัจจุบัน)
- สำนักงานอัยการสูงสุด ได้แก่ อาจารย์ผู้บรรยายในการอบรมหลักสูตรอัยการผู้ช่วย, อัยการจังหวัด
- วิทยากรบรรยายในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข การท่าเรือแห่งประเทศไทย การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย บมจ. ทีโอที บริษัทไปรษณีย์ไทย ธนาคารออมสิน สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ส.
ประวัติการทำงานวิชาชีพ
- พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด (พ.ศ. ๒๕๒๒-ปัจจุบัน)
- กรรมการในคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. ๒๕๓๕ (พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน)
- กรรมการในคณะกรรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และกรรมการใน คณะกรรมการราคากลางและขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการ ตาม พ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างฯ พ.ศ. ๒๕๖๐
- อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ และคณะอนุกรรมการทะเบียน เนติบัณฑิตยสภา
- อนุกรรมการในคณะอนุกรรมการกฎหมายและระเบียบ สำนักงาน ป.ป.ช. ฯลฯ
ประวัติการทำงานบริหาร
- ผู้ตรวจการอัยการ (ข้าราชการอัยการชั้น ๗ พ.ศ. ๒๕๖๒)
- อธิบดีอัยการ สำนักงานวิชาการ (ข้าราชการอัยการชั้น ๖ พ.ศ. ๒๕๕๙-๒๕๖๑)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ. ๒๕๕๙-ปัจจุบัน)
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในกรรมการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) (พ.ศ. ๒๕๖๒-ปัจจุบัน)
- กรรมการในคณะกรรมการ บมจ. ทีโอที (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๐)
- กรรมการในคณะกรรมการองค์การตลาด (พ.ศ. ๒๕๕๗-๒๕๖๐)
- กรรมการในคณะกรรมการการท่าเรือแห่งประเทศไทย (พ.ศ. ๒๕๕๔-๒๕๕๗)
ผลงานวิชาการ ประกอบด้วยหนังสือ งานวิจัย และบทความทางวิชาการ เช่น
หนังสือและงานวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่แล้วในโครงการวิจัยเมธีอาวุโส สกว. ดร วินัย พงศ์ศรีเพียร เช่น กฎหมายตราสามดวง : การพิจารณาใหม่, พระอัจฉริยภาพด้านนิติศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ในกฎมณเทียรบาลฉบับเฉลิมพระเกียรติ ติงทุเลา ในศรีชไมยาจารย์ พระสงฆ์และสถาบันพระพุทธศาสนานอกกฎพระสงฆ์ ใน พระพุทธศาสนาและสถาบันสงฆ์กับสังคมไทย, พระไอยการลักษณรับฟ้อง, ศัพท์กฎหมายเก่า ในภาษาไทยในกฎหมายตราสามดวง, กฎหมายตราสามดวงสำหรับเด็กโตในสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม ๓๐ (โครงการสารานุกรมไทยสำหรับยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, ตระลาการ หรือกระลาการ ลูกขุน และผู้ปรับ ใน ความรู้ในประวิติศาสตร์ไทย เล่ม ๑ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ใน นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร, ประวัติความเป็นมาขององค์กรอัยการไทย โครงสร้างกฎหมายตราสามดวง ความรู้ความสามารถและจริยธรรมของตุลาการไทยโบราณในพระธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นหนังสืออ่านประกอบในวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย น. ๔๖๒. (หนังสือที่มีผู้เขียนร่วม นางสาวกนกวลี ชูชัยยะ ภาคีสมาชิก) เช่น ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์ เล่ม ๑ และเล่ม ๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช : พระมหากษัตริย์นักพัฒนาที่โลกยกย่อง หนังสือชุด บุคคลสำคัญไทยที่โลกยกย่อง จำนวน ๑๕ เล่ม, สังคมสมานฉันท์ ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ฉบับเฉลิมพระเกียรติในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
บทความวิชาการ ที่มีการพิมพ์หรือเผยแพร่แล้วในวารสารต่าง ๆ เช่น คอลัมน์ “เพลินอดีตพิศปัจจุบัน” ในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ (๒๕๖๑-๒๕๖๓ รวม ๑๘๖ เรื่อง) ,วารสารอัยการ, วารสารวิชาการศาลปกครอง,
วารสารตำรวจ, วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วารสารโลกประวัติศาสตร์, จุลสารข่าวเนติบัณฑิตยสภา รวมทั้งเอกสารประกอบการบรรยายในสำนักธรรมศาสตร์และการเมือง เรื่อง “โทษประหารชีวิตของไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน” และ “คดีพญาระกา บทเรียนจากประวัติศาสตร์ไทย”
ความเชี่ยวชาญ ประวัติศาสตร์ไทยก่อนสมัยใหม่, ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, กฎหมายแพ่งและกฎหมายอาญา
เกียรติคุณที่ได้รับ โล่ และประกาศเกียรติคุณผู้ได้ทำคุณประโยชน์แก่ราชการของราชบัณฑิตยสถาน จากราชบัณฑิตยสถานในโอกาสวันสถาปนาฯ ครบ ๘๐ ปี, โล่ เข็มเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ “กัลยาณมิตร กรมบัญชีกลาง” โล่ เข็มเชิดชูเกียรติและประกาศเกียรติคุณ “เพชรพัสดุ” บุคคลผู้มีคุณูปการยิ่งต่อการบริหารงานพัสดุภาครัฐ จากสมาคมพัสดุแห่งประเทศไทย, โล่ประกาศเกียรติคุณ นักเรียนเก่าเทพศิรินทร์ “รำเพยจรัสแสง”, ประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค จากคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักนายกรัฐมนตรี
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (พ.ศ. ๒๕๔๘) มหาวชิรมงกุฎ (พ.ศ. ๒๕๔๓)