สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

254 กวีวัจน์วรรณนา กวีน� ำเสนออารมณ์โกรธที่มีมิติอันลึกซึ้งนี้ ด้วยการเลือกชนิดของ ฉันท์มาใช้ได้อย่างสอดคล้องกับเนื้อหา กล่าวคือ ใช้อีทิสังฉันท์ ๒๐ ซึ่ง บังคับค� ำครุลหุสลับกันไปตลอดท� ำให้เกิดจังหวะเบา-หนัก-เบา-หนัก กระแทกกระทั้น เมื่อประกอบกับการเลือกใช้ค� ำที่แสดงอารมณ์โกรธ จึงยิ่งเน้นให้เห็นภาพความขุ่นเคืองพระทัยของพระเจ้าอชาตศัตรูและ อารมณ์โกรธกริ้วดังกล่าวได้อย่างเข้มข้น เช่น การใช้ค� ำอุทานที่แสดง ความโกรธ คือค� ำว่า “อุเหม่” ซึ่งใช้เพื่อขู่ตวาดเมื่อมีผู้แสดงกิริยาเหิม เกริม การใช้สรรพนาม “กู” และ “มึง” ที่แสดงให้เห็นความโกรธจนใช้ ถ้อยค� ำแทนตนและผู้ที่พูดด้วยอย่างไม่ไว้หน้า และการเรียกวัสสการ- พราหมณ์ว่า “ทุทาส” ซึ่งหมายถึงทาสชั้นเลว และยังขยายด้วยค� ำว่า “สถุล” ซึ่งหมายถึง หยาบ เลวทราม โง่เขลา การน� ำ “ทาส” ซึ่งในที่นี้น่า จะหมายถึงคนในวรรณะต�่ ำที่สุดในสังคมอินเดียมาเรียก “พราหมณ์” ซึ่งอยู่ในวรรณะสูงสุด จึงเป็นการบริภาษที่เจ็บแสบอย่างยิ่ง เพราะ เป็นการลดศักดิ์ศรีตามชั้นวรรณะของวัสสการพราหมณ์ นอกจาก นี้ ยังมีการใช้ความเปรียบว่าวัสสการพราหมณ์เป็นเหมือนกาที่หวาด กลัวนายพรานขมังธนูทั้ง ๆ ที่นายพรานยังไม่ได้แม้แต่ยกศรขึ้นน้าว ถือเป็นการบริภาษอย่างรุนแรงว่าวัสสการพราหมณ์นั้นเป็นคนขี้ขลาด กวียังสร้างความไพเราะของเสียงด้วยการเล่นเสียงสัมผัสพยัญชนะ เช่น ทุ-ทาส-(ส)ถุล, กล-กะ-กา-กะ(หวาด) การใช้สัมผัสพยัญชนะ เป็นคู่ เช่น ฉะนี้-ไฉน, ขยาด-ขยั้น การซ�้ ำค� ำว่า “จะ” ในวรรคที่ว่า “จะ น้อย จะมาก จะยาก จะเย็น” ที่นอกจากจะท� ำให้เกิดจังหวะรัวเร็วแล้ว ยังใช้ค� ำว่า “จะ” แยกกลุ่มค� ำ “น้อย-มาก” และ “ยาก-เย็น” ออกจาก กัน แต่ไม่ว่าจะเป็นด้านใดก็ล้วนเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะมีค� ำว่า “จะ” ก� ำกับอยู่ พระเจ้าอชาตศัตรูจึงเห็นว่าวัสสการพราหมณ์ไม่ควร หวาดกลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น แม้ว่าบท “พิโรธวาทัง” นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของอุบายที่พระเจ้าอชาต- ศัตรูและวัสสการพราหมณ์ร่วมกันวางไว้แต่ต้นแล้ว แต่ด้วยกลวิธีทาง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 254 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=