สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
382 กวีวัจน์วรรณนา สามเณรชิตได้อุปสมบทณวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๔ หลัง จากนั้นอีกสองปีจึงได้ลาสิกขา และเข้าท� ำงานกับหนังสือพิมพ์หลาย แห่ง เช่น ศรีกรุง พิมพ์ไทย โฟแท็กซ์ ไทยหนุ่ม เทิดรัฐธรรมนูญ ต่อมา พ.ศ. ๒๔๕๘ นายชิตได้ส่งบทประพันธ์ปลุกใจชื่อว่า “ชาติปิยานุ- สรณ์” ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สมุทสาร หนังสือพิมพ์รายเดือนของราช- นาวีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรเห็นก็ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นอันมาก ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่ขอภาพถ่ายเจ้าของบทปลุกใจลง พิมพ์ประกอบด้วย ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๕๙ นายชิตได้รับพระราชทาน นามสกุล “บุรทัต” จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ ได้สมรสกับนางจั่น แต่ไม่มีบุตรธิดาด้วยกัน ชิต บุรทัต ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๕ ด้วย โรคล� ำไส้พิการ ขณะมีอายุได้ ๔๙ ปี ได้ฝากผลงานการประพันธ์เอา ไว้ในวงการวรรณคดีหลายชิ้น ผลงานที่ได้รับยกย่องและเป็นที่รู้จัก แพร่หลายมากที่สุด คือ สามัคคีเภทค� ำฉันท์ ชิต บุรทัต ได้ชื่อว่าเป็น กวีที่สร้างสรรค์ปรับรูปแบบค� ำประพันธ์ใหม่ได้หลากหลาย น่าอ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค� ำประพันธ์ประเภทฉันท์ ทั้งยังมีความสามารถ แต่งค� ำประพันธ์ให้อ่านได้หลายรูปแบบทั้งร้อยแก้วและร้องกรองใน คราวเดียวกันอีกด้วย ชิต บุรทัต มีนามแฝงหลากหลาย เช่น “นาย ชิต บรรณาธิการผู้ช่วย” “ช. บุรทัต” “เอกชน” “เจ้าเงาะ” “แมวคราว” และ “เอกกวี” ผลงานบางส่วนของชิต บุรทัต เช่น ๑. สามัคคีเภทค� ำฉันท์ ๒. ชาติปิยานุสรณ์ ๓. กาพย์เฉลิมพระเกียรติงานพระเมรุทองท้องสนามหลวง ๔. ลิลิตสุภาพจุลธนุคคหะบัณฑิต ๕. ลิลิตสุภาพพาโลทกชาดกในทุกนิบาต �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 382 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=