สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

344 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง โคลงบทนี้สอนเรื่องการเลือกคบมิตรโดยแสดงให้เห็นลักษณะ ของมิตร ๒ ประเภท ประเภทแรกคือมิตรที่มุ่งแสวงผลประโยชน์ หรือ ทรัพย์สินเงินทอง เมื่อหมดผลประโยชน์แล้วก็หนีหายหรือห่างเหิน ไป มิตรประเภทนี้หาง่ายและพบได้ทั่วไป ส่วนมิตรอีกประเภทหนึ่ง คือมิตรแท้ที่สามารถสละชีวิตแทนกันได้ เป็นมิตรที่คอยช่วยเหลือ เกื้อกูลยามยากล� ำบาก และเป็นที่พึ่งได้จนวาระสุดท้าย มิตรประเภท นี้หาได้ยากยิ่ง ความดีเด่น โคลงบทนี้มีความดีเด่นหลายประการ ประการแรกคือการน� ำ สุภาษิตมาแต่งเป็นโคลงกระทู้ ดังจะเห็นว่า เมื่อน� ำกระทู้หน้าบาทมา อ่านเรียงกันจะได้ข้อความว่า “เพื่อนกินหาง่าย เพื่อนตายหายาก” กระทู้นี้คือสารส� ำคัญซึ่งสื่อไปยังผู้อ่านอย่างชัดเจนตรงไปตรงมา ท� ำให้ จดจ� ำได้ง่าย ความดีเด่นประการต่อมาคือ การขยายความสุภาษิตเพิ่ม เติม โดยหยิบยกพฤติกรรมของ “เพื่อนกิน” และ “เพื่อนตาย” มา อธิบายให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม กวีขยายความค� ำว่า “เพื่อนกิน” ว่า หมายถึงเพื่อนที่มุ่งตักตวงผลประโยชน์ เมื่อหมดประโยชน์แล้วก็จะ “แหนงหนี” ไป และขยายความค� ำว่า “เพื่อนตาย” ว่าหมายถึงเพื่อน ที่พร้อมจะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเพื่อน เป็นที่พึ่งได้ทั้งในยามทุกข์ และสุข กวีจึงกล่าวว่าเพื่อนเช่นนี้ “ยากแท้จักหา” การจัดวางเนื้อหาของโคลงให้สมมาตรกันเป็นความดีเด่นอีก ประการหนึ่งของโคลงบทนี้ กล่าวคือ โคลงสองบาทแรกกล่าวถึง “เพื่อนกิน” และโคลงสองบาทหลังกล่าวถึง “เพื่อนตาย” ท� ำให้เกิด การเปรียบต่างระหว่างเพื่อนสองประเภท ผู้อ่านจะมองเห็นลักษณะ ที่พึงหลีกเลี่ยงของมิตรเทียมและคุณสมบัติอันน่ายกย่องของมิตรแท้ ได้อย่างชัดเจน เนื้อหาของโคลงบทนี้จึงถือเป็นคติที่มีประโยชน์ยิ่งใน การเลือกคบมิตร �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 344 8/8/2557 BE 3:10 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=