สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
77 และยังสอนคติข้อคิดที่คมคายซึ่งกลั่นกรองมาจากประสบการณ์ชีวิต ของตนเอง นิราศภูเขาทองกล่าวถึงความพลิกผันของชะตาชีวิตสุนทรภู่จาก สุขที่สุดเป็นทุกข์ที่สุดอันแสดงให้เห็นสัจธรรมส� ำคัญเรื่องความเป็น อนิจจังของชีวิต วรรคทองบทนี้เป็ นตอนที่กวีเดินทางมาถึงต� ำบลบางพูด เมืองนนทบุรี ความหมายของวรรคทอง วรรคทองนี้ กวีได้น� ำชื่อสถานที่คือ “บางพูด” มาเชื่อมโยงกับการให้ คติเรื่องการพูดว่า การพูดจาดี ไพเราะน่าฟังจะยังผลดีให้เกิดแก่ผู้พูด เพราะมธุรสวาจาที่ซาบซึ้งชื่นใจย่อมท� ำให้ผู้ฟังเกิดความรักและความ เมตตา ในทางกลับกันหากพูดจาไม่ดี นอกจากจะน� ำความเดือดร้อน มาสู่ผู้พูดแล้ว ยังเป็นการท� ำลายมิตรภาพอีกด้วย ชีวิตของคนเราจะดี หรือชั่วจึงขึ้นอยู่กับการพูดจาเป็นส� ำคัญ ความดีเด่น กลอนบทนี้ให้คติเรื่องการพูด โดยใช้วิธีการเล่นค� ำ คือน� ำชื่อ “บาง พูด” ซึ่งเป็นชื่อสถานที่มาเชื่อมโยงกับการสอนเรื่องการพูดจา กวีใช้ ถ้อยค� ำง่าย แต่สื่อความหมายกว้างและลึกซึ้ง เช่น ค� ำว่า “พูดดี”อาจ หมายถึงการพูดสิ่งที่ดีมีประโยชน์การพูดไพเราะสุภาพอ่อนหวาน การ พูดแต่ค� ำจริงไม่โป้ปดหลอกลวง การพูดอย่างมีวาทศิลป์ ฯลฯ ค� ำว่า “พูดชั่ว” อาจหมายถึง การพูดไม่จริง การพูดหยาบคาย การพูดโอ้อวด การพูดส่อเสียด การพูดยุแยงตะแคงรั่ว ฯลฯ นอกจากนี้ ค� ำว่า “เป็น ศรีศักดิ์” อาจหมายถึง ก่อให้เกิดสิริมงคล ความสุข โชคลาภ วาสนา ความยกย่องนับถือ ฯลฯ หรือค� ำว่า“ตัวตายท� ำลายมิตร”อาจหมายถึง น� ำความเดือดร้อนให้ตนเอง สูญเสียมิตรภาพ ท� ำให้ไม่มีคนคบหา ฯลฯ และค� ำว่า “ชอบผิดในมนุษย์” กวีน� ำค� ำเพียงสองค� ำที่มีความหมายตรง ข้ามกัน คือ “ชอบ” และ “ผิด” มาวางเคียงกัน แต่สามารถสื่อถึงผลอัน ยิ่งใหญ่จากการพูดจาที่จะมีต่อชีวิตมนุษย์ได้อย่างชัดเจนลึกซึ้ง การใช้ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ นิราศภูเขาทอง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 77 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=