ชื่อธาตุพร้อมความหมายจากพจนานุกรม ๒๕๔๒
ชื่อธาตุ | ชื่อไทย | ความหมาย |
actinium | แอกทิเนียม | ธาตุลําดับที่ ๘๙ สัญลักษณ์ Ac เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๐๕๐ºซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
aluminium | อะลูมิเนียม | ธาตุลําดับที่ ๑๓ สัญลักษณ์ Al เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๖๖๐ºซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น นําไปผสมกับโลหะอื่นเป็นโลหะเจือ ใช้ทําเครื่องครัว. |
americium | อะเมริเซียม | ธาตุลําดับที่ ๙๕ สัญลักษณ์ Am เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
antimony | พลวง | ธาตุลําดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕ºซ. มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
argon | อาร์กอน | ธาตุลําดับที่ ๑๘ สัญลักษณ์ Ar เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๐.๙๔ โดยปริมาตร ใช้ประโยชน์นําไปบรรจุในหลอดไฟฟ้าและหลอดเรืองแสง. |
arsenic | สารหนู | ธาตุลําดับที่ ๓๓ สัญลักษณ์ As ลักษณะเป็นของแข็ง มี ๓ อัญรูป คือ สารหนูสีเทา สารหนูสีดํา และสารหนูสีเหลือง เป็นธาตุที่มีพิษอย่างร้ายแรง. |
astatine | แอสทาทีน | ธาตุลําดับที่ ๘๕ สัญลักษณ์ At เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
barium | แบเรียม | ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอมละลายที่ ๗๑๔ºซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรมสีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. |
berkelium | เบอร์คีเลียม | ธาตุลําดับที่ ๙๗ สัญลักษณ์ Bk เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
beryllium | เบริลเลียม | ธาตุลําดับที่ ๔ สัญลักษณ์ Be เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๒๗๗ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งทนทานต่อการผุกร่อน. |
bismuth | บิสมัท | ธาตุลําดับที่ ๘๓ สัญลักษณ์ Bi เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวอมแดง เปราะ หลอมละลายที่ ๒๗๑.๓ºซ. เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าที่เลว มีสมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ซึ่งหลอมละลายที่อุณหภูมิตํ่า. |
bohrium | โบห์เรียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๗ สัญลักษณ์ Bh (ยังไม่ได้เพิ่มเติมในพจนานุกรมฯ) |
boron | โบรอน | ธาตุลําดับที่ ๕ สัญลักษณ์ B เป็นโลหะ ลักษณะเป็นผงละเอียดสีนํ้าตาล หรือเป็นผลึกสีเหลือง หลอมละลายที่ ๒๓๐๐ºซ. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า แก้ว. |
bromine | โบรมีน | ธาตุลําดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก เดือดที่ ๕๘.๘ºซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการถ่ายรูป. |
cadmium | แคดเมียม | ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอนได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. |
caesium; cesium | ซีเซียม | ธาตุลําดับที่ ๕๕ สัญลักษณ์ Cs เป็นโลหะสีเงิน ไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก หลอมละลายที่ ๒๘.๗ºซ. |
calcium | แคลเซียม | ธาตุลําดับที่ ๒๐ สัญลักษณ์ Ca เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๓๘ํซ. เป็นองค์ประกอบสําคัญของกระดูก ฟัน หินอ่อน หินปูน. |
californium | แคลิฟอร์เนียม | ธาตุลําดับที่ ๙๘ สัญลักษณ์ Cf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
carbon | คาร์บอน | ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. |
cerium | ซีเรียม | ธาตุลําดับที่ ๕๘ สัญลักษณ์ Ce เป็นโลหะสีเทา เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๐๔ºซ. |
chlorine | คลอรีน | ธาตุลําดับที่ ๑๗ สัญลักษณ์ Cl เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊สสีเขียวแกมเหลือง มีกลิ่นฉุนชวนสําลัก เป็นแก๊สพิษ ใช้ประโยชน์ในการฆ่าเชื้อโรคในนํ้าในอุตสาหกรรมผลิตกรดเกลือในการผลิตผงฟอก จาง ยาฆ่าแมลงหลายชนิด เช่น ดีดีที มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบสําคัญ. |
chromium | โครเมียม | ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๘๗๕ํซ. ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือ ช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะด้วยโครเมียม. |
cobalt | โคบอลต์ | ธาตุลําดับที่ ๒๗ สัญลักษณ์ Co เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๙๕ ํซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือเพื่อให้มีสมบัติพิเศษบาง ประการ เช่น ผสมกับเหล็กทําให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และเมื่อนําไปทําเป็นแม่เหล็กก็จะได้แม่เหล็กที่มีกําลังมากเป็นพิเศษ ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้วและเครื่องดินเผาใช้สารประกอบของโคบอลต์เป็นตัวให้ สีนํ้าเงิน |
copper | ทองแดง | ธาตุลําดับที่ ๒๙ สัญลักษณ์ Cu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีแดง หลอมละลายที่ ๑๐๘๓ºซ. เนื้ออ่อนบุให้เป็นแผ่นบางและรีดเป็นเส้นลวดได้ง่าย เป็นตัวนําความร้อนและไฟฟ้าได้ดี. |
curium | คูเรียม | ธาตุลําดับที่ ๙๖ สัญลักษณ์ Cm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
dubnium | ดุบเนียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๕ สัญลักษณ์ Db (ยังไม่ได้แก้ไขในพจนานุกรมฯ) |
dysprosium | ดิสโพรเซียม | ธาตุลําดับที่ ๖๖ สัญลักษณ์ Dy เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๔๐๗ºซ. |
einsteinium | ไอน์สไตเนียม | ธาตุลําดับที่ ๙๙ สัญลักษณ์ Es เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
erbium | เออร์เบียม | ธาตุลําดับที่ ๖๘ สัญลักษณ์ Er เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งเป็นเงาวาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๔๙๗ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
europium | ยูโรเพียม | ธาตุลําดับที่ ๖๓ สัญลักษณ์ Eu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา เนื้ออ่อนมาก หลอมละลายที่ ๘๒๖°ซ. ใช้ประโยชน์นําไปดูดกลืนนิวตรอนเพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ ใช้ประกอบเป็นตัวเรืองแสงในเครื่องรับโทรทัศน์สีเป็นต้น. |
fermium | เฟอร์เมียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๐ สัญลักษณ์ Fm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
fluorine | ฟลูออรีน | ธาตุลําดับที่ ๙ สัญลักษณ์ F เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊สสีเขียวแกมเหลือง มีสมบัติคล้ายคลอรีนแต่ให้ปฏิกิริยาเคมีไวกว่า. |
francium | แฟรนเซียม | ธาตุลําดับที่ ๘๗ สัญลักษณ์ Fr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๗ºซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี. |
gadolinium | แกโดลิเนียม | ธาตุลําดับที่ ๖๔ สัญลักษณ์ Gd เป็นโลหะที่หายากมาก ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๓๑๒ ซ. |
gallium | แกลเลียม | ธาตุลําดับที่ ๓๑ สัญลักษณ์ Ga เป็นโลหะสีขาวคล้ายเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙.๗๘˚ซ. เดือดที่ ๒๑๐๐˚ซ. ใช้ทําเทอร์โมมิเตอร์ชนิดใช้วัดอุณหภูมิสูง ๆ สารประกอบแกลเลียมอาร์เซไนด์ใช้ประโยชน์เป็นวัตถุกึ่งตัวนํา. |
germanium | เจอร์เมเนียม | ธาตุลําดับที่ ๓๒ สัญลักษณ์ Ge เป็นโลหะสีขาว เปราะ หลอมละลายที่ ๙๓๗.๔ºซ. มีสมบัติเป็นกึ่งตัวนํา สารประกอบแมกนีเซียมเจอร์เมเนต ใช้ประโยชน์ในหลอดวาวแสง (fluorescent lamp). |
gold | ทองคำ | ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓ºซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็นแผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วยหน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด |
hafnium | แฮฟเนียม | ธาตุลําดับที่ ๗๒ สัญลักษณ์ Hf เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๒๑๕๐ºซ. ใช้ประโยชน์เป็นแท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้น้ำเป็นตัวทำ ความเย็น. |
hassium | ฮาสเซียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๘ สัญลักษณ์ Hs (ยังไม่ได้เพิ่มเติมในพจนานุกรมฯ) |
helium | ฮีเลียม | ธาตุลําดับที่ ๒ สัญลักษณ์ He เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๒๐๐,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. |
holmium | โฮลเมียม | ธาตุลําดับที่ ๖๗ สัญลักษณ์ Ho เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๔๖๑ºซ. |
hydrogen | ไฮโดรเจน | ธาตุลําดับที่ ๑ สัญลักษณ์ H เป็นแก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไวไฟมาก เบาที่สุดในบรรดาแก๊สทั้งสิ้น ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมสังเคราะห์แก๊สแอมโมเนีย เมทิลแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมทําให้นํ้ามันพืชแข็งตัว. |
indium | อินเดียม | ธาตุลําดับที่ ๔๙ สัญลักษณ์ In เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาวเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๖.๒ºซ. ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นทําอุปกรณ์เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือที่ใช้ในงานทันตกรรม ชุบฉาบผิวเหล็กซึ่งเคลือบด้วยเงินแล้ว. |
iodine | ไอโอดีน | ธาตุลําดับที่ ๕๓ สัญลักษณ์ I เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเทาดําเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔ºซ. เมื่อระเหิดเป็นไอให้ไอสีม่วง เป็นธาตุสําคัญมากสําหรับต่อมไทรอยด์ หากขาดธาตุนี้จะทําให้เป็นโรคคอพอก. |
iridium | อิริเดียม | ธาตุลําดับที่ ๗๗ สัญลักษณ์ Ir เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายเงิน เนื้อแข็งมาก เป็นธาตุที่หนักที่สุดเท่าที่รู้จักกัน หลอมละลายที่ ๒๔๕๔ºซ. เป็นโลหะที่ทนทานต่อการสึกกร่อนที่สุด ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
iron | เหล็ก | ธาตุลําดับที่ ๒๖ สัญลักษณ์ Fe เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีขาวเป็นเงาคล้ายเงิน หลอมละลายที่ ๑๕๓๖ºซ. ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทําเหล็กหล่อ เหล็กพืด เหล็กกล้า. |
krypton | คริปทอน | ธาตุลําดับที่ ๓๖ สัญลักษณ์ Kr เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๖๗๐,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. |
lanthanum | แลนทานัม | ธาตุลําดับที่ ๕๗ สัญลักษณ์ La เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๙๒๐ºซ. |
lawrencium | ลอว์เรนเซียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๓ สัญลักษณ์ Lr (ใช้ Lw ก็มี) เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์ สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
lead | ตะกั่ว | ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔ºซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่วและสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. |
lithium | ลิเทียม | ธาตุลําดับที่ ๓ สัญลักษณ์ Li เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน เบาที่สุดในบรรดาธาตุโลหะที่เป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๘๐.๕ºซ. |
lutetium | ลูทีเชียม | ธาตุลําดับที่ ๗๑ สัญลักษณ์ Lu เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๑๖๕๒ºซ. |
magnesium | แมกนีเซียม | ธาตุลําดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๖๕๐ºซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทําระเบิดเพลิง นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น. |
manganese | แมงกานีส | ธาตุลําดับที่ ๒๕ สัญลักษณ์ Mn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน แข็งแต่เปราะ หลอมละลายที่ ๑๒๔๕ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
meitnerium | ไมต์เนเรียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๙ สัญลักษณ์ Mt (ยังไม่ได้เพิ่มเติมในพจนานุกรมฯ) |
mendelevium | เมนเดลีเวียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๑ สัญลักษณ์ Md เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
mercury | ปรอท | ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖ºซ. เดือดที่ ๓๕๗ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. |
molybdenum | โมลิบดีนัม | ธาตุลําดับที่ ๔๒ สัญลักษณ์ Mo เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๖๑๐ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ และใช้ทําเหล็กกล้า. |
neodymium | นีโอดิเมียม | ธาตุลําดับที่ ๖๐ สัญลักษณ์ Nd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๑๐๒๔ºซ. |
neon | นีออน | ธาตุลําดับที่ ๑๐ สัญลักษณ์ Ne เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๑ ใน ๕๕,๐๐๐ ส่วนในบรรยากาศ. |
neptunium | เนปทูเนียม | ธาตุลําดับที่ ๙๓ สัญลักษณ์ Np เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน. |
nickel | นิกเกิล | ธาตุลําดับที่ ๒๘ สัญลักษณ์ Ni เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๔๕๓ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ชุบฉาบผิวโลหะอื่นเป็นต้น. |
niobium | ไนโอเบียม | ธาตุลําดับที่ ๔๑ สัญลักษณ์ Nb เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๒๔๖๘ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปเจือเหล็กกล้าไม่เป็นสนิม เพื่อทําให้มีสมบัติคงทนต่อการผุกร่อน และทนต่ออุณหภูมิสูง ๆ ได้ดี. |
nitrogen | ไนโตรเจน | ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ในบรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบสําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. |
nobelium | โนเบเลียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๒ สัญลักษณ์ No เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
osmium | ออสเมียม | ธาตุลําดับที่ ๗๖ สัญลักษณ์ Os เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๐๐ºซ. เนื้อแข็งมาก ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
oxygen | ออกซิเจน | ธาตุลําดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วยให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วยการหายใจของคนไข้. |
palladium | แพลเลเดียม | ธาตุลําดับที่ ๔๖ สัญลักษณ์ Pd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินคล้ายแพลทินัม หลอมละลายที่ ๑๕๕๒ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
phosphorus | ฟอสฟอรัส | ธาตุลําดับที่ ๑๕ สัญลักษณ์ P เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป อัญรูปที่สําคัญ คือ ฟอสฟอรัสขาว (บางทีก็เรียกว่า ฟอสฟอรัสเหลือง) ลักษณะอ่อนคล้ายขี้ผึ้ง หลอมละลายที่ ๔๔ºซ. ติดไฟง่าย เมื่อกระทบอากาศจะให้แสงเรืองเป็นพิษอย่างแรง, ฟอสฟอรัสแดง ลักษณะเป็นผงสีแดงแกมม่วง เมื่อกระทบอากาศไม่ให้แสงเรือง ติดไฟยาก ไม่เป็นพิษเหมือนฟอสฟอรัสขาว. |
platinum | แพลทินัม | ธาตุลําดับที่ ๗๘ สัญลักษณ์ Pt เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงินเป็นเงางามหลอมละลายที่ ๑๗๖๙ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าอุปกรณ์ในเครื่องมือวิทยาศาสตร์ และใช้เป็นเครื่องประดับที่มีค่าสูง. |
plutonium | พลูโทเนียม | ธาตุลําดับที่ ๙๔ สัญลักษณ์ Pu เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
polonium | พอโลเนียม | ธาตุลําดับที่ ๘๔ สัญลักษณ์ Po เป็นธาตุกัมมันตรังสี ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๕๔ºซ. |
potassium | โพแทสเซียม | ธาตุลําดับที่ ๑๙ สัญลักษณ์ K เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อนหลอมละลายที่ ๖๓.๗ºซ. |
praseodymium | เพรซีโอดิเมียม | ธาตุลําดับที่ ๕๙ สัญลักษณ์ Pr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลืองอ่อน ๆ หลอมละลายที่ ๙๓๕ºซ. |
promethium | โพรมีเทียม | ธาตุลําดับที่ ๖๑ สัญลักษณ์ Pm เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้นไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๒๗ºซ. |
protoactinium; protactinium | โพรโทแอกทิเนียม | ธาตุลําดับที่ ๙๑ สัญลักษณ์ Pa เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาอ่อน หลอมละลายที่ ๑๒๓๐ºซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี, โพรแทกทิเนียม ก็เรียก. |
radium | เรเดียม | ธาตุลําดับที่ ๘๘ สัญลักษณ์ Ra เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ เป็นโลหะที่หายากมาก หลอมละลายที่ ๗๐๐ºซ. ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์สําหรับรักษาโรคมะเร็ง. |
radon | เรดอน | ธาตุลําดับที่ ๘๖ สัญลักษณ์ Rn เป็นแก๊สกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ ลักษณะเป็นแก๊สเฉื่อย. |
rhenium | รีเนียม | ธาตุลําดับที่ ๗๕ สัญลักษณ์ Re เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๓๑๘๐ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ทําอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นองค์ประกอบของโลหะทนไฟในจรวด. |
rhodium | โรเดียม | ธาตุลําดับที่ ๔๕ สัญลักษณ์ Rh เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน หลอมละลายที่ ๑๙๖๖ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
rubidium | รูบิเดียม | ธาตุลําดับที่ ๓๗ สัญลักษณ์ Rb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีขาว ไวต่อปฏิกิริยาเคมีอย่างยิ่ง หลอมละลายที่ ๓๘.๙ºซ. |
ruthenium | รูทีเนียม | ธาตุลําดับที่ ๔๔ สัญลักษณ์ Ru เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๒๓๑๐ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
rutherfordium | รัทเทอร์ฟอร์เดียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๔ สัญลักษณ์ Rf เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ ในสหภาพโซเวียตเรียกชื่อธาตุนี้ว่า เคอร์ชาโทเวียม (kurchatovium) และใช้สัญลักษณ์ Ku. |
samarium | ซาแมเรียม | ธาตุลําดับที่ ๖๒ สัญลักษณ์ Sm เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๐๗๒ํซ. |
scandium | สแกนเดียม | ธาตุลําดับที่ ๒๑ สัญลักษณ์ Sc เป็นโลหะที่หายาก ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๕๓๙ºซ. |
seaborgium | ซีบอร์เกียม | ธาตุลําดับที่ ๑๐๖ สัญลักษณ์ Sg (ยังไม่ได้เพิ่มเติมในพจนานุกรมฯ) |
selenium | ซีลีเนียม | ธาตุลําดับที่ ๓๔ สัญลักษณ์ Se เป็นอโลหะ มีสมบัติทางเคมีคล้ายกับธาตุกํามะถัน ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๑๗ºซ. ใช้ประโยชน์ทําเซลล์ไฟฟ้าชนิดที่ใช้พลังงานแสง. |
silicon | ซิลิคอน | ธาตุลําดับที่ ๑๔ สัญลักษณ์ Si เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๔๑๐ºซ. เปลือกโลกประกอบด้วยธาตุนี้ประมาณร้อยละ ๒๕. |
silver | เงิน | ธาตุลําดับที่ ๔๗ สัญลักษณ์ Ag เป็นโลหะสีขาว เนื้อค่อนข้างอ่อน หลอมละลายที่ ๙๖๐.๘ºซ. |
sodium | โซเดียม | ธาตุลําดับที่ ๑๑ สัญลักษณ์ Na เป็นโลหะสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๙๗.๘ºซ. สารประกอบสําคัญของธาตุนี้ที่พบมาก คือ เกลือแกง. |
strontium | สตรอนเชียม | ธาตุลําดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยาเคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ºซ. |
sulphur | กำมะถัน | ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็นองค์ประกอบด้วย. |
tantalum | แทนทาลัม | ธาตุลําดับที่ ๗๓ สัญลักษณ์ Ta เป็นโลหะสีขาวแกมเทา ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๒๙๙๖ºซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
technetium | เทคนีเชียม | ธาตุลําดับที่ ๔๓ สัญลักษณ์ Tc เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่นักวิทยาศาสตร์สร้างขึ้น ไม่มีปรากฏในธรรมชาติ. |
tellurium | เทลลูเรียม | ธาตุลําดับที่ ๕๒ สัญลักษณ์ Te ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาวคล้ายเงิน มีสมบัติทางเคมีคล้ายธาตุกํามะถัน หลอมละลายที่ ๔๔๙.๕ºซ. มีหลายอัญรูป ใช้ประโยชน์ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ และใช้ในอุตสาหกรรมทําแก้วสี. |
terbium | เทอร์เบียม | ธาตุลําดับที่ ๖๕ สัญลักษณ์ Tb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๓๕๖ºซ. |
thallium | แทลเลียม | ธาตุลําดับที่ ๘๑ สัญลักษณ์ Tl เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว หลอมละลายที่ ๓๐๓ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
thorium | ทอเรียม | ธาตุลําดับที่ ๙๐ สัญลักษณ์ Th เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๗๕๐ºซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสี ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
thulium | ทูเลียม | ธาตุลําดับที่ ๖๙ สัญลักษณ์ Tm เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๕๔๕ºซ. |
tin | ดีบุก | ธาตุลําดับที่ ๕๐ สัญลักษณ์ Sn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๒๓๑.๙ºซ. มี ๓ อัญรูป คือ ดีบุกสีเทา ดีบุกสีขาว และดีบุกรอมบิก ใช้ประโยชน์ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันไม่ให้เป็นสนิม ใช้ทําโลหะเจือ แผ่นดีบุกบาง ๆ ใช้สําหรับห่อของเพื่อกันชื้น. |
titanium | ไทเทเนียม | ธาตุลําดับที่ ๒๒ สัญลักษณ์ Ti เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๖๖๘ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
tungsten | ทังสเตน | ธาตุลําดับที่ ๗๔ สัญลักษณ์ W เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทา หลอมละลายที่ ๓๔๑๐ºซ. ใช้ประโยชน์เป็นไส้หลอดไฟฟ้า ผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ, วุลแฟรม ก็เรียก. |
uranium | ยูเรเนียม | ธาตุลําดับที่ ๙๒ สัญลักษณ์ U เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีขาว เนื้อแข็ง หลอมละลายที่ ๑๑๓๒°ซ. เป็นธาตุกัมมันตรังสีที่มีปรากฏในธรรมชาติ ใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์. |
vanadium | วาเนเดียม | ธาตุลําดับที่ ๒๓ สัญลักษณ์ V เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๙๐๐ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. |
xenon | ซีนอน | ธาตุลําดับที่ ๕๔ สัญลักษณ์ Xe เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏเพียง ๐.๐๐๖ ใน ๑ ล้านส่วนในบรรยากาศ. |
ytterbium | อิตเทอร์เบียม | ธาตุลําดับที่ ๗๐ สัญลักษณ์ Yb เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๘๒๔ºซ. |
yttrium | อิตเทรียม | ธาตุลําดับที่ ๓๙ สัญลักษณ์ Y เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเทาเข้ม หลอมละลายที่ ๑๕๐๐ºซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ในเทคโนโลยีนิวเคลียร์. |
zinc | สังกะสี | ธาตุลําดับที่ ๓๐ สัญลักษณ์ Zn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาวแกมนํ้าเงิน หลอมละลายที่ ๔๑๙ºซ. ใช้ประโยชน์ได้มาก เช่น นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ ใช้ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันสนิม. |
zirconium | เซอร์โคเนียม | ธาตุลําดับที่ ๔๐ สัญลักษณ์ Zr เป็นโลหะหายาก ลักษณะเป็นของแข็ง หลอมละลายที่ ๑๘๕๒ºซ. |