สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
22 กวีวัจน์วรรณนา และหางหงส์ ท� ำให้เห็นภาพอันสมบูรณ์ของหน้าบันและหลังคาซึ่งเป็น ส่วนที่เด่นของปราสาทราชวังไทย กวีใช้ค� ำที่ให้จินตภาพของแสงและ สี เช่น “ระยับ” “วะวะวับ” “สลับพรรณ” และ “ประภัสสร” เนื่องจาก ปราสาทราชวังไทยมักมีสีทองอร่ามและประดับประดาด้วยกระจกสี เมื่อต้องแสงอาทิตย์จึงเกิดเป็นประกายระยิบระยับ กวียังหลากค� ำ ที่สื่อถึงความงาม เช่น “ตระการ” “พิลาส” “ศุภจรูญ” และ “พิจิตร” เพื่อเน้นย�้ ำความงดงามของส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นปราสาท ราชวังที่งามสมบูรณ์ นอกจากนี้ กวียังใช้ภาพพจน์แบบบุคลาธิษฐาน กล่าวคือ ให้ช่อฟ้า แสดงอาการ “หยัน” “เยาะ” และ “ยั่ว” ท้องฟ้า และให้หางหงส์แสดง อาการ “กวัก” ท้องฟ้า ภาพพจน์ดังกล่าวมีนัยหลายประการ ประการ แรกคือ สื่อว่าปราสาทราชวังนั้นงดงามยิ่งกว่าเมืองสวรรค์ จึงสามารถ ที่จะเย้ยหยันความงามของเมืองสวรรค์ได้ ประการต่อมาคือ สื่อว่า ปราสาทราชวังมีความโอ่อ่าอลังการจนช่อฟ้าและหางหงส์สูงเสียดฟ้า และประการสุดท้ายคือ สื่อให้เห็นลักษณะของช่อฟ้าที่ชูเชิดขึ้นไปบน ท้องฟ้าเหมือนท� ำอาการเย้ยหยันท้องฟ้า และลักษณะของหางหงส์ที่ งอนงามนั้นเหมือนกับท� ำอาการกวักเรียกท้องฟ้า การใช้ภาพพจน์ดัง กล่าวจึงให้ทั้งภาพความงาม ความยิ่งใหญ่ และความมีชีวิตชีวาของ ปราสาทราชมนเทียรไปพร้อมกันอันสื่อถึงบุญญาบารมีของพระมหา กษัตริย์ผู้ทรงเป็นศูนย์กลางของราชธานี บทชมเมืองบทนี้เป็นที่จดจ� ำของผู้อ่านมายาวนาน เนื่องจาก เป็นบทชมเมืองที่สร้างจินตภาพแจ่มชัดผ่านการสรรค� ำและการใช้ ภาพพจน์ความเปรียบ เมื่อประกอบกับลีลาอันสง่างามของวสันต- ดิลกฉันท์ ยิ่งท� ำให้บทชมบทนี้เป็นบทที่สะท้อนภาพความงดงาม ของสถาปัตยกรรมไทยอย่างถึงพร้อมด้วยวรรณศิลป์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 22 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=