3056_5172

จดหมายข่าว ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๐ เอกสารเผยแพร่ ข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒๔ ฉบับที่ ๒๗๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ISSN ๐๘๕๗-๗๐๖๔ *** ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม และ ร้อยโท ดร.บรรจบ บรรณรุจิ ภาคีสมาชิก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ได้รับรางวัลผู้นำพุทธโลก “The World Buddhist Outstanding Leader Award Ceremony 2014” จากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติร่วมกับองค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ *** เมื่อวันศุกร์ที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗ ราชบัณฑิตยสถาน โดยสำนักศิลปกรรม ร่วมกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จัดการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “นำศิลปะร่วมสมัยในอาเซียนไปสู่สถาบันการศึกษา” ตามโครงการปาฐกถาราชบัณฑิตสัญจร ด้านศิลปะ ภาษา และวรรณกรรม ประจำพุทธศักราช ๒๕๕๗ ณ ณ ห้องศรีเมืองใหม่ ตึกสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ในงานมีปาฐกถา เรื่อง “นำศิลปะร่วมสมัยในอาเซียนไปสู่สถาบัน การศึกษา” โดย ศ. ดร.สุรพล วิรุฬห์รักษ์ และอภิปรายเรื่อง “ความเข้าใจเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยในอาเซียน : ทัศนศิลป์ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ศิลปะ การแสดง และดนตรี” โดย ศ.วิบูลย์ ลี้สุวรรณ นายมติ ตั้งพานิช ศ. ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ดร.ไพโรจน์ ทองคำสุก และ ศ. ดร.ณัชชา พันธุ์เจริญ การประชุมฯ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สนับสนุนราชบัณฑิตและภาคีสมาชิก ให้ศึกษา ค้นคว้า วิจัย และเสนอความรู้ในสาขาวิชา ต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องศิลปะร่วมสมัยในอาเซียน พร้อมทั้งปลูกฝังความรักและความสนใจในการอนุรักษ์มรดกศิลปกรรมของชาติ อันจะช่วยกระตุ้นให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ไม่ทำลายของที่มีอยู่เดิม ไปสู่ครู อาจารย์ นักวิชาการด้านศิลปะร่วมสมัย ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับงานศิลปะร่วมสมัย นักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจใน ส่วนภูมิภาค อีกทั้งยังเป็นเวทีสำหรับการติดต่อ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และประสานงานทางวิชาการให้เกิดความเข้าใจและได้รับความรู้เกี่ยวกับศิลปะร่วม สมัย สร้างทัศนคติที่ดีต่อศิลปะร่วมสมัย รวมถึงเพื่อต่อยอดและขยายแนวคิดทางศิลปะร่วมสมัยในการเรียนการสอน การศึกษาต่อ การทำงานวิจัย การสร้างงาน ศิลปะร่วมสมัย การจัดการงานศิลปะ การนำงานศิลปะร่วมสมัยไปเผยแพร่หรือแข่งขันระดับชาติและนานาชาติต่อไป ทั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย นักวิชาการด้านศิลปะ อาจารย์ นักศึกษา รวมทั้งสิ้น ๑๗๓ คน Feb2014.indd 1 4/16/14 8:54:50 AM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=