สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

27 บทนี้บาทละภาพต่อมาทรงพระราชด� ำริว่า โคลงที่ได้ทรงพระราชนิพนธ์ ไว้แล้วบทหนึ่งนั้น “ได้ทรงบรรจุความให้ลงสั้น ๆ สมกับแบบเดิมของ ฝรั่งเศส บางทีผู้อ่านจะยังเข้าใจความไม่แจ่มแจ้งเพียงพอ” จึงได้ทรง พระราชนิพนธ์โคลงเพิ่มเติมขึ้นอีกเพื่ออธิบายข้อความแต่ละบาทอย่าง ละเอียดกว้างขวาง พระราชทานให้เป็นคติแก่เสือป่ากองเสนาหลวง รักษาพระองค์ซึ่งขณะนั้นก� ำลังประชุมพลและฝึกซ้อมวิธีการรบอยู่ ความหมายของวรรคทอง โคลงบทนี้กล่าวถึงคุณลักษณะส� ำคัญของผู้เป็นนักรบว่า นักรบย่อม มอบจิตวิญญาณถวายแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าหรือ “ธรรม” อันสูงสุดของ ศาสนา ร่างกายนั้นอุทิศเพื่อปกป้องเทิดทูนองค์พระมหากษัตริย์ผู้ครอง แผ่นดิน หัวใจรักของนักรบมอบแด่ภรรยาและมารดา สิ่งเดียวที่นักรบ รักษามั่นไว้กับตนคือเกียรติยศศักดิ์ศรี ความดีเด่น ความดีเด่นของโคลงบทนี้อยู่ที่การน� ำเสนอภาพอันน่าประทับใจของ นักรบในอุดมคติ ซึ่งกอปรด้วยความเสียสละอันยิ่งใหญ่ ยอมอุทิศชีวิต ทั้งกาย จิต และวิญญาณเพื่อพิทักษ์รักษาชาติ ศาสน์กษัตริย์และบุคคล อันเป็นที่รัก โดยเหลือไว้เพียงสิ่งเดียวส� ำหรับตนคือเกียรติยศศักดิ์ศรี แห่งนักรบ ซึ่งสิ่งนี้ก็ได้มาจากการสละตนเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม นั่นเอง และเกียรติศักดิ์ของนักรบนี้จะด� ำรงอยู่ชั่วกาลนาน ไม่สูญสลาย ไปพร้อมกับชีวิต การอุทิศตนเพื่อรักษาเกียรติศักดิ์จึงเป็นอุดมคติที่ นักรบยึดมั่นไว้สูงสุด กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรง ใช้เพื่อน� ำเสนอภาพอันยิ่งใหญ่ของนักรบ คือการใช้ค� ำง่าย ๆ เช่น ค� ำว่า “มอบ” แทนการใช้ค� ำที่มีความหมายหนักแน่นหรือยิ่งใหญ่กว่า ส� ำหรับ มนุษย์ปุถุชนธรรมดา การอุทิศส่วนส� ำคัญต่าง ๆ ในชีวิตของตนไม่ว่า จะเป็นวิญญาณ ร่างกาย หรือหัวใจรักเพื่อผู้อื่นเป็นสิ่งที่กระท� ำได้ยาก ต้องเป็นผู้ที่มีจิตใจกล้าหาญเข้มแข็งอย่างยิ่งยวดเท่านั้นจึงจะสามารถ กระท� ำได้การซ�้ ำค� ำว่า “มอบ” ในโคลงทุกบาท จึงท� ำให้ผู้อ่านเกิดความ มะโนมอบพระผู้ เสวยสวรรค์ โคลงภาษิตนักรบโบราณ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 27 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=