นาง เจริญใจ สุนทรวาทิน                                                

สำนัก :ศิลปกรรม
ประเภทวิชา :วิจิตรศิลป์
สาขาวิชา :
ที่อยู่ :๖๑ ซอยแสนสบาย ถนนพระราม ๔ เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐
คุณวุฒิ:
ม. ๑ โรงเรียนศึกษานารี
เรียนดนตรีและขับร้องจากพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูรยชีวิน) พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล
ตำแหน่ง:
เกียรติคุณ:
โล่สมนาคุณ เนื่องในวันสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๑๗
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับสั่งให้สอนการขับร้องถวายเป็นการส่วนพระองค์, ๒๕๑๘
สตรีสากลคนแรกที่เป็นศิลปิน ในปีสตรีสากล, ๒๕๑๘
แพทยสมาคมแห่งประเทศไทยเสนอให้ได้รับเข็มเกียรติยศพระราชทาน
สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสนอให้ได้รับพระราชทานโล่เกียรติยศจาก สมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ, ๒๕๒๘
ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๓๐
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๓๐
ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (คีตศิลป์), ๒๕๓๐
ผลงานสำคัญ:
รางวัลที่ ๓ การขับร้องในคราวประชันวงปี่พาทย์ที่วังบางขุนพรหม, ๒๔๖๖
รางวัลที่ ๑ การประกวดขับร้องเพลงไทยทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย, ๒๔๙๒
ผู้จัดและคุมวงดนตรีไทยแสดงทางโทรทัศน์ รายการสังคีตภิรมย์
ทำบันทึกแผ่นเสียงตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๗ จนถึงปัจจุบัน ประมาณ ๕๐ เพลง
ได้รับเชิญจากกรมศิลปากรให้บันทึกเสียงการขับร้องและการเดี่ยวซอสามสายเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นแบบฉบับของ ดุริยางคศิลป์สืบไป, ๒๕๑๘
แต่งทางร้องเพลงพญาสี่เสา เพลงจินตะหราวาตี เพลงสาวสุดสวย เพลงฉลองพระนคร เพลงลาวพวน และเพลงจุ๊บแจง ซึ่งเป็นแนวทางใหม่ในการประสานคุณค่าเชิงอนุรักษ์และดนตรีร่วมสมัยเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน
ได้รับเชิญจากนายกสมาคมแต่งเพลงให้ทำเพลงชื่อ ลบรอยแผลรัก อันเป็นดนตรีร่วมสมัย
บันทึกการสอนขับร้องในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบตามหลักสูตร ๔ ปี จำนวน ๕๐ ตลับ
เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีแนวทางเฉพาะตัวในการดนตรี อันได้แก่การแต่งทางร้องของเพลงต่าง ๆ ซึ่งเป็น แนวทางใหม่ผสมผสานกับแนวทางเชิงอนุรักษ์ การคิดประดิษฐ์ทางร้องเพลงฉิ่งพระฉัน ๒ ชั้นโบราณให้เป็นการขับร้อง หมู่ การสีซอสามสายคลอการขับร้องซึ่งผู้สีเป็นผู้ขับร้องเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การดนตรี และที่สำคัญที่สุดคือ แนวทางการขับร้องเพลงไทยเดิมซึ่งมีลีลาประณีตงดงามจับใจผู้ฟัง เป็นที่ยอมรับและยกย่องในหมู่ผู้มีรสนิยมทั่วไป และถือเป็นแบบฉบับหนึ่งของการขับร้องเพลงไทยในปัจจุบัน ซึ่งเน้นในด้านการส่งอารมณ์ของเพลงอันเป็นศิลปะชั้นสูง ที่จะยกมาตรฐานการขับร้องให้สูงขึ้น
ได้รับเชิญจากโครงการพัฒนาดนตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อบันทึกเสียงการขับร้องเพลงเกร็ดโบราณ และเพลง ละครประเภทต่าง ๆ ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ การขับร้องที่มีคุณค่าควรอนุรักษ์, ๒๕๒๑
ได้รับเชิญจากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำให้รายการดนตรีกล่อมพระนครด้วย ศิลปะการร้องชั้นสูงในวงขับไม้ โดยวงมโหรีที่บรรเลงนี้ประกอบด้วยลูกศิษย์สำเร็จจากสาขาต่าง ๆ มาบรรเลง ชื่อวง เจริญใจและศิษย์ บันทึกเทปการขับร้องในวงมโหรี เพื่อเก็บรักษาไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป และร่วม เป็นผู้ขับร้องด้วย, ๒๕๒๕-๒๕๒๖
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุเพลงและขับร้องในการบันทึกเทป บทพระราชนิพนธ์ ฉันท์ดุษฎีสังเวยสมโภชพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, ๒๕๒๖ และบทพระราชนิพนธ์เพลงต่าง ๆ โดยมากจะส่งมาให้อาจารย์เจริญใจใส่เพลงแล้วบรรเลงส่งทาง วิทยุกระจายเสียง และธนาคารกรุงเทพรวบรวมให้วงอาจารย์เจริญใจและศิษย์บรรเลงทำเป็นเทปถวายและจำหน่าย
ร่วมมือกับองค์การยูนิเซฟและธนาคารกสิกรไทย ทำหนังสือ เพลงสยามสำหรับเด็ก ประกอบด้วยโน้ตสากลและการขับร้อง พิมพ์เผยแพร่ทั่วโลก, ๒๕๒๖
ร่วมมือกับสถาบันเกอเธ่และบริษัทไอ.บี.เอ็ม. ทำเทปเพลงสยามสำหรับเด็กสำหรับแจกแก่โรงเรียนอนุบาลทั่วไป, ๒๕๒๘
สร้างโน้ตไทยของซอสามสาย ทั้งวิธีคลอร้องและวิธีรับ เพื่อพิมพ์เป็นตำราเผยแพร่, ๒๕๒๙
ได้รับเชิญเป็นศิลปินพิเศษ เพื่อให้คำปรึกษาและเดี่ยวซอสามสายในการทำแถบวีดิทัศน์ เรื่อง The golden touch of Thai craftmanship เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมไทย เมื่อครั้งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๒๘
ได้รับเชิญจากสถานีวิทยุ B.B.C. ให้ร่วมงาน Festival of Music from the Royal Courts ที่ Queen Elizabeth Hall ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งในงานนี้มีการส่งกระจายเสียงทางวิทยุ B.B.C. ไปทั่วโลก การบรรเลงนั้นมีทั้งการ ขับร้องประกอบซอสามสาย และมีการบรรเลงวงขับไม้ซึ่งเป็นวงดนตรีชั้นสูงของไทยที่แสดงประวัติการดนตรีไทย ชั้นสูงตั้งแต่สมัยสุโขทัยลงมาจนถึงสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์ได้เป็นอย่างดี เครื่องดนตรีที่บรรเลงมีซอสาม สาย กระจับปี่ การได้รับเชิญในครั้งนี้ เดินทางไปพร้อมกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางดนตรีไทยหลายท่านจากวงดนตรีฟองน้ำ
ได้รับเชิญไปบรรเลงดนตรีในงาน Festival of Music ที่ฮ่องกง ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้อง
ได้ทำเพลงเทศกาลสยามเป็นแถบบันทึกเสียงและหนังสือคู่มือบรรจุบทเพลงและโน้ตสากลเผยแพร่ทั่วไป
ได้รับเชิญจากสมาคมญี่ปุ่นให้จัดวงมโหรีบรรเลงในงานฉลองพระราชวงศ์ไทย-ญี่ปุ่น แสดงที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งชาติ
ตลอดเวลาได้เป็นผู้ส่งเสริมอนุรักษ์ดนตรีไทยมาช้านาน มีความมุ่งมั่นขยายการดนตรีไทยซึ่งแต่เดิมเป็นการเล่นอยู่ในวง แคบ ได้พยายามสร้างความนิยมนำดนตรีให้ออกไปสู่สังคมที่กว้างโดยการนำนิสิตนักศึกษาในสาขาวิชาต่าง ๆ มาร่วมวง แสดงในที่ต่าง ๆ ทั้งเข้าร่วมบรรเลงในงานการกุศล และเป็นผู้หนึ่งที่ริเริ่มจัดวงดนตรีอุดมศึกษามีถึง ๔๐ สถาบัน ทบวงมหาวิทยาลัยได้เข้ามาสนับสนุนให้เป็นงานระดับชาติ เป็นตัวอย่างให้ได้มีการจัดดนตรีมัธยมศึกษา และดนตรี ประถมศึกษา และในปัจจุบันดนตรีไทยแพร่หลายไปในหมู่นักศึกษาและนักเรียนทั่วประเทศ
ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยมหิดลให้ขับร้องเพลงกล่อมลูกภาคกลางทำเทปจำหน่าย สำหรับเด็กอ่อนจะได้รับฟังเพลงกล่อม อันนุ่มนวล บทร้องมีสาระ มีทั้งอบรมให้รู้จักระวังตัวและมีจริยธรรม มีนิทานอันมีผลกล่อมเกลาเด็กและรักษาประสาท ทั้งนี้เพราะเด็กไม่ควรได้รับฟังเพลงดัง ๆ ร้อนแรงหรือบทร้องที่เกินวัย ผลที่ได้คือได้รับนิยมอย่างสูง มหาวิทยาลัยมหิดล เห็นคุณค่าจัดให้มีการประกวดเพลงกล่อมลูกมาจนถึงปัจจุบัน
ได้รับเกียรติเป็นผู้บรรยายวิชาประวัติการดนตรีไทยและขับร้องให้นักศึกษาระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร, ๒๕๓๖
ได้รับเชิญจากทบวงมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการจัดทำเกณฑ์ดนตรีไทย-ขับร้องในระดับอนุบาลจนถึง ปริญญา และผู้เชี่ยวชาญ
ได้รับเชิญจากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ช่วยปรับวงดนตรี, ๒๕๓๕
ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร ให้ไปบรรยายเรื่อง ศิลปะการดนตรีและการแสดงในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ในวันสิรินธร, ๒๕๓๖
ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เป็นผู้ฝึกสอนและควบคุมการขับร้องเพลงละครเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนพระไวยแตกทัพ ได้สอนให้คณะลูกศิษย์ปริญญาโท-เอก ทั้งชาย-หญิงเข้าร่วมร้องจำนวน ๑๐ คน และออกแสดงเมื่อพ.ศ. ๒๕๓๖-๒๕๓๗
ความเชี่ยวชาญ: