สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
388 กวีวัจน์วรรณนา โคลงสี่สุภาพ แผนผังของโคลงสี่สุภาพ ตัวอย่างค� ำประพันธ์ที่แต่งด้วยโคลงสี่สุภาพ เสียงฦๅเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย เสียงย่อมยอยศใคร ทั่วหล้า สองเขือพี่หลับใหล ลืมตื่น ฤๅพี่ สองพี่คิดเองอ้า อย่าได้ถามเผือ (ลิลิตพระลอ) ฉันทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ คณะ โคลงสี่สุภาพ ๑ บทมี ๓๐ ค� ำ ไม่รวมค� ำสร้อย โคลงสี่สุภาพ ๑ บท แบ่งเป็น ๔ บาท เช่น “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย” นับเป็น ๑ บาท ๑ บาทแบ่งเป็น ๒ วรรค คือ วรรคหน้า เช่น “เสียงลือเสียงเล่า อ้าง” และวรรคหลัง เช่น “อันใด” วรรคหน้ามี ๕ ค� ำ วรรคหลังของบาทที่ ๑ - ๓ มี ๒ ค� ำ วรรคหลัง ของบาทที่ ๔ มี ๔ ค� ำ วรรคหลังของบาทที่ ๑ และ ๓ อาจมีค� ำสร้อยต่อ ท้ายได้ เช่น พี่เอย ฤๅพี่ ค� ำสร้อยเหล่านี้จะมีหรือไม่มีก็ได้ ค� ำสร้อย หมายถึง ค� ำหรือวลีที่ใช้ลงท้ายวรรค ท้ายบาท หรือท้าย บทร้อยกรอง เพื่อความไพเราะของเสียงและความชัดเจนของความ หมาย หรือเพื่อแสดงว่าจบตอน เช่น นา เฮย ฤๅ บารนี แก่แม่นา โสตถิ์ เทอญ ค� ำสร้อยมักพบใช้ในค� ำประพันธ์ประเภทร่ายและโคลง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 388 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=