สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
275 พรรณไม้อันแบ่งบานงดงามที่นางวันทองเอ่ยลานี้น่าจะสื่อความ หมายแทนความสุขและความรื่นรมย์ต่าง ๆ ที่นางเคยได้รับจากการที่ ได้อยู่ในบ้านของขุนช้าง การสั่งลาพรรณไม้เหล่านี้จึงเป็นการกล่าวลา ทุกสิ่งทุกอย่างที่ประกอบกันขึ้นเป็นบ้านอันให้ความสุขสบาย ความ อบอุ่น และความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งรวมทั้งความผูกพันที่มีต่อขุนช้าง ผู้มอบสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทั้งหมดให้แก่นาง การจากสิ่งเหล่านี้จึงก่อให้เกิด ความโศกเศร้าและห่วงหาอาลัย นอกจากนี้ กวียังน� ำชื่อดอกไม้มาเล่นค� ำเล่นความหมายเพื่อสื่อ อารมณ์ความรู้สึกและภาวะที่ตัวละครก� ำลังประสบ เช่น ใช้ค� ำว่า “ดวน” จากชื่อดอกล� ำดวน เล่นค� ำกับ “ด่วน” เพื่อสื่อความหมายว่านางจ� ำต้อง จากเรือนไปอย่างกะทันหันโดยมิทันได้เตรียมตัวเตรียมใจ หรือใช้ค� ำว่า “ปี” จากชื่อดอกจ� ำปีมาเชื่อมโยงในการร� ำพันว่าการพรากจากเรือนไป นี้ไม่รู้อีก “กี่ปี” จึงจะได้กลับคืนมาใหม่ ความดีเด่นอีกประการหนึ่งของวรรคทองนี้คือ การเล่นเสียงสัมผัส ในและการใช้ประโยคขนานความที่สร้างเสียงและจังหวะที่ไพเราะแก่ บทประพันธ์ ตัวอย่างการเล่นเสียงสัมผัสในชนิดสัมผัสพยัญชนะ เช่น “เกด-แก้ว-(พิ)กุล” “โรย-ร้าง” “เซา-ซบ-ส(ลบ)” ฯลฯ ตัวอย่างการ เล่นเสียงสัมผัสสระ เช่น “ร้าง-ห่าง” “สิ้น-กลิ่น” “วาย-(ระ)คาย” ฯลฯ ส่วนการใช้ประโยคขนานความเพื่อสร้างจังหวะและดุลของเสียง ที่ไพเราะ มีการใช้โครงสร้าง “ที่มี...ก็จะ...จะ” ดังพบในบาทที่ว่า “ที่มี กลิ่นก็จะคลายหายหอม จะพลอยตรอมเหือดสิ้นกลิ่นตลบ” กับ “ที่ มีดอกก็จะวายระคายครบ จะเหี่ยวแห้งเซาซบสลบไป” วรรคทองบทนี้นับเป็นบท “สั่งเรือน” หรือบทครวญคร�่ ำร� ำพันก่อน จากเรือนที่ใช้ธรรมชาติมาเป็นสื่อในการแสดงความทุกข์โศกอาลัย อาวรณ์ของตัวละครได้อย่างลึกซึ้งและสะเทือนอารมณ์สื่อความหมาย อันลุ่มลึก ทั้งยังสะท้อนจุดเปลี่ยนในชีวิตของตัวละครที่ก� ำลังจะพราก จากความสุขไปสู่ความทุกข์ที่มิอาจคาดเดาได้บทกลอนนี้จึงตราตรึงใจ ผู้อ่านตลอดมาจวบจนปัจจุบัน ล� ำดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว ขุนช้างขุนแผน �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 275 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=