สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
409 อาจใช้ค� ำขึ้นต้นบทว่า “เมื่อนั้น” ได้เช่นกัน เช่น ไกรทองซึ่งเป็นตัว ละครชาวบ้านที่เป็นตัวละครเอกของเรื่องในบทละครนอกใช้ค� ำขึ้น ต้นว่า “เมื่อนั้น โฉมเจ้าไกรทองพงศา” -“บัดนั้น” ใช้ขึ้นต้นบทเมื่อกล่าวถึงตัวละครบริวาร เช่น ทหาร อ� ำมาตย์ เสนาข้าราชบริพาร ฯลฯ -“มาจะกล่าวบทไป” ใช้ขึ้นต้นบทเมื่อจะเริ่มต้นตอนหรือขึ้นเนื้อ ความใหม่ -ค� ำขึ้นต้นแบบกลอนดอกสร้อย เช่น รถเอยรถทรง สุดเอยสุด สวาท ลิ้นเอยลิ้นลม ฯลฯ มักใช้ขึ้นต้นบทที่มีเนื้อหาเกี้ยวพาราสี ตัดพ้อ ต่อว่า และบทชมต่าง ๆ เช่น บทชมโฉม บทชมทัพ ฯลฯ -ค� ำขึ้นต้นแบบเต็มวรรคเหมือนกลอนสุภาพทั่วไป เช่น “พักตร์น้อง ละอองนวลปลั่งเปล่ง” ทั้งนี้ ค� ำขึ้นต้น “เมื่อนั้น “บัดนั้น” และ “มาจะกล่าวบทไป” ไม่ จ� ำเป็นต้องส่งสัมผัสไปยังวรรคต่อไปแต่ค� ำขึ้นต้นแบบกลอนดอกสร้อย และค� ำขึ้นต้นแบบเต็มวรรคนั้นจะต้องส่งสัมผัสไปยังวรรคต่อไป ๒. จ� ำนวนค� ำในแต่ละวรรคมีตั้งแต่๖-๙ค� ำ การส่งสัมผัสระหว่างค� ำ สุดท้ายของวรรคแรกไปยังวรรคที่๒ และระหว่างค� ำสุดท้ายของวรรคที่ ๓ ไปยังวรรคที่ ๔ สามารถส่งไปสัมผัสได้ตั้งแต่ค� ำที่ ๑-๕ ๓. เนื่องจากกลอนบทละครใช้ประกอบการแสดงจึงมักมีการบอก ท� ำนองเพลงที่ใช้ร้องกลอนบทละครตอนนั้นก� ำกับไว้เมื่อเริ่มต้นตอน หรือเริ่มเนื้อความใหม่ เช่น “ช้า” “โอด” “โทน” หมายถึง เพลงช้า เพลง โอด และเพลงโทน นอกจากนี้ เมื่อจบเนื้อความแต่ละตอน มักมีการ ระบุจ� ำนวนของค� ำกลอน (บาท) ไว้ตอนท้าย และก� ำกับชื่อเพลงหน้า พาทย์ที่จะบรรเลงรับต่อจากนั้น เช่น “ฯ ๘ ค� ำ ฯ ตระ” หมายถึง กลอน บทละครตอนนี้มี ๘ ค� ำกลอน หรือ ๘ บาท (เท่ากับ ๔ บท) และก� ำกับ เพลงหน้าพาทย์ “ตระ” ให้วงปี่พาทย์เล่นรับ รูปแบบค� ำประพันธ์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 409 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=