สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

321 อีกเมื่อใดหนอพระองค์จะได้กลับไปพบกับนาง เพื่อว่าความเศร้าจาก การพลัดพรากนี้จะได้ยุติลง ในมิติที่สาม กวีสร้างความเชื่อมโยงของ ความหมายต่อเนื่องไปอีกว่า เนื่องจากพระมหาอุปราชาทรงตระหนัก ดีว่า การกลับไปหานางในขณะนี้ย่อมเป็นไปไม่ได้ ด้วยพระองค์มีราช- กิจในการสงคราม การยุติความเศร้าในสถานการณ์เช่นนี้จึงมีเพียง วิธีเดียวคือหยุดคิดถึงนาง แต่วิธีนี้ก็ดูเป็นวิธีที่เป็นไปไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะความคิดค� ำนึงที่พระองค์มีต่อนางนั้นมีอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เช้า ถึงค�่ ำ การร� ำพึงว่า “ถวิลทุกขวบค�่ ำเช้า หยุดได้ฉันใด” จึงช่วยเน้นย�้ ำ ความสิ้นหวังของพระมหาอุปราชาที่จะ “หยุด” ความทุกข์ระทมอัน เกิดจากการพลัดพรากจากนาง กวีได้ถ่ายทอดความหมายทั้ง ๓ มิตินี้ด้วยการเรียบเรียงถ้อยค� ำ ที่ดูเหมือนเรียบง่าย แต่แท้จริงแล้วเป็นการสรรค� ำที่เปี่ยมไปด้วย วรรณศิลป์และความประณีตบรรจง การใช้ค� ำที่สื่อนัยถึงเวลาในทุก บาท ได้แก่ “สาย” “คืน” “วัน” “ขวบ” “ค�่ ำ” “เช้า” และการใช้ค� ำที่ สื่อนัยถึงการ “หยุด” ในทุกบาท ได้แก่ “หยุด” “หาย” “วาย” “วาง” นอกจากจะเป็นการสร้างความไพเราะด้วยการซ�้ ำเสียงและการสร้าง เสียงสัมผัสกับค� ำอื่น ๆ ในบทแล้ว ยังเป็นการสร้างเอกภาพและความ เชื่อมโยงทางความหมายระหว่าง “สาย” และ”หยุด” อย่างแยบคาย เพราะกวีมิเพียงแต่จะแสดงอานุภาพของความรักที่มิได้เสื่อมคลาย ไปตามกาลเวลาเท่านั้น แต่กวียังพรรณนาให้ผู้อ่านเข้าใจอย่างชัดเจน ถึงความรู้สึกทุกข์ระทมของผู้ที่ตกอยู่ในบ่วงของความรักความคิดถึง ที่มิอาจหาทางออกได้ ความไพเราะทางเสียง ความหมายที่ลึกซึ้งกินใจ และความซาบซึ้ง สะเทือนอารมณ์ดังที่ได้กล่าวมานี้ จึงท� ำให้โคลงบทนี้เป็นวรรคทองที่ ตราตรึงอยู่ในความ ทรงจ� ำของผู้อ่านมาตราบจนทุกวันนี้ สายหยุดหยุดกลิ่นฟุ้ง ยามสาย ลิลิตตะเลงพ่าย �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 321 8/8/2557 BE 3:10 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=