สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

50 กวีวัจน์วรรณนา พันวษาจึงให้นางวันทองเลือกว่าจะอยู่กับขุนช้าง ขุนแผน หรือพระไวย แต่นางเลือกไม่ได้ท� ำให้พระพันวษากริ้วและสั่งประหารชีวิตนางวันทอง เป็นอันสิ้นสุดความรักสามเส้าระหว่างขุนแผน นางวันทอง และขุนช้าง เนื้อเรื่องช่วงหลังของเสภาขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องราวของรุ่นลูกขุน แผนคือพระไวย (พลายงาม) และพลายชุมพล (ลูกของขุนแผนกับ นางแก้วกิริยา) และกล่าวถึงเรื่องรักสามเส้าของพระไวย นางศรีมาลา กับนางสร้อยฟ้าว่า นางสร้อยฟ้าภรรยาน้อยให้เถรขวาดท� ำเสน่ห์จน พระไวยหลงฟั่นเฟือนท� ำร้ายนางศรีมาลาภรรยาหลวงกับพลายชุมพล น้องชาย พลายชุมพลจับเสน่ห์นางสร้อยฟ้าได้และแก้ไขให้พระไวยฟื้น คืนสติ นางจึงถูกขับออกจากอยุธยา ต่อมาเถรขวาดคิดแค้น จึงแปลง เป็นจระเข้เข้ามาก่อความวุ่นวายในเมืองกรุง แต่ถูกพลายชุมพลจับได้ และถูกตัดสินประหารชีวิต วรรคทองที่ยกมานี้อยู่ในเนื้อเรื่องตอนพลายงามลานางวันทองไป อยู่กับนางทองประศรีที่เมืองกาญจนบุรีเพื่อหนีภัยจากขุนช้างที่คิดร้าย ความหมายของวรรคทอง กลอนบทนี้เป็นค� ำพูดของพลายงามซึ่งกล่าวลานางวันทองผู้เป็น แม่ด้วยความอาลัยรัก พลายงามกล่าวว่า แม่รักลูกมากเพียงใดนั้นลูก ก็ประจักษ์ชัดอยู่ในใจ ใคร ๆ ในโลกนี้นับหมื่นนับแสนคนก็ไม่รักลูกมาก เหมือนเช่นที่แม่รัก แม่คอยดูแลเอาใจใส่ตักเตือนด้วยความรักความ เมตตาไม่ว่ายามกินหรือยามนอน ครานี้ลูกจ� ำต้องพลัดพรากจากบ้าน และแม่ไปก็แต่เพียงตัวเท่านั้น แต่ใจลูกยังคงรักและอยู่กับแม่ตลอดไป ความดีเด่น วรรคทองบทนี้มีความดีเด่นหลายประการ ประการแรก ดีเด่นด้าน การแสดงอารมณ์รักอาลัยอาวรณ์อันลึกซึ้งที่ลูกมีต่อแม่ในช่วงเวลา ก่อนที่จะลาจากกันค� ำร� ำพันของพลายงามนี้ แม้มีเพียงบทเดียว แต่สื่อ อารมณ์ของตัวละครได้อย่างครบถ้วนและจับใจ ทั้งความรักของลูกที่มี ต่อแม่ความรักของแม่ที่มีต่อลูก และความโศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ของ ลูกผู้ซึ่งก� ำลังจะต้องพรากจากแม่ไปโดยที่ไม่รู้ว่าเมื่อไรจะได้กลับมาพบ กันอีก ท� ำให้ผู้อ่านประจักษ์ถึงสายใยรักอันลึกซึ้งระหว่างพลายงามกับ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 50 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=