สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
ค� ำน� ำ วรรณคดีไทยเป็นผลงานสร้างสรรค์อันประณีตวิจิตรที่แสดงถึงการประสานกลมกลืน กันระหว่างศาสตร์กับศิลป์ ในความเป็นศาสตร์ วรรณคดีไทยประกอบไปด้วยเนื้อหา สาระที่ให้ความรู้ในด้านต่าง ๆทั้งความรู้เกี่ยวกับสภาพชีวิตความคิดความเชื่อประเพณี วัฒนธรรมที่สังคมยึดถือปฏิบัติมาแต่โบราณ และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติ ของมนุษย์และสัจธรรมของชีวิต ศาสตร์เหล่านี้ได้รับการถ่ายทอดออกมาด้วยการร้อย เรียงภาษาอย่างมีศิลปะ เปี่ยมไปด้วยอารมณ์และวรรณศิลป์อันไพเราะงดงาม วรรณคดี ไทยจึงมีฐานะเป็นทั้งองค์ความรู้ที่เป็นมรดกทางความคิดและเป็นสื่อในการถ่ายทอด ภูมิปัญญาแก่สังคม นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่ส� ำคัญยิ่งของชาติ ความไพเราะแห่งภาษาและความลึกซึ้งแยบคายทางความคิดดังกล่าวนี้ท� ำให้ถ้อยค� ำ จากวรรณคดีไทยจ� ำนวนมากเป็นที่จดจ� ำสืบมาและเป็นที่รู้จักเรียกขานกันว่า“วรรคทอง” วรรคทองในวรรณคดีไทยมีอยู่จ� ำนวนมาก แต่ในการจัดพิมพ์หนังสือ “กวีวัจน์วรรณนา วรรคทองในวรรณคดีไทยพร้อมประวัติและค� ำอธิบาย” นี้ ผู้จัดท� ำเนื้อหาได้คัดเลือกมา เพียง๕๒บทจากวรรณคดีร้อยกรองจ� ำนวน๑๕ เรื่อง ได้แก่กาพย์เห่เรือของเจ้าฟ้าธรรม- ธิเบศร, อิเหนา, เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน, นิราศนรินทร์, นิราศภูเขาทอง, ประชุมโคลง โลกนิติ,ลิลิตตะเลงพ่าย,พระอภัยมณี,ประชุมโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่๕, โคลงสยามานุสสติ, พระร่วง, มัทนะพาธา, เวนิสวานิช, วิวาหพระสมุท และสามัคคีเภท ค� ำฉันท์ การจัดท� ำข้อมูลวรรคทองในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อรวบรวมวรรคทองที่เป็นที่รู้จักแพร่ หลายมาน� ำเสนอในเชิงวิจักษ์และวิเคราะห์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายและคุณค่าของ วรรคทองเหล่านี้ได้ดียิ่งขึ้นในฐานะโวหารที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าทั้งด้านการ“จับอารมณ์” และ “บ่มปัญญา” แก่ผู้อ่าน ราชบัณฑิตยสถานขอขอบคุณคณะผู้จัดท� ำเนื้อหาจากภาควิชาภาษาไทยคณะอักษร- ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และขอขอบคุณคณะผู้จัดท� ำต้นฉบับหนังสือ ซึ่งมีราย นามปรากฏอยู่ท้ายหนังสือเล่มนี้ที่ได้ทุ่มเทก� ำลังกายและสติปัญญาท� ำให้หนังสือ“กวีวัจน์ วรรณนา วรรคทองในวรรณคดีไทยพร้อมประวัติและค� ำอธิบาย” ส� ำเร็จเรียบร้อยด้วยดี ราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๕๗ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 3 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=