สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
274 กวีวัจน์วรรณนา กริ้วและสั่งประหารชีวิตนางวันทอง เป็นอันสิ้นสุดความรักสามเส้าระหว่าง ขุนแผน นางวันทอง และขุนช้าง เนื้อเรื่องช่วงหลังของเสภาขุนช้างขุนแผนเป็นเรื่องราวของรุ่นลูกขุน แผนคือพระไวย (พลายงาม) และพลายชุมพล (ลูกของขุนแผนกับนาง แก้วกิริยา) และกล่าวถึงเรื่องรักสามเส้าของพระไวยนางศรีมาลากับนาง สร้อยฟ้าว่า นางสร้อยฟ้าภรรยาน้อยให้เถรขวาดท� ำเสน่ห์จนพระไวยหลง ฟั่นเฟือนท� ำร้ายนางศรีมาลาภรรยาหลวงกับพลายชุมพลน้องชาย พลาย ชุมพลจับเสน่ห์นางสร้อยฟ้าได้และแก้ไขให้พระไวยฟื้นคืนสตินางจึงถูกขับ ออกจากอยุธยาต่อมาเถรขวาดคิดแค้นจึงแปลงเป็นจระเข้เข้ามาก่อความ วุ่นวายในเมืองกรุง แต่ถูกพลายชุมพลจับได้และถูกตัดสินประหารชีวิต วรรคทองที่ยกมานี้อยู่ในเนื้อเรื่องตอนขุนแผนบุกขึ้นเรือนขุนช้างและ บังคับพานางวันทองหนีเข้าป่าเพื่อแก้แค้นขุนช้าง ความหมายของวรรคทอง วรรคทองนี้เป็นค� ำพูดของนางวันทองสั่งลาพรรณไม้บนเรือนของ ขุนช้างก่อนที่จะตามขุนแผนเข้าป่าไป นางวันทองกล่าวว่า นางก� ำลังจะ จากเรือนไปแล้ว จ� ำต้องจากลาดอกล� ำดวน เกด แก้ว พิกุล ยี่สุ่น และ จ� ำปี ต่อไปนี้จะไม่ได้กลิ่นหอมของไม้ดอกเหล่านี้แล้ว และไม่รู้เลยว่า อีกกี่ปีจึงจะได้กลับมาพบกันอีก เมื่อนางไม่อยู่แล้ว ดอกไม้เหล่านี้ก็ คงจะโรยราสิ้นกลิ่นหอมและเหี่ยวเฉาไป ความดีเด่น วรรคทองนี้เป็นบทครวญคร�่ ำร� ำพันที่เชื่อมโยงธรรมชาติเข้ากับ อารมณ์ความรู้สึกของตัวละครได้อย่างแยบคายและจับใจ กล่าวคือ ก่อนที่วันทองจะลงจากเรือนไปกับขุนแผน กวีให้นางวันทองพูดสั่งลา พรรณไม้ต่าง ๆ เสมือนว่าเป็นเพื่อนที่มีความใกล้ชิดผูกพัน ดังที่เรียก ดอกไม้ว่า “ล� ำดวนเอ๋ย” และ “จ� ำปีเอ๋ย” และการให้ดอกไม้แสดงกิริยา อาการเหมือนมนุษย์ดังค� ำร� ำพันของนางวันทองที่ว่า เมื่อนางไม่อยู่แล้ว ไม้ดอกที่เคยส่งกลิ่นหอมและมีดอกแบ่งบานก็จะพากัน “ตรอม” และ “สลบ” เหี่ยวเฉาไปเสียสิ้น �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 274 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=