สำนัก :ศิลปกรรม
ประเภทวิชา :วิจิตรศิลป์
สาขาวิชา :ดนตรี
ที่อยู่ :๘๑ หมู่ ๑๑ ซอยโสมส่องแสง ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนนทบุรี
คุณวุฒิ:
โรงเรียนปรีชาพิทยากร จังหวัดสุพรรณบุรี, ๒๔๕๔
โรงเรียนพรานหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สอบได้ภาค ๓ (สมัยนั้นมี ๖ ภาค และคณะเดียว), ๒๔๗๙
เรียนดนตรีไทยจากครูในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดสมุทรสงครามแล้วจึงเข้าศึกษาในกรมมหรสพ กรมมหาดเล็ก ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ซึ่งมีพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เจ้ากรมปี่พาทย์หลวง เป็น ครูใหญ่ ต่อมาได้เรียนวิชาโน้ตสากล ทั้งทฤษฎีและการประสานเสียง จากวิทยาสากลดนตรีสถาน พระเจนดุริยางค์ (ปีติ วาทยากร) เป็นครู, ๒๔๗๖
ตำแหน่ง:
เริ่มปฏิบัติงานในกรมปี่พาทย์หลวง กรมมหรสพ (ปฏิบัติงานตั้งแต่อายุยังไม่ครบเป็นข้าราชการ), ๒๔๖๐
เป็นพนักงานในกรมปี่พาทย์หลวง กรมมหรสพ ได้เข้าประจำในวงตามเสด็จรัชกาลที่ ๖, ๒๔๖๑
รับราชการทหารประจำการ สังกัดทหารรักษาวัง, ๒๔๖๕-๒๔๖๗
เป็นพนักงานชั้น ๖ กองปี่พาทย์ กรมบัญชาการมหาดเล็ก กระทรวงวัง, ๒๔๖๙
เป็นพนักงานชั้น ๔ กองปี่พาทย์หลวง ๒ กรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง, ๒๔๗๐
เป็นเสมียนโท กองกลาง กรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง, ๒๔๗๑
เป็นพนักงานชั้น ๒ ปี่พาทย์วง ๒ กรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง, ๒๔๗๒
เป็นพนักงานชั้น ๓ กองปี่พาทย์หลวง แผนกปี่พาทย์ กรมปี่พาทย์และโขนหลวง กระทรวงวัง, ๒๔๗๕
เป็นพนักงานปี่พาทย์ หมวดปี่พาทย์ แผนกปี่พาทย์และโขนหลวง กรมมหรสพ สำนักงานปลัด กระทรวงวัง, ๒๔๗๖
เป็นครูชั้น ๓ หมวดดุริยางค์ไทย แผนกละครและสังคีต กองศิลปวิทยาการ กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ (โดยมติคณะรัฐมนตรีให้โอนกิจการกองมหรสพ กระทรวงวัง มาอยู่ในกรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ), ๒๔๗๘
เป็นครูประจำแผนกนาฏดุริยางค์ โรงเรียนศิลปากร, ๒๔๘๑
ประจำแผนกดุริยางค์ไทย กองดุริยางคศิลป์, ๒๔๘๓
เป็นหัวหน้าแผนกดุริยางค์ไทย กองดุริยางคศิลป์, ๒๔๘๓
เป็นศิลปินตรี รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาการกองการสังคีต, ๒๔๘๕
เป็นหัวหน้าแผนกวิชาการ กองการสังคีต, ๒๔๘๗
เป็นข้าราชการชั้นโท หัวหน้าแผนกดุริยางค์ไทย, ๒๔๘๘
เป็นข้าราชการชั้นเอก ประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๔๙๖
เป็นศิลปินเอก กองการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม, ๒๔๙๘
เป็นศิลปินพิเศษ กองการสังคีต กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๐๓
ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทย กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๐๕-๒๕๓๘
เกียรติคุณ:
ได้รับการครอบประสิทธิ์ประสาทการเรียนเพลงองค์พระพิราพจากครูทองดี ชูสัตย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๗
ได้รับการประสิทธิ์ประสาทให้เป็นผู้ทำพิธีไหว้ครูดนตรีไทยและครอบประสิทธิ์ประสาทให้แก่ศิษย์จาก หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) พ.ศ. ๒๔๘๔
เป็นศิลปินคนแรกของกรมศิลปากรที่ได้ชั้นพิเศษ เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๐๔
ศิลปินตัวอย่าง สาขาดนตรีไทย ประจำปี ๒๕๒๓-๒๕๒๔ 'แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน' ครั้งที่ ๔
ได้รับโล่จากกระทรวงศึกษาธิการในการแต่งเพลงมาร์ชวันครู พ.ศ. ๒๕๒๓
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๒๔
ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม ๒๕๒๖
รางวัลเสาอากาสทองคำ จากผลงานการแต่งทำนองเพลงม่านมงคล
ศิลปินแห่งชาติ สาขาดนตรีไทยประจำปี พ.ศ. ๒๕๒๘
นักวิจัยดีเด่น สาขาปรัชญา ของสภาวิจัยแห่งชาติ, ๒๕๒๙
ได้รับรางวัล ASEAN AWARDS CULTURE COMMUNICATION & LITERARY WORKS (ASEAN) สาชา PERFORMING ARTS, ๒๕๓๐
พ่อตัวอย่าง พ.ศ. ๒๕๓๐
ผู้สูงอายุที่ได้รับการยกย่องประจำปี ๒๕๓๑ จากจังหวัดนนทบุรีและสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมหญิง นนทบุรี
บุคคลดีเด่นของชาติ สาขาศิลปะ (ด้านดนตรี) พ.ศ. ๒๕๓๑
บุคคลดีเด่นเมืองสุพรรณ เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๓๓
รางวัลพระเกี้ยวทองคำ พ.ศ. ๒๕๓๖
ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น เมื่อวันที่ ๒ เมษายน ๒๕๓๗
ศิษย์และผู้นิยมผลงานของครูมนตรี ตราโมท ได้ร่วมกันก่อตั้ง มูลนิธิมนตรี ตราโมท สำนักงานเลขที่ ๑ แขวง พระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๓๗
ผลงานสำคัญ:
เป็นผู้ตีขิมในวังหลวงเป็นคนแรก, ๒๔๖๗
เป็นผู้บอกเพลงในการบันทึกเพลงไทยเป็นโน้ตสากล ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๗๔ ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ทรงเป็นประธาน และสมัยหลังซึ่งหลวงวิจิตรวาทการเป็นประธาน
เป็นกรรมการพิจารณาเพลงชาติ, ๒๔๗๖
เป็นกรรมการสอบไล่ ประโยคมัธยมศึกษา แผนกดุริยางค์, ๒๔๗๘
แต่งเพลง 'วันรัฐธรรมนูญ' ได้รับรางวัลที่ ๑ ของสโมสรคณะราษฎร์ ในวันฉลองรัฐธรรมนูญ, ๒๔๗๙
เป็นกรรมการตรวจสอบเพลงไทยเป็นโน้ตสากล อีก ๒ ครั้ง คือ พ.ศ. ๒๔๘๓ และ พ.ศ. ๒๕๐๔
เป็นกรรมการวิทยุกระจายเสียง ผู้แทนกรมศิลปากร, ๒๔๘๑
แต่งหนังสือหลักวิชาดุริยางคศาสตร์ไทย ใช้สอนในโรงเรียนศิลปากร แผนกนาฏดุริยางค์, ๒๔๘๑
เป็นกรรมการสอบไล่ วิชาชุดครูประถมศึกษา วิชาสังคีต, ๒๔๘๒
แต่งเพลง 'วันชาติ', ๒๔๘๒
ควบคุมละครและดนตรีไปแสดง ณ เมืองกลันตัน ในงานราชาภิเษกสุลต่านรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย, ๒๔๘๗
เป็นกรรมการฝ่ายวัฒนธรรม ประจำคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษาสหประชาชาติ, ๒๔๙๘
ควบคุมละครและดนตรีไปแสดง ณ ราชอาณาจักรลาว พร้อมกับคณะทูตสันถวไมตรี, ๒๕๐๐
เป็นครูผู้กระทำพิธีไหว้ครูและครอบประสิทธิ์ประสาทวิชาดนตรีไทยให้แก่กองการสังคีต วิทยาลัยนาฏศิลป ทั้งส่วนกลาง และต่างจังหวัด หน่วยราชการอื่น ๆ สถานศึกษา และเอกชนทั่วไป
จัดบรรเลงดนตรีและการแสดงเบ็ดเตล็ด สำหรับประชาชน ณ สังคีตศาลา
เขียนคำอธิบายเพลงในนิตยสารศิลปากร และดนตรีสำหรับประชาชน
ในงานกีฬาแหลมทอง ครั้งที่ ๑ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ออกแบบแผนตลอดจนควบคุมการฝึกสอน การแสดงรำโคม (นักเรียนช่างกลปทุมวัน) การแสดงฟ้อนเล็บ (นักเรียนวิทยาลัยครูสวนสุนันทากับวิทยาลัยครูสวนดุสิต) จัดการแต่งกาย สตรีผู้ถือป้ายประเทศไทยนำนักกีฬา และแต่งบทร้องสำหรับรำโคมโดยเฉพาะในงานนี้
ปรับและควบคุมการทำแผ่นเสียงเพลงไทยของกรมศิลปากร ตั้งแต่ชุดที่ ๑ มาจนลองเพลย์ และรำวงทุก ๆ ชุด
ปรับเพลงดนตรีและควบคุมการบรรเลงบันทึกเสียง ในการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง นิ้วเพชร และเรื่อง โบราณวัตถุ
เป็นผู้บรรยายเรื่องดนตรีไทยสมัยสุโขทัย ในการสัมมนาทางโบราณคดีของกรมศิลปากร พ.ศ. ๒๕๐๓ ณ จังหวัดสุโขทัย
เป็นผู้บรรยายเรื่องดนตรีไทยสมัยอยุธยา ในงานครบรอบ ๒๐๐ ปี แห่งกรุงศรีอยุธยา ณ หอสมุดแห่งชาติ
เป็นที่ปรึกษาในการนำละครและดนตรีไปแสดง ณ สหภาพพม่า ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม, ๒๕๐๘
เป็นผู้เข้าร่วมประชุมในเรื่องประเพณีการละครและดนตรีเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับนำการแสดงละครและดนตรี ของกรมศิลปากรไปแสดง ณ กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย, ๒๕๑๒
บทนาฏกรรมไทย ละครเรื่องมโนราห์ แสดงออกอากาศโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๗, ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๒
เป็นผู้แทนของประเทศไทยไปสัมมนาเรื่องรามายณะ ที่ประเทศอินโดนีเซีย
เป็นที่ปรึกษาและหัวหน้าไปประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศรัสเซีย
เป็นผู้บรรยายความรู้ทางดุริยางค์และนาฏศิลป์ไทย อบรมนักเรียนและนักศึกษาที่จะไปศึกษาวิชาการต่างประเทศ ของ ก.พ. ตั้งแต่รุ่นที่ ๑
เป็นผู้บรรยายความรู้ด้านดนตรีไทย อบรมมัคคุเทศก์
เป็นประธานการตัดสินการประกวดอ่านทำนองเสนาะ จัดโดยกองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, ๒๕๑๕-๒๕๓๘
เป็นกรรมการบริหารมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ และช่วยควบคุมการบรรเลง การประพันธ์ และบรรจุเพลงร่วมในงาน วันนริศทุกปี
เป็นกรรมการสมาคมสุพรรณพระนคร
เป็นกรรมการพิจารณาขอเปิดดำเนินการหลักสูตรและการรับรองมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน สาขาวิชาดุริยศิลป์ ทบวงมหาวิทยาลัย
เป็นกรรมการพิจารณาผลงานทางวิชาการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการก่อตั้ง คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ที่ปรึกษาหนังสือวารสารรายเดือน มานวสาร ของชุมนุมนักเรียนเก่าโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานคณะกรรมการตัดสินการประกวดนักร้องเพลงไทย ชิงรางวัลเกียรติยศ 'ฆ้องทองคำ', ๒๔๒๓, ๒๕๒๘
เป็นผู้ร่วมสมานฉันท์ร้องกรองหนังสือ 'นวมราชสดุดี' ในมหามงคลพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก วันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๑
ที่ปรึกษาคณะกรรมการจัดทำแบบเรียกวิชาดนตรีศึกษา ของกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ
ที่ปรึกษาคณะกรรมการดำเนินงานจัดแสดงสังคีตสายใจไทย
ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการฝ่ายการบรรเลงคอนเสิร์ตสายใจไทย
ราชบัณฑิตที่ปรึกษา ของราชบัณฑิตยสถาน
ครูพิเศษ สอนวิชาดุริยางคศิลปไทยและคีตศิลปไทย ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติที่โรงเรียนนาฏศิลป กรมศิลปากร
อาจารย์พิเศษสอนวิชาบทละครไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษ สอนวิชาภาษาไทยเกี่ยวกับบทละคร และวิชาภาษาไทยเกี่ยวกับวรรณคดีและวัฒนธรรม คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาจารย์พิเศษ สอนวิชาการประพันธ์เพลงไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อาจารย์พิเศษ สอนวิชาการประพันธ์เพลงไทย และวิชาทฤษฎีการดนตรีไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
อาจารย์พิเศษ สอนวิชาการละครไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร (ทับแก้ว)
อาจารย์พิเศษ สอนวิชาอ่านทำนองเสนาะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
ความเชี่ยวชาญ: