สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
332 กวีวัจน์วรรณนา จากกระแสน�้ ำวนมาได้ ไม่เช่นนั้นเรือจะล่มลง และทุกคนในเรือ ก็จะเป็นอันตราย จากนั้นกวีได้เปรียบเทียบเชื่อมโยงความรุนแรง ป่วนปั่นของกระแสน�้ ำวนและความพยายามของคนพายเรือที่จะ ต่อสู้กับกระแสน�้ ำวน กับจิตใจที่วนเวียนอยู่ในอารมณ์แห่งความ รักความปรารถนา ซึ่งแม้จะใช้ความพยายามแข็งขืนเท่าใดก็มิอาจ พ้นจากใจที่เวียนวนนั้นได้ กวีสร้างจินตภาพด้วยการสรรค� ำอย่างประณีตและน� ำมาร้อย เรียงได้อย่างลงตัว ดังในบาทแรกที่ว่า “น�้ ำวิ่งกลิ้งเชี่ยวเป็นเกลียว กลอก กลับกระฉอกฉาดฉัดฉวัดเฉวียน” ซึ่งแต่ละค� ำล้วนมีความ หมายแสดงการเคลื่อนไหวที่ปั่นป่วนรุนแรงของสายน�้ ำ เมื่อน� ำค� ำ มาเรียงร้อยกันก็ท� ำให้เกิดเสียงสัมผัสพยัญชนะและเสียงสัมผัส สระแพรวพราว มีจังหวะที่ฟังดูกระแทกกระทั้น นอกจากนี้ยังมี การใช้ค� ำเลียนเสียงของน�้ ำที่ซัดกระฉอกไปมาคือ “ฉาดฉัด” ท� ำให้ ผู้อ่านเห็นภาพและได้ยินเสียงของสายน�้ ำที่เชี่ยวกรากอย่างชัดเจน นอกจากภาพของกระแสน�้ ำที่เชี่ยวกราก กวียังใช้ค� ำและความ เปรียบที่ท� ำให้เห็นภาพของน�้ ำที่ไหลเวียนวงเป็นวนจนเกิดเป็นเวิ้ง และเป็นช่องว่าง สื่อความรู้สึกหวาดหวั่นต่อภัยอันตรายของผู้ที่ อยู่ในเรือท่ามกลางกระแสน�้ ำวน ดังปรากฏในบาทที่สอง ได้แก่ การ ใช้ค� ำว่า “วุ้งวง” “หว่างวน” ซึ่งบรรยายลักษณะของเรือที่ยังอยู่ใต้ อ� ำนาจของกระแสน�้ ำวน การใช้ค� ำซ�้ ำ “พลุ่งพลุ่ง” “เปลี่ยนเปลี่ยน” “คว้างคว้าง” ท� ำให้เกิดเสียงและจังหวะที่สร้างจินตภาพ และการใช้ ความเปรียบว่าน�้ ำวน “เหมือนกงเกวียน” ให้ภาพน�้ ำที่ไหลวนเป็นวง อย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อน เหล่านี้ล้วนท� ำให้ผู้อ่านจินตนาการเห็น ภาพของกระแสน�้ ำวนที่น่าหวั่นกลัวอย่างสมจริง และท� ำให้ เข้าใจ ความพยายามของคนพายเรือทั้งสองที่ช่วยกัน “กรายแจวกระชาก จ้วง” เพื่อน� ำเรือให้หลุดออกมาอย่างปลอดภัยได้ในที่สุด �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 332 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=