สำนัก :วิทยาศาสตร์
ประเภทวิชา :วิทยาศาสตร์กายภาพ
สาขาวิชา :เคมี
ที่อยู่ :สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ๑๑๑ อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
คุณวุฒิ:
ปริญญาตรี สาขาเคมี (เกียรตินิยมอันดับ ๑) มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ, ๒๕๐๙
ปริญญาเอก สาขาเคมีอินทรีย์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ, ๒๕๑๒
ตำแหน่ง:
อาจารย์และศาสตราจารย์ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ๒๕๑๒-๒๕๓๙
ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ, ๒๕๒๘-๒๕๓๔
ผู้อำนวยการคนแรกของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ๒๕๓๕-๒๕๔๑
ประธานสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ๒๕๔๘-๒๕๔๙
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, ๒๕๔๙-๒๕๕๑
ที่ปรึกษาอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ, ๒๕๔๗-ปัจจุบัน
เกียรติคุณ:
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์, ๒๕๒๗
ศาสตราจารย์อาคันตุกะ (visiting professor) สถาบันชีววิทยาโมเลกุล มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนแฟรนซิสโก สหรัฐอเมริกา, ๒๕๓๓
รางวัล ASEAN Science and Technology Meritorious Service Award จากองค์การอาเซียน, ๒๕๔๑
นักเรียนทุนรัฐบาลดีเด่น, ๒๕๔๕
รางวัลผลงานวิจัยเกียรติยศ สกว. จากการได้รับการอ้างอิงผลงานวิจัยสูงสุด, ๒๕๔๖
บุคคลดีเด่นของชาติ จากคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ, ๒๕๔๗
รางวัล Nikkei Asia Award for Science, Technology and Innovation จาก Nihon Keizai Shimbun ประเทศญี่ปุ่น, ๒๕๔๗
หนังสือพิมพ์ The Nation ได้จัดให้เป็น ๑ ใน ๓๕ คนผู้มีบทบาทสูงต่อประเทศไทย ในช่วง ๓๕ ปีที่ผ่านมา, ๒๕๔๙
เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ ?แนวทางการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยกับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐? ในงานวันเปิดบ้านราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐
ผลงานสำคัญ:
ผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ๑๑๒ เรื่อง
เขียนหนังสือและตำรา ๑๑ เรื่อง - สิทธิบัตร ๓ เรื่อง
ค้นพบกลไกของการดื้อยาแอนติโฟเลตของเชื้อมาลาเรียซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของเอนไซม์ในเชื้อที่เป็นเป้าหมายของยา
ความเชี่ยวชาญ:
งานวิจัยด้านการพัฒนายาต้านมาลาเรียโดยเฉพาะแอนติโฟเลตและชีวเคมีพื้นฐานของมาลาเรีย