สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
261 พระอภัยมณีตัดสินใจยกทัพไปท� ำศึกที่กรุงลังกาเพื่อตัดต้นตอแห่ง สงคราม ไม่ว่านางละเวงส่งทัพใดไปรบก็แพ้สิ้น จึงใช้วิธีท� ำเสน่ห์ให้เหล่า กษัตริย์หลงใหล ในที่สุดทั้งพระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สินสมุทร และ สุดสาครก็ถูกเสน่ห์ของสตรีเมืองลังกาจนหมด นางสุวรรณมาลีจึงต้อง ยกทัพมาช่วยท� ำศึกแทนแต่ไม่ประสบผล ทั้งสองฝ่ายรบกันอย่างยืด เยื้อ ในที่สุดพระฤๅษีมาช่วยแก้เสน่ห์และเทศนาไกล่เกลี่ยจนทั้งหมด ละความพยาบาทยอมคืนดีกันพระอภัยมณีและนางสุวรรณมาลีพร้อม ด้วยเหล่ากษัตริย์ทั้งหลายเดินทางกลับเมือง แต่นางละเวงไปด้วยไม่ได้ เพราะต้องอยู่ปกครองบ้านเมืองต่อไป ต่อมาสินสมุทรได้ครองคู่กับอรุณรัศมี สุดสาครได้ครองคู่กับ เสาวคนธ์ หัสไชยได้ครองคู่กับสร้อยสุวรรณและจันทร์สุดา เมื่อท้าว สุทัศน์กับนางปทุมเกสรสิ้นพระชนม์ พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ และ สินสมุทรเดินทางไปปลงพระศพที่กรุงรัตนา มังคลา โอรสนางละเวงซึ่ง ครองกรุงลังกา ยกทัพมารบกับเมืองผลึกอีก พระอภัยมณีเป่าปี่สะกด ทัพจนสงครามยุติ เมื่อการศึกและความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง พระ อภัยมณีเกิดความรู้สึกสังเวชและเบื่อหน่ายความขัดแย้งระหว่างมเหสี จึงออกบวชเป็นฤๅษี นางละเวงตัดสินใจเปลี่ยนศาสนาและออกบวช ตามพร้อมกับนางสุวรรณมาลี ทั้งสามไปบ� ำเพ็ญเพียรอยู่ที่เขาสิงคุตร์ วรรคทองบทนี้มาจากเนื้อหาตอนพระอภัยมณีได้นางละเวงเป็น ชายา พระอภัยมณีกล่าวถ้อยค� ำเล้าโลมนาง นางละเวงจึงแกล้งพ้อว่า พระอภัยมณีอาจพูดค� ำหวานให้นางหลงใหลไปเช่นนั้นเอง หากวันใด โอรสและอนุชาของพระอภัยมณีเข้ามารับพระองค์ไป ก็คงจะทิ้งขว้าง นางอย่างไม่ไยดี ความหมายของวรรคทอง วรรคทองบทนี้เป็นค� ำพูดของนางละเวงที่กล่าวตอบถ้อยค� ำอ่อน หวานของพระอภัยมณีว่า ตามธรรมดาคนเราเมื่อยามรักกันหวานชื่น แม้แต่น�้ ำผักต้มที่มีรสขมก็ยังอาจชมว่ามีรสหวานได้ แต่เมื่อความรัก นั้นจืดจางห่างเหินไปตามกาลเวลา แม้แต่น�้ ำตาลที่มีรสหวานก็ยังอาจ ติว่ามีรสเปรี้ยวและท� ำหมางเมินไป เขาย่อมเปรียบเทียบความว่ายามรัก พระอภัยมณี �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 261 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=