สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

21 ไปเป็นไส้ศึกในแคว้นวัชชี โดยให้พระเจ้าอชาตศัตรูแสร้งท� ำเป็นกริ้ว ลงโทษโบยตี แล้วเนรเทศตนออกจากเมือง วัสสการพราหมณ์เดินทางไปถึงแคว้นวัชชีแล้วใช้วาทศิลป์โน้มน้าว ใจจนกษัตริย์ลิจฉวีทรงรับไว้ในต� ำแหน่งผู้ท� ำหน้าที่ตัดสินคดีความ และถวายพระอักษรแด่เหล่าพระโอรส เมื่อท� ำหน้าที่จนเป็นที่ไว้วาง พระทัยได้ระยะหนึ่งแล้ว วัสสการพราหมณ์ก็ยุยงให้เหล่าพระโอรส ระแวงแคลงใจกัน จนท� ำให้เกิดความแตกแยกในหมู่กษัตริย์ลิจฉวี หลัง จากนั้น วัสสการพราหมณ์ลอบส่งข่าวไปกราบทูลพระเจ้าอชาตศัตรู พระองค์จึงยกทัพมาตีแคว้นวัชชีได้อย่างง่ายดาย วรรคทองที่ยกมานี้เป็นส่วนหนึ่งของบทพรรณนาปราสาทราช- มนเทียรในพระราชวังของพระเจ้าอชาตศัตรูแห่งแคว้นมคธ ความหมายของวรรคทอง วรรคทองบทนี้มุ่งแสดงความวิจิตรงดงามของปราสาทราชมนเทียร กวีเริ่มพรรณนาจากส่วนยอดของปราสาทที่มีสามยอดเรียงราย แล ดูเรืองรองระยิบระยับมองเห็นเป็นสีสลับกันยามต้องแสงอาทิตย์ ช่อฟ้าที่ชูขึ้นไปในท้องฟ้าก็งามตระการราวกับจะเย้ยหยันและยั่วล้อ ความงามของท้องฟ้า บราลีบนหลังคาเครื่องยอดงามสุกใส นพศูล มีแสงเลื่อมพราย ส่วนหางหงส์ก็อ่อนช้อยงอนงามราวกับก� ำลังกวัก เรียกท้องฟ้า ความดีเด่น วรรคทองบทนี้จัดเป็น “บทชมเมือง” ตามลีลา “เสาวรจนี” อันเป็น ขนบประการหนึ่งในวรรณคดีไทย บทชมเมืองตอนที่เป็นวรรคทองนี้ เชื่อกันว่ากวีได้รับแรงบันดาลใจมาจากความงดงามของพระที่นั่งจักรี มหาปราสาทและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในพระบรมมหาราชวัง ความ ดีเด่นของฉันท์บทนี้อยู่ที่การสร้างจินตภาพอันแจ่มชัดและการใช้ ภาพพจน์ความเปรียบที่มีชีวิตชีวายิ่ง กวีเสนอภาพปราสาทราชมนเทียร โดยเน้นส่วนยอดอันงดงาม ได้แก่ ยอดปราสาท ช่อฟ้า บราลี นพศูล สามยอดตลอดระยับระยับ สามัคคีเภทค� ำฉันท์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 21 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=