สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
314 กวีวัจน์วรรณนา ความดีเด่นของวรรคทอง วรรคทองนี้แม้จะเป็นบทสั้น ๆ แต่ก็สามารถสื่อถึงประวัติชีวิตและ โชคชะตาอันพลิกผันของสุนทรภู่ได้อย่างชัดเจน สุนทรภู่แต่งบทนี้เมื่อ นั่งเรือผ่านพระต� ำหนักแพ ท่าราชวรดิฐ ซึ่งเป็นที่ที่ตนได้เคยหมอบเฝ้า ถวายงานพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยอย่างใกล้ชิดจึงเกิด ความรู้สึกสะเทือนใจเมื่อนึกถึงชีวิตของตนที่เคยเจริญด้วยลาภยศ และวาสนาในสมัยรัชกาลก่อน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นขุน สุนทรโวหารกรมพระอาลักษณ์ แต่เมื่อผลัดแผ่นดิน ก็มีอันต้องหมด สิ้นวาสนาทั้งหลายที่เคยมี พระมหากรุณาธิคุณที่เคยได้รับก็หมดสิ้น ไป ต้องมีชีวิตที่ยากล� ำบาก กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่เด่นในบทประพันธ์ตอนนี้ คือกวีใช้ “กลิ่น สุคนธ์” ซึ่งในที่นี้เป็นนามนัย (ภาพพจน์รูปแบบหนึ่งซึ่งใช้ค� ำหรือวลีแทน สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะเด่นหรือมีสัมพันธภาพใกล้ชิดกับสิ่งที่แทนนั้น อาจแทนสิ่งที่เป็นรูปธรรมหรือนามธรรมก็ได้) หมายถึงพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย และยังสื่อถึงความใกล้ชิดของสุนทรภู่ขณะ เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การได้ปฏิบัติราชกิจ ถวายอย่างใกล้ชิดนับเป็นช่วงชีวิตที่รุ่งเรืองที่สุดของสุนทรภู่ ดังนั้น การ “สิ้นกลิ่นสุคนธ์” จึงก่อให้เกิดความสะเทือนใจแก่สุนทรภู่อย่าง ลึกซึ้ง เพราะไม่เพียงเป็นการสูญเสียพระมหากษัตริย์ซึ่งเป็นที่เทิดทูน บูชาและเป็นที่พึ่งสูงสุดของสุนทรภู่เท่านั้น แต่ยังเป็นการสิ้นสุดความ รุ่งเรืองและโชควาสนาในชีวิตของสุนทรภู่อีกด้วย ในบาทแรก กวีกล่าวถึง “กลิ่นสุคนธ์” ที่รินรื่นจากพระวรกาย เป็น ที่ชื่นใจแก่ผู้ที่หมอบเฝ้าอย่างใกล้ชิดท� ำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพของกลิ่น หอมและเข้าใจความรู้สึกอิ่มเอมใจของกวีที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ และความไว้วางพระราชหฤทัย แต่ในบาทที่สอง กวีกลับสร้างความรู้สึก ที่ตัดกันอย่างรุนแรงด้วยการกล่าวว่า เมื่อสิ้นแผ่นดิน คือเมื่อพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสวรรคต กลิ่นสุคนธ์ที่เคยหอมรื่นก็ ระเหยหายไปอย่างฉับพลัน เช่นเดียวกับโชคลาภวาสนาที่เคยได้รับก็ พลอยมลายหายสิ้นตามไปด้วย หรืออีกนัยหนึ่งตีความได้ว่า วาสนา �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 314 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=