สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
64 กวีวัจน์วรรณนา สมคู่ควรกับอิเหนาทุกประการ อิเหนาก็คงไม่มีวันหวนกลับมารักนาง เหมือนเช่นเดิมอีก จะเห็นว่าการสร้างจินตภาพของสายน�้ ำดังกล่าว นี้สามารถแสดงให้เห็นความรักของอิเหนาที่มีต่อจินตะหราได้อย่าง ครอบคลุมทุกมิติและมองเห็นความเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน เริ่ม จากความชื่นเย็น ความรุนแรงมีพลัง ความแปรเปลี่ยนไม่แน่นอน และ การไม่หวนกลับคืนของความรัก ค� ำร� ำพันนี้ยังสะท้อนให้เห็นทั้งความ รัก ความหวาดระแวง และความเจ็บปวดเสียใจอันลึกซึ้งของจินตะ- หรา ซึ่งก� ำลังประจักษ์ถึงชะตากรรมแห่งชีวิตรักของตนเองว่า ก� ำลังจะ ถูกอิเหนาทอดทิ้งไปตลอดกาล ในกลอนบทต่อมา กวีสามารถสรรค� ำและใช้ความเปรียบที่สื่อให้ เข้าใจอารมณ์เจ็บแค้นและน้อยเนื้อต�่ ำใจของจินตะหราที่ต่อเนื่องจาก ความเจ็บปวดเสียใจที่ร� ำพันในบทต้น ในบทนี้จินตะหราเปรียบเทียบ ความเจ็บแค้นที่ท่วมท้นอัดแน่นอยู่ในอกได้อย่างสะเทือนอารมณ์ ว่า ไม่มีความแค้นของ “สตรีใดในพิภพจบแดน” เทียบกับความแค้น ในใจนางได้เลย ความเจ็บแค้นใจนี้แฝงไว้ด้วยความน้อยเนื้อต�่ ำใจใน โชคชะตาและวาสนาของตนเองที่ “ใฝ่รักให้เกินพักตรา” คือการหลง รักชายผู้มีชาติก� ำเนิด วงศ์ตระกูล และยศศักดิ์สูงส่งกว่าตนเอง ทั้งยัง เป็นชายที่มีคู่หมายงดงามและอยู่ในวงศ์ที่คู่ควรกันด้วย การร� ำพันด้วย ความน้อยเนื้อต�่ ำใจว่านาง “ใฝ่รักให้เกินพักตรา” นี้ ยังมีนัยสื่อถึงการ เปรียบเทียบตนเองกับบุษบาที่คู่ควรเหมาะสมกับอิเหนาในทุก ๆ ด้าน ต่างจากตัวนางผู้ต�่ ำต้อยอย่างสิ้นเชิง ความ “ได้แค้น” ที่คั่งอยู่ในใจของ นางจึงเป็นความแค้นใจในความต�่ ำต้อยของตนเองและความไม่รู้จัก ยับยั้งชั่งใจ ไปหลงเชื่อความรักอันแปรปรวนรวนเรของอิเหนา ทั้งยัง เป็นความแค้นใจที่ไม่อาจแก้ไขสิ่งใดได้ เพราะได้มอบความรักให้แก่ อิเหนาไปจนหมดสิ้นแล้ว ด้วยเหตุนี้นางจึงจ� ำต้องยอมรับชะตากรรม ของชีวิตว่า นับจากนี้ “จะมีแต่เวทนาเป็นเนืองนิตย์” ค� ำว่า “เวทนา” นี้ หมายถึงทั้งความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน และความสังเวชสลดใจ การใช้ ค� ำว่า “เวทนา” ในที่นี้แสดงความสามารถของกวีในการสรรค� ำได้อย่างดี ยิ่ง เพราะสามารถสื่อความหมายถึงความเจ็บปวดทรมานใจและความ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 64 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=