ชื่อ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

วัน เดือน ปี เกิด วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙

ภาคีสมาชิก แต่งตั้งเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ สาขาวิชาภาษาศาสตร์ ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สำนักศิลปกรรม

ตำแหน่งสำคัญในราชบัณฑิตยสถาน/ราชบัณฑิตยสภา

- กรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาศาสตร์ทั่วไป

- กรรมการบัญญัติศัพท์ภาษาศาสตร์ประยุกต์

- กรรมการบัญญัติศัพท์ผังเมือง

- กรรมการจัดทำคำอธิบายถ้อยคำภาษาไทย

ประวัติการศึกษา

- ปริญญาตรี อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยม) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๑)

- ปริญญาโท M.A. (ภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยบราวน์ เมืองโพรวิเดนส์ รัฐโรดไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๑๕)

- ปริญญาเอก Ph.D. (ภาษาศาสตร์) มหาวิทยาลัยฮาวาย เมืองฮอนโนลูลู รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา (พ.ศ. ๒๕๒๘)

ประวัติการทำงานวิชาการ

- อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๑๑-๒๕๒๐)

- ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๔๙)

- ผู้ทรงคุณวุฒิประจำหลักสูตรนานาชาติ Southeast Asian Studies Program บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๐-ปัจจุบัน)

- ศาสตราจารย์กิตติคุณ (อาจารย์พิเศษ) ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๙-ปัจจุบัน)

- บรรณาธิการหลัก วารสารนานาชาติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชื่อ MANUSYA, Journal of Humanities

รูปสี ขนาด ๑ นิ้ว เครื่องบเต็มยศประดับเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ หรือชุดสากล

รูปสี ขนาด ๑ นิ้ว เครื่องบเต็มยศประดับเครื่อง ราชอิสริยาภรณ์ หรือชุดสากล

ประวัติการทำงานบริหาร

- หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๕๓๕)

- รองคณบดีฝ่ายวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๓๙)

- รองผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๒)

- ผู้อำนวยการสถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๒-๒๕๔๖)

ผลงานวิชาการ

อมรา ประสิทธ์รัฐสินธุ์. (๒๕๔๘). ภาษาในสังคมไทย : ความหลากหลาย การเปลี่ยนแปลง และการ พัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ ๔ (พร้อม คำถาม-คำตอบในภาคผนวก) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธ์รัฐสินธุ์. (๒๕๔๓). ภาษาศาสตร์สังคม. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธ์รัฐสินธุ์. (๒๕๕๓). ชนิดของคำในภาษาไทย. การวิเคราะห์ทางวากยสัมพันธ์.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (๒๕๖๒). สถานการณ์ภาษาในประเทศไทย : บทบาทของภาษา ประจำชาติกับภาษานานาชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ. (๒๕๖๓). ภาษาประจำชาติกับภาษาอังกฤษในเมียนมา : บทบาท ที่เปลี่ยนไปจากอดีตสู่ปัจจุบัน กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ และคณะ (๒๕๖๓). การใช้ภาษาในแวดวงสำคัญของประเทศฟิลิปปินส์ : บทบาทและหน้าที่ของภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษ. กรุงเทพฯ: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

Prasithrathsint, Amara, Kusuma Thongniam, and Pimpat Chumkaew. (2019). The Use of English and the National Language on the Radio in ASEAN Countries. MANUSYA: Journal of Humanities, 22(3), 261-288.

ความเชี่ยวชาญ

- ภาษาศาสตร์ ด้านวากยสัมพันธ์ ภาษาศาสตร์สังคม ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์ ภาษาศาสตร์ กับการแปล

เกียรติคุณที่ได้รับ

- รางวัลผลงานวิจัยดี ทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๓๒) - รางวัลอาจารย์ดีเด่นแห่งชาติของ ปอมท. (พ.ศ. ๒๕๔๘)

- รางวัลอาจารย์ดีเด่นระดับมหาวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พ.ศ. ๒๕๔๙)

- รางวัลทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๕๐)

- รางวัลทุนเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ครั้งที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๓)

- รางวัลทุนศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สกว.(พ.ศ. ๒๕๕๙)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

- มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) (พ.ศ. ๒๕๔๖) - ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.) (พ.ศ. ๒๕๔๑)