สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
336 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง โคลงสยามานุสสติ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี/สมัยที่แต่ง พ.ศ. ๒๔๖๑ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี โคลงบทนี้เป็นวรรณคดีค� ำสอน คือวรรณคดีที่มีเนื้อหามุ่งแสดงคติ ปรัชญาในการด� ำเนินชีวิต จริยธรรม หรือข้อประพฤติปฏิบัติของคนใน สังคมกวีอาจน� ำค� ำสอนมาจากค่านิยมความเชื่อหลักธรรมทางศาสนา หรือประสบการณ์ชีวิต โคลงสยามานุสสติเป็นวรรณคดีค� ำสอนที่มุ่งปลูกฝังความรักชาติ รูปแบบค� ำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานเลี้ยงส่งทหารอาสา ๑,๕๐๐ นาย ที่จะ เดินทางไปร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่ ๑ ที่ทวีปยุโรป ณ สนามข้าง พระที่นั่งอนันตสมาคม ในโอกาสนั้น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้า ฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน ค� ำขวัญส� ำหรับเป็นเครื่องเตือนสติและเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจให้แก่ ทหารเหล่านั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระ ราชนิพนธ์โคลงสยามานุสสติพระราชทานในวันถัดมา โดยทรงได้ รับแรงบันดาลพระราชหฤทัยจากค� ำขวัญปลุกใจของอังกฤษในช่วง สงครามโลกครั้งที่ ๑ ว่า “What stands if freedom fall ? Who dies if England live ?” ค� ำขวัญนี้เป็นส่วนหนึ่งของกวีนิพนธ์ชื่อ For �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 336 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=