สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

56 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง โคลงบทนี้มุ่งให้คติว่าผู้ที่มีความรู้ความสามารถหรือมีอ� ำนาจอย่าง แท้จริงนั้น ไม่จ� ำเป็นต้องโอ้อวด เช่นเดียวกับพญานาคที่มีพิษร้ายแรง สามารถแผดเผาเหยื่อให้มอดไหม้ได้ดุจแสงอาทิตย์แต่กลับเลื้อยแช่ม ช้าไม่แสดงฤทธิ์เดช ส่วนผู้ที่มีความรู้ความสามารถหรือมีอ� ำนาจน้อย มักจะแสดงอาการโอ้อวด เช่นเดียวกับแมงป่องที่มีพิษเพียงที่ปลาย หาง แต่กลับชูหางอวดเบ่งด้วยความหยิ่งยโสว่าตนมีพิษร้าย ความดีเด่น โคลงบทนี้แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างความโอ้อวดกับการ ถ่อมตนได้อย่างชัดเจน โดยการใช้สัตว์มีพิษ ๒ ชนิดเป็นตัวแทนของ ผู้ที่มีความรู้ความสามารถหรือมีอ� ำนาจแต่ไม่แสดงออกกับผู้ที่ด้อย ความรู้ความสามารถหรือมีอ� ำนาจน้อย แต่กลับพยายามอวดอ้างใน สิ่งที่ตนมีอยู่เพียงน้อยนิด ในเทวต� ำนาน พญานาคเป็นสัตว์ที่ทรงอานุภาพมาก เมื่อครั้งกวน น�้ ำอมฤต พญานาควาสุกรียอมตนให้เหล่าเทวดาและอสูรใช้แทน เชือกพันเขามันทรเพื่อกวนเกษียรสมุทร ขณะที่ถูกเทวดาและอสูรดึง ไปมา พญานาคเกิดความเจ็บปวดจึงพ่นพิษเป็นไฟที่มีฤทธิ์รุนแรงถึง ขั้นท� ำลายล้างโลกได้ เพื่อดับความเดือดร้อนอันจะเกิดแก่โลก พระ อิศวรจึงได้เสวยพิษของพญานาค จนพระศอถูกเผาไหม้เป็นสีนิล โคลงบทนี้ได้เปรียบเทียบฤทธิ์อ� ำนาจอันยิ่งใหญ่ของพญานาคกับดวง อาทิตย์ซึ่งสอดคล้องกับการใช้ค� ำว่า “เดโช” ที่หมายถึง อ� ำนาจ ความ ร้อน หรือไฟด้วย เมื่อเปรียบกับพญานาค แมงป่องเป็นสัตว์ที่มีขนาดเล็กและมีพิษ น้อยกว่าอย่างเทียบไม่ได้ การน� ำแมงป่องมาเปรียบเทียบกับคนด้อย ความรู้ความสามารถและอ� ำนาจ แต่ชอบโอ้อวด แสดงให้เห็นว่ากวี เข้าใจธรรมชาติของแมงป่องที่มักชูหางที่มีพิษอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะ เมื่อมีอันตรายหรือเตรียมพร้อมจะต่อสู้ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 56 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=