สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

83 ถึงสถานที่ใด นางก็ยังอยู่ในความคิดค� ำนึงของกวีอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่า นั้น ธรรมชาติรอบตัวไม่ว่าจะเป็นพรรณพืชหรือสรรพสัตว์ก็ล้วนแต่ย�้ ำ เตือนให้กวีระลึกถึงนาง ท� ำให้กวีโศกเศร้ามากยิ่งขึ้นอีก ในตอนท้าย กวีได้กล่าวเน้นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่ตนมีให้นางอันเป็นที่รักและ ย�้ ำเตือนให้นางรักษาบทประพันธ์นี้ไว้แทนตัวกวี ในบทจบ กวีระบุชื่อ ตนเองและกล่าวแสดงความภาคภูมิใจในผลงานการประพันธ์ของตน ความหมายของวรรคทอง โคลงบทนี้กวีเปรียบเทียบใบหน้าอันงดงามของนางผู้เป็นที่รักกับ ความงามของดวงจันทร์ โดยกวีกล่าวว่า เมื่อยามดูดวงจันทร์ ความ งามของดวงจันทร์ก็มิอาจเปรียบกับความงามแห่งดวงหน้าของนาง ได้ เพราะดวงจันทร์ยังมีต� ำหนิที่มองดูเหมือนกระต่ายแต้มอยู่กลาง ดวงจันทร์ ใบหน้าของนางจึงนวลผุดผ่องยิ่งกว่า เป็นความงามที่หาสิ่ง ใดมาเปรียบมิได้ งามยิ่งกว่าความสดใสของดวงจันทร์และนางอัปสร ยามแย้มยิ้ม ความดีเด่น โคลงบทนี้ดีเด่นในด้าน “การเล่น” กับขนบวรรณคดีหรืออีกนัยหนึ่ง ก็คือการน� ำขนบวรรณคดีไทยมาปรับแปลงให้มีลีลาและความหมาย ที่ไพเราะแตกต่างไปจากเดิม ในโคลงบทนี้ กวี “เล่น” กับขนบการชม นางที่มักเปรียบเทียบดวงหน้าของหญิงสาวว่ามีความนวลผ่องงดงามดั่ง ดวงจันทร์ โดยกล่าวว่า นางที่รักของกวีมีความงดงามยิ่งกว่าดวงจันทร์ เพราะแม้แต่ดวงจันทร์วันเพ็ญที่ได้รับการยอมรับว่างามก็ยังมิใช่ความ งามสมบูรณ์แบบ ด้วยมีต� ำหนิที่ดูมองเหมือนกระต่ายแต้มอยู่กลาง ดวงจันทร์ ส่วนดวงหน้าของนางอันเป็นที่รักของกวีนั้นงามอย่างไร้ที่ติ ลักษณะเด่นอีกประการหนึ่งของโคลงบทนี้ คือ การสรรค� ำที่สั้น กระชับ แต่ให้ภาพชัดเจน และสื่อความหมายได้ลึกซึ้ง เช่น ในบาทที่ ๓ “พิมพ์พักตร์แม่เพ็ญปราง จักเปรียบ ใดเลย” เป็นการสรรค� ำที่ ให้ความไพเราะทั้งในด้านเสียงสัมผัส จินตภาพและความหมาย ค� ำ ว่า “พิมพ์พักตร์” สื่อให้เห็นถึงใบหน้าที่งดงามไร้ต� ำหนิใด ๆ ส่วนค� ำว่า ชมแขคิดใช่หน้า นวลนาง นิราศนรินทร์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 83 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=