สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
378 กวีวัจน์วรรณนา สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ กรมหมื่น อัปสรสุดาเทพตลอดช่วงรัชกาลที่๓นี้ สุนทรภู่มีชีวิตแบบลุ่ม ๆ ดอน ๆ มีผู้อุปการะบ้าง ตกยากล� ำบากบ้าง แต่กลับเป็นช่วงเวลาที่ผลิตผลงาน ออกมาได้มากที่สุดโดยเฉพาะเรื่องพระอภัยมณีซึ่งเป็นเรื่องที่สร้างชื่อ เสียงสูงสุดแก่สุนทรภู่ ในรัชกาลที่๔พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้สุนทรภู่เป็นเจ้ากรมพระอาลักษณ์ฝ่ายพระบวรราชวัง มีบรรดาศักดิ์เป็นพระสุนทรโวหาร สุนทรภู่ด� ำรงต� ำแหน่งเจ้ากรมพระ อาลักษณ์ได้ ๕ ปี ก็ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๘ รวมอายุได้ ๗๐ ปี ตลอดชีวิตของสุนทรภู่ประสบทั้งความรุ่งเรืองและตกต�่ ำ ทั้งนี้ เพราะสุนทรภู่เป็นกวีที่มีความสามารถสูง แต่ก็มีอุปนิสัยส่วนตัวบาง ประการที่มักก่อให้เกิดปัญหาในชีวิตอยู่เนือง ๆ เช่น นิสัยเจ้าชู้และ ติดสุรา อย่างไรก็ตาม สุนทรภู่ได้รับยกย่องว่ามีฝีปากเป็นเลิศในการ แต่งกลอนสุภาพ ลีลาการแต่งกลอนของสุนทรภู่ที่เน้นเสียงสัมผัสใน ซึ่งพัฒนาจากกลบทมธุรสวาทีเป็นที่นิยมในแวดวงนักกลอนตราบจน กระทั่งปัจจุบัน สุนทรภู่จึงมักได้รับการกล่าวถึงในฐานะ “ครูกวี” อยู่ เสมอ ใน พ.ศ. ๒๕๒๙ เนื่องในวาระครบ ๒๐๐ ปีเกิดของสุนทรภู่ องค์การ ศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ ประกาศยกย่องเกียรติคุณให้สุนทรภู่เป็นบุคคลส� ำคัญที่มีผลงานดีเด่น ทางด้านวัฒนธรรมระดับโลก ผลงานประพันธ์ของสุนทรภู่ มีดังนี้ ร้อยกรอง นิราศ - นิราศเมืองแกลง - นิราศพระบาท - นิราศภูเขาทอง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 378 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=