สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
338 กวีวัจน์วรรณนา พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในวรรคทองบทแรก ว่า หากมีผู้มารุกราน “ด้าวแดนไทย” ซึ่งอาจตีความได้ว่า หมายถึงผืน แผ่นดินของคนไทย หรือผืนแผ่นดินอันเป็น “ไท” ชาวไทยก็จะ “รบจน สุดใจ ขาดดิ้น” คือต่อสู้อย่างสุดแรงหรือสุดก� ำลัง จนแม้ตัวจะตายก็ ไม่หวั่นเกรง เพราะการต่อสู้นี้คือการปกป้องทั้งชาติและตนเองซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของชาติ และปกป้องอิสระเสรีของประเทศด้วย ดังนั้น หาก ชาวไทยทุกคนโดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารไทยจะต้อง “เสียเนื้อเลือดหลั่ง ไหล” ก็เป็นสิ่งที่ควร “ยอมสละสิ้น” เพราะการ “เสียชีพ” นั้น สิ่งที่มิได้ “สิ้น” ตามชีพไปแต่จะคงอยู่ตลอดไปก็คือ “ชื่อก้องเกียรติงาม” อัน เกิดจากความเสียสละอันยิ่งใหญ่นี้ จะเห็นได้ว่ากวีทรงเล่นค� ำว่า “เสีย” และ “สิ้น” ได้อย่างแยบคาย การใช้ค� ำว่า “เสีย” และ “สิ้น” ยังมีนัยส� ำคัญเชื่อมโยงกับค� ำว่า “อยู่” ในบทถัดมา กล่าวคือ นอกจากเกียรติยศศักดิ์ศรีของความเป็นคนไทย ที่จะด� ำรงอยู่แล้ว การสละเลือดเนื้อหรือชีวิตจนหมดสิ้นยังช่วยรักษา ประเทศให้ “อยู่ยั้งยืนยง” ชาติไทยและชาวไทยก็จะด� ำรงอยู่ต่อไปได้ อย่างมั่นคงด้วย ถึงแม้ว่าร่างกายอาจสูญสิ้นไป แต่ชื่อเสียงเกียรติยศ ก็จะยังคงอยู่ แต่ถ้าหากประเทศถูกท� ำลายจนย่อยยับ ชาติไทย ชาว ไทย หรือความเป็นไทอันหมายถึงเอกราชและอิสระเสรี ก็จะ “อยู่” ไม่ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการคงชีวิตอยู่ หรือการอยู่อย่างทุกข์ทรมาน เหมือนขาดชีวิตวิญญาณ เพราะเป็นการอยู่อย่างเป็นทาสของผู้อื่น การ “มอดม้วย” ของชาติไทยชาวไทย หรือความเป็นไทนี้ จึงส่งผล ให้ “สกุลไทย” ต้องหมดสิ้นลง ค� ำว่า “สกุลไทย” นี้มิได้หมายถึงเผ่า พงศ์วงศ์วานของคนไทยเท่านั้น แต่ยังหมายถึงชื่อเสียงเกียรติยศและ อารยธรรมความเจริญทั้งหลายของชาวไทยที่มิอาจเจริญงอกงามและ ด� ำรงอยู่ต่อไปได้หากความเป็นชาติพินาศไปด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้งชื่อโคลงบทนี้ว่า “สยามานุสสติ” อัน หมายถึง การระลึกถึงประเทศสยามอยู่ทุกขณะจิต เพื่อเป็นการเตือน ให้คนไทยระลึกอยู่เสมอว่า การด� ำรงอยู่ของชาติและการด� ำรงอยู่ของ เราทุกคนเป็นสิ่งที่แยกจากกันไม่ได้ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 338 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=