สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
248 กวีวัจน์วรรณนา ว่าบุษบาจะต้องแต่งงานกับจรกาผู้ต�่ ำต้อยและไม่คู่ควร และความร้อน ใจเพราะอิเหนารักและปรารถนานาง ไม่ต้องการให้นางตกเป็นของชาย อื่นข้อความวรรคนี้จึงมีน�้ ำเสียงที่แสดงการเกี้ยวพาราสีและสื่อความ ในใจของอิเหนาที่มีต่อนางได้อย่างแยบยล นอกจากนี้การใช้ค� ำว่า “วาสนา” ยังเป็นการเหน็บแนมประชดประชันอย่างชัดเจน เนื่องจาก ค� ำว่า “วาสนา” ซึ่งหมายถึง บุญบารมี จะใช้กับการได้รับสิ่งที่ดีหรือ สูงค่าเท่านั้น เช่น มีวาสนาได้เลื่อนยศ หรือมีวาสนาได้แต่งงานกับคน ที่ดีพร้อม การที่อิเหนากล่าวว่า กลัวบุษบาจะมี “วาสนา” ได้ครองคู่กับ จรกาผู้ต้อยต�่ ำอัปลักษณ์ จึงมีนัยที่ตอกย�้ ำความไม่คู่ควรกันระหว่าง จรกากับบุษบาอย่างชัดเจนและเสียดแทงใจบุษบาอย่างรุนแรงเพื่อให้ บุษบาได้ฉุกใจคิดว่า สตรีผู้มีวาสนาสูงศักดิ์อย่างตนสมควรจะมีคู่ที่มี วาสนาสูงส่งเท่าเทียมกันอย่างอิเหนาเท่านั้น ความไพเราะรื่นหูและถ้อยค� ำอันสื่อความหมายหลายนัยท� ำให้บท ประพันธ์นี้จับใจผู้อ่านมาทุกยุคทุกสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบาทแรก ที่ว่า “แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย อย่ามีคู่เลยจะดีกว่า” เป็นที่นิยม หยิบยกมากล่าวอ้างเป็นภาษิตจนทุกวันนี้ เพื่อให้คติแก่ผู้หญิงเรื่องการ เลือกคู่ครองว่า หากไม่มีชายใดมีคุณสมบัติเหมาะสมแก่การครองคู่อยู่ ด้วย การครองตัวเป็นโสดอยู่คนเดียวย่อมสุขใจกว่า ซึ่งเป็นคติที่ยังคง ทันสมัยและกระทบใจมาจนปัจจุบัน �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 248 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=