สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

28 กวีวัจน์วรรณนา รู้สึกว่าการเสียสละอันยิ่งใหญ่ไม่ใช่เรื่องยากส� ำหรับนักรบผู้ปลอดจาก ความเห็นแก่ตัวโดยสิ้นเชิง และจัดวางล� ำดับความส� ำคัญของตนเองไว้ ท้ายสุด แต่ในขณะเดียวกันค� ำว่า “มอบ” ก็ไม่ได้มีความหมายเพียงการ ยกให้หรือเสียสละสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ผู้อื่นเท่านั้น แต่ยังมีนัยถึงการยกเอา สิ่งนั้นให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของตน เช่น การมอบ “มะโน” ให้แก่ “พระผู้เสวยสวรรค์” ก็คือการยกเอาศาสนาเป็นสรณะแห่งจิตวิญญาณ การ “มอบ” ในความหมายว่ายกให้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวนี้เองที่ท� ำให้ การ “มอบ” ในความหมายว่าเสียสละหรืออุทิศตนเกิดขึ้นได้อย่าง ง่ายดาย กลวิธีเช่นนี้ นอกจากจะท� ำให้ผู้อ่านผู้ฟังที่เป็นนักรบเกิดแรง บันดาลใจที่จะประพฤติปฏิบัติตามแล้ว ยังจะท� ำให้ผู้ที่มิได้เป็นนักรบ เกิดความตระหนักซาบซึ้งในคุณค่าและความยิ่งใหญ่ของนักรบอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงน� ำเสนอภาพอันน่า ประทับใจนี้นอกจากเพื่อเชิดชูผู้เป็นนักรบโดยแสดงให้เห็นคุณลักษณะ อันล�้ ำเลิศ รวมทั้งคุณค่าและความส� ำคัญของบุคคลกลุ่มนี้แล้ว ยังมี พระราชประสงค์ให้นักรบไทยยึดเอาโคลงภาษิตนักรบโบราณนี้เป็น บรรทัดฐานแห่งความประพฤติด้วย ดังที่ได้ทรงอธิบายขยายความเพิ่ม เติมว่า การมอบ “มะโน” ถวายแด่พระผู้เป็นเจ้าหรือ “ธรรม” อันสูงสุด ของศาสนาเป็นสิ่งส� ำคัญในการท� ำสงคราม เพราะการปกป้องรักษาบ้าน เมืองคือการปกป้องศาสนาด้วย ขณะเดียวกัน การมี “ธรรม” สูงสุด ของศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจยามเข้าสู่สมรภูมิช่วยท� ำให้จิตใจ ของนักรบมีความมั่นคงแน่วแน่ในการปฏิบัติหน้าที่ ส่วนการอุทิศกาย เพื่อรับใช้และพิทักษ์พระมหากษัตริย์ด้วยความภักดี ก็เพื่อให้พระองค์ ได้ทรงครองแผ่นดินเพื่อความสงบสุขของประชาราษฎร์ การมอบหัวใจ รักอันมั่นคงไว้กับภรรยาและมารดา ช่วยให้ยามต้องจากบ้านไปท� ำ สงครามเพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ จิตใจของนักรบจะไม่หวั่นไหวเมื่อพบ สิ่งยั่วยวนใจต่าง ๆ และหากนักรบตระหนักรู้อยู่เสมอว่าการสละชีวิต เพื่อปกป้องชาติบ้านเมืองเป็นเกียรติและศักดิ์ศรีสูงสุดของความเป็น นักรบ จิตใจก็จะองอาจกล้าหาญ ไม่ครั่นคร้ามในการท� ำสงครามและ ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสุดก� ำลังความสามารถ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 28 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=