สำนัก :ศิลปกรรม
ประเภทวิชา :วรรณศิลป์
สาขาวิชา :วรรณกรรมร้อยแก้ว
ที่อยู่ :๓๑/๑๑ ซอยพฤกษชาติ ๓๑ ถนนรามคำแหง ๑๔๔ เขตสะพานสูง กรุงเทพฯ ๑๑๒๔๑
คุณวุฒิ:
อักษรศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๒) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๐๖
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาตะวันตก) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๐๘
Docteur de l'Université de Paris ประเทศฝรั่งเศส, ๒๕๑๐
ปริญญาบัตรวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร, ๒๕๓๘
ตำแหน่ง:
นายกราชบัณฑิตยสถาน
ที่ปรึกษาคณะกรรมการปรับปรุงหลักเกณฑ์การทับศัพท์
กรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์วรรณคดีไทย
ประธานคณะกรรมการจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาเกาหลี
เกียรติคุณ:
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก, มหาวชิรมงกุฎ
เครื่องอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของตระกูลปาล์มส์ อากาเดมีกส์ (Commandeur dans l'Ordre des Palmes Académiques) จากรัฐบาลฝรั่งเศส ในฐานะนักวิชาการผู้มีผลงานดีเด่นในการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางด้านการศึกษาภาษาฝรั่งเศสและวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส, ๒๕๓๓
ได้รับคัดเลือกให้เป็น "ลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่" ประจำปี พ.ศ. ๒๕๔๐ จากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
กีรตยาจารย์ สาขามนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๑
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๔๕
ผลงานสำคัญ:
"โลกทัศน์ของคนไทยวิเคราะห์จากวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย." ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ โอเดียนสโตร์พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๓ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติจัดแปลเป็นภาษาอังกฤษและพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๕
"การศึกษาสภาพสังคมไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากเอกสารสำคัญทางวรรณคดีในสมัยนั้น." ได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๒๖ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๘
ชนชาติต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีน. (แปล) โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๑ และ พ.ศ. ๒๕๒๕
วรรณกรรมเชิงปรัชญาของฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๘. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์พิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๒๙ (ได้รับรางวัลแต่งตำราจากโครงการส่งเสริมการสร้างตำราของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. ราชบัณฑิตยสถานพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๓๓, พ.ศ. ๒๕๓๗ และ พ.ศ. ๒๕๔๒
วิเคราะห์วรรณคดีไทยโดยประเภท. ราชบัณฑิตยสถานพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ. ๒๕๓๔ และ พ.ศ. ๒๕๔๒
ความเชี่ยวชาญ: