สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
247 ความหมายของวรรคทอง กลอนบทนี้เป็นเนื้อความท่อนสุดท้ายของข้อความบนกลีบดอก ปะหนัน อิเหนากล่าวว่า หากทั่วทั้งแผ่นดินไร้ซึ่งชายที่มีคุณสมบัติอัน คู่ควรด้วยแล้ว บุษบาก็ควรอยู่อย่างไม่มีคู่ครองจะดีเสียกว่า อิเหนา รู้สึกทุกข์ร้อนใจแทนบุษบาทุกเวลา หรือว่านี่จะเป็นวาสนาของบุษบา ที่จะได้ครองคู่กับคนอย่างจรกา ความดีเด่น วรรคทองที่ยกมานี้มีความโดดเด่นด้านการสรรค� ำที่มีทั้งนัย เหน็บแนมประชดประชันและนัยเกี้ยวพาราสีแสดงความในใจในเวลา เดียวกัน ค� ำกลอนแรกที่กล่าวว่า “แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย อย่า มีคู่เลยจะดีกว่า” กวีสามารถใช้ถ้อยค� ำไพเราะรื่นหู ฟังดูมีน�้ ำเสียง แสดงความห่วงใย แต่สื่อความหมายในเชิงประชดประชันได้อย่าง เสียดแทงใจ ข้อความนี้มิได้สื่อความหมายตรงตัวแต่เพียงอย่างเดียว ว่าหากไร้ซึ่งชายที่มีคุณสมบัติอันคู่ควรแล้วก็สู้อยู่อย่างไร้คู่ดีกว่า หาก แต่ยังมีนัยเหน็บแนมกระทบถึงจรกาผู้ที่ทั้งอัปลักษณ์ ต�่ ำศักดิ์ และไร้ คุณสมบัติทุกด้านที่ผู้หญิง “พึงเชย” โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงอย่าง บุษบาผู้มีความงดงามและคุณสมบัติอันสูงส่งทุกประการ ค� ำกล่าว ของอิเหนาซึ่งดูเหมือนเป็นการแนะน� ำด้วยความห่วงใยนี้ แท้ที่จริง เป็นการเหน็บแนมประชดประชันให้บุษบารู้สึกอับอายยิ่งขึ้นว่า หากไม่ สามารถหาชายที่คู่ควรได้การไร้คู่อยู่ล� ำพังซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่มีหญิงคนใด ปรารถนา ย่อม “ดีกว่า” การยอมครองคู่กับชายผู้ไม่มีสิ่งใดที่ “พึงเชย” เลยแม้แต่น้อย ในแง่หนึ่งค� ำกล่าวนี้มีจึงนัยแฝงอยู่ด้วยว่า อิเหนาต่าง หากเป็นชายที่ “พึงเชย” เพราะมีคุณสมบัติที่ล�้ ำเลิศกว่าจรกาในทุก ๆ ด้าน และคู่ควรเหมาะสมกับนางทุกประการ ในค� ำกลอนต่อมา อิเหนากล่าวต่อไปว่า “พี่พลอยร้อนใจแทนทุก เวลา หรือวาสนาน้องจะต้องกัน” การใช้ค� ำว่า “พลอยร้อนใจแทน” ใน ที่นี้ สื่อความหมายได้หลายนัย ทั้งความร้อนใจด้วยความเป็นห่วงกลัว แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย อิเหนา �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 247 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=