2712_6485

จดหมายข่าว ราชบัณฑิตยสถาน สนามเสือป่า เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๐๐ โทร. ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๖๖-๗๐ โทรสาร ๐ ๒๓๕๖ ๐๔๙๐ เอกสารเผยแพร่ ข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒๒ ฉบับที่ ๒๕๖ กันยายน ๒๕๕๕ ISSN ๐๘๕๗-๗๐๖๔ *** ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ ศ.เกียรติคุณ ดร.ปัญญา บริสุทธิ์ นายกราชบัณฑิตยสถาน นางสุจิตรา กลิ่นเกสร กรรมการวิชาการ และ นางสาวดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์ กรรมการวิชาการ ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ นายจุลทรรศน์ พยาฆรานนท์ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม ผศ.วินัย ภู่ระหงษ์ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม รศ. ดร.นิตยา กาญจนวรรณ ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม รศ. ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ภาคีสมาชิก สำนักศิลปกรรม รศ. ดร.มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ กรรมการวิชาการ และ ผศ.กิติยวดี บุญซื่อ กรรมการวิชาการ ได้รับการคัดเลือกเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย จากกระทรวงวัฒนธรรม เนื่องในวันภาษาไทย แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๕ สรุปการบรรยายเสนอผลงานค้นคว้าและวิจัย ของราชบัณฑิตและภาคีสมาชิกต่อที่ประชุมสำนัก สำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ๏ วันพุธที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ รศ.นพมาศ อุ้งพระ ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง ความเอื้อเฟื้อ และการช่วยเหลือผู้อื่น (Altruism: Helping Others) ความโดย สรุปว่า ทฤษฎีที่อธิบายพฤติกรรมเอื้อเฟื้อมี ๓ ทฤษฎี คือ ทฤษฎี การแลกเปลี่ยนทางสังคม ซึ่งนักจิตวิทยาได้ตั้งข้อสมมติฐานว่า การ ช่วยเหลือเหมือนพฤติกรรมทางสังคมอื่น ๆ ได้รับการจูงใจโดยความ อยากลดความเสียหายและเพิ่มรางวัล แต่ความห่วงใยซึ่งเกิดจาก ความเอื้อเฟื้อที่แท้จริง ทำเพื่อความผาสุกของผู้อื่นก็จูงใจคนได้ ไม่ใช่ว่าทำเพื่อแลกเปลี่ยนผลประโยชน์เท่านั้น ปทัสถานทางสังคมได้กำหนดการช่วยเหลือ และปทัสถานของ การต่างตอบแทน กระตุ้นให้เราตอบแทนผู้ช่วยเหลือ ปทัสถานของ ความรับผิดชอบต่อสังคม เรียกร้องให้เราช่วยคนที่ต้องการความ ช่วยเหลือจริง ๆ แม้ผู้รับความช่วยเหลือจะตอบแทนไม่ได้ ความเอื้อเฟื้อในทางจิตวิทยาวิวัฒนาการ คือ การอุทิศตน ให้ญาติ และการตอบสนองหรือการต่างตอบแทน ซึ่งนักจิตวิทยา วิวัฒนาการส่วนใหญ่เชื่อว่ายีนของคนที่เห็นแก่ตัวจะอยู่รอดได้มาก กว่ายีนที่เสียสละตนเอง ดังนั้น สังคมจึงควรสอนพฤติกรรม เอื้อเฟื้อเพื่อให้คนเห็นแก่ตัวน้อยลง จากข้อมูลการวิจัยพบว่า มีสถานการณ์หลายอย่างที่มีอิทธิพล ต่อการยับยั้งความเอื้อเฟื้อ เช่น เมื่อคนรอบข้างที่ยืนดูเหตุฉุกเฉิน เพิ่มขึ้น พวกเขาอาจไม่ค่อยสังเกตเห็นเหตุการณ์ ไม่ค่อยตีความว่า มันเป็นเหตุฉุกเฉิน และไม่ค่อยยอมรับผิดชอบ ส่วนเหตุการณ์ที่ส่ง เสริมความเอื้อเฟื้อ เช่น หลังจากเห็นคนอื่นช่วย และเมื่อไม่รีบร้อน รวมทั้งภาวะด้านอารมณ์คือ หลังจากทำผิดคนมักยินดีช่วยเหลือ มากขึ้น เพื่อต้องการบรรเทาความรู้สึกผิดและฟื้นคืนภาพพจน์ คนที่มีภาวะโศกเศร้ามักให้การช่วยเหลือผู้อื่นเนื่องจากรู้สึกแย่และ อยากทำความดี ซึ่งความรู้สึกนี้ไม่มีในเด็ก แสดงว่าการได้รางวัล ทางใจจากการช่วยเหลือเป็นผลผลิตของสังคมประกิต และคนรู้สึกดี ก็ชอบช่วยเหลือคือมีความรู้สึกดีอยากช่วย อย่างไรก็ตาม มีคนบาง พวกชอบช่วยเหลืออยู่เสมอ ความศรัทธาทางศาสนาทำให้เกิดความ เอื้อเฟื้อระยะยาว ซึ่งสะท้อนให้เห็นในงานอาสาสมัครและการ ทำบุญ เราสามารถสอนความเอื้อเฟื้อได้ด้วยค่านิยมทางศีลธรรม และกฎของความยุติธรรมของตน และสามารถเพิ่มการช่วยเหลือ ด้วยการเพิ่มความรู้สึกรับผิดชอบ และสอนให้มีความเอื้อเฟื้อได้ ๏ วันพุธที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ศ.เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ภาคีสมาชิก บรรยายเรื่อง เศรษฐกิจการเมืองเรื่องความมั่นคงของรัฐบาล ความโดยสรุปว่า ในปัจจุบันรัฐบาลในประเทศต่าง ๆ มักจะเผชิญกับปัญหาการอยู่ รอดทางการเมือง หรือความมั่นคงและเสรีภาพทางการเมือง ซึ่งมัก เกิดจากปัญหาและการแก้ปัญหาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ และ การกระทำของรัฐบาลหรือนักการเมือง ซึ่งถ้าประชาชนเป็น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=