สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
286 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง ชาติตระกูลและอุปนิสัยของบุคคลสามารถรู้ได้จากกิริยามารยาท ของบุคคลนั้น เช่นเดียวกับความตื้นลึกของหนองบึงที่วัดได้จากความ สั้นยาวของก้านบัว ความโง่เขลาหรือความฉลาดของบุคคลก็รู้ได้จากค� ำ พูดของบุคคลนั้น เช่นเดียวกับหย่อมหญ้าที่เหี่ยวแห้งบ่งบอกให้รู้ว่าดิน บริเวณนั้นขาดความอุดมสมบูรณ์แตกต่างจากดินโดยรอบ ดังนั้น การ แสดงออกของบุคคลทั้งทางกายและวาจาจึงเป็นสิ่งที่สามารถบ่งบอก ตัวตนของบุคคลนั้นได้ ความดีเด่น โคลงบทนี้ดีเด่นด้านการเสนอความจริงเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า กิริยา อาการภายนอกอันได้แก่มารยาทและค� ำพูดเป็นเครื่องสะท้อน ชาติ ก� ำเนิด อุปนิสัย และสติปัญญาของแต่ละบุคคล กวีหยิบยกนามธรรม ของมนุษย์มาน� ำเสนอให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยใช้ธรรมชาติเป็นแนว เทียบ ความลึกของหนองน�้ ำเป็นสิ่งที่ไม่อาจเห็นได้ง่าย แต่มนุษย์ก็ สามารถประมาณความลึกของน�้ ำจากก้านบัวที่งอกจากดินใต้น�้ ำนั้น เช่นเดียวกับกิริยามารยาทของมนุษย์ที่สะท้อนให้เห็นเบื้องลึกของ อุปนิสัยใจคอซึ่งได้รับการปลูกฝังอบรมจากวงศ์ตระกูล ส่วนสภาพของ ดินก็เป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก แต่สามารถมองผ่านการเจริญเติบโตของหญ้า ที่งอกบนดินนั้นได้หากหญ้านั้นเหี่ยวแห้งก็รู้ได้ว่าดินนั้นไม่อุดมสมบูรณ์ เปรียบได้กับค� ำพูดของมนุษย์ที่บ่งบอกระดับสติปัญญาของผู้พูด คติดังกล่าวกระตุ้นเตือนให้บุคคลระมัดระวังการแสดงกิริยาวาจา ของตน ขณะเดียวกันก็สอนว่าบุคคลสามารถรู้จักและเข้าใจผู้อื่นได้ จากการสังเกตกิริยาวาจาของบุคคลอื่นได้เช่นกัน �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 286 8/8/2557 BE 3:10 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=