สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
84 กวีวัจน์วรรณนา “ปราง” สื่อความหมายได้ ๒ นัย นัยแรกหมายถึงแก้มนาง นัยที่ ๒ หมายถึง ผลมะปราง เมื่อรวม ๒ นัยเข้าด้วยกันและน� ำไป ประกอบกับค� ำว่า “เพ็ญ” เป็น “เพ็ญปราง” จึงให้ภาพแก้มของนางที่อิ่ม เต็ม เนียนเรียบ และนวลผุดผ่องได้ดียิ่ง ในบาทที่ ๔ “ข� ำกว่าแขไขแย้ม ยิ่งยิ้มอัปสร” ค� ำว่า “ยิ่งยิ้มอัปสร” เป็นการใช้ค� ำที่สั้นกระชับ แต่ให้ภาพ และความหมายที่ชัดเจนว่าในยามที่นางแย้มยิ้ม นางยิ่งมีความงดงาม กว่านางสวรรค์ การกล่าวเช่นนี้ไม่เพียงเป็นการพรรณนาความงามของ นาง แต่ยังเป็นการแสดงความรู้สึกของกวีด้วยว่า เพียงแค่ได้เห็นรอย ยิ้มของนาง กวีก็รู้สึกปลาบปลื้มใจยิ่งกว่าได้เห็นนางสวรรค์ ความงาม และรอยยิ้มของนางจึงเป็นสิ่งที่กวีโหยหา ดังนั้น แม้เป็นโคลงสั้น ๆ เพียงบทเดียว แต่ด้วยชั้นเชิงการเลือกสรร ค� ำและการร้อยเรียงถ้อยค� ำของกวี โคลงบทนี้จึงเป็นวรรคทองที่เปี่ยมไป ด้วยความไพเราะและลีลาวรรณศิลป์ที่ประทับใจผู้อ่านได้อย่างยาวนาน ตราบถึงปัจจุบัน �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 84 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=